23.12.09

Getting Start with jQuery อยากลองซักตั้ง

JQuery : write less, do moreต้องยอรับว่า การเขียนเว็บทุกวันนี้ได้ก้าวไปไกล เกินกว่าที่เราจะมานั่งเริ่มต้นเขียนเปิดปิด tag HTML ไปแล้ว มันมี tool หลายตัวที่ช่วยให้การเขียนเว็บขึ้นมาสักหน้าทำได้ง่ายดายมากๆ (แต่จะทำให้สวยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง) แม้แต่เด็กๆ ผมก็คิดว่าน่าจะเรียนรู้ได้ไม่ยาก นอกจากเครื่องมือในการเขียนเว็บแล้ว ยังมีเว็บสำเร็จรูปหลายๆค่ายให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสมอีก   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเข้าใจพื้นฐานของโปรแกรม นำไปสู่การนำมาใช้งานที่ดีในอนาคต 

jQuery เป็น javascript Framework ตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก ช่วยให้เว็บของเรามีลูกเล่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการประมวลผลของ web server ได้เป็นอย่างดี จริงๆแล้ว jQuery นั้นมีมาตั้งนานแล้ว แต่เพราะผมไม่ค่อยได้ติดตาม ก็เลยดูออกจะช้าๆไปหน่อยเมื่อเขียนบทความนี้

jQuery คืออะไร

JQuery คือ library ของ javaScript ที่ทำงานร่วมกับ JavaScript ที่เอาไว้จัดการโค๊ด HTML บนหน้าเว็บโดยสามารถที่จะแก้ไขโค๊ด HTML ได้แบบ on the fly หมายถึงว่าเราไม่จำเป็นจะต้อง reload หน้าเว็บใหม่ก็สามารถแก้ไข Tag HTML เดี๋ยวนั้นได้เลย ซึ่งจุดนี้เองเป็นการลดภาระของ WEB SERVER ได้เป็นอย่างมาก

หากจะเปรียบเทียบกับในอดีตแล้ว เราต้องมานั่งเขียน javascript เอง แต่ใน jQuery แล้ว เราเพียงดูคู่มือของ jQuery แล้วเรียกฟังก์ชั่นนั้นเข้ามาทำงาน เท่านี้ก็สามารถที่จะใช้ความสามารถของ Javascript ได้แล้ว

JQuery ทำอะไรได้บ้าง

ความสามารถที่โดดเด่นของ jQuery ก็คือ ความสามาถในการจัดการทุกๆส่วนของหน้าเว็บเพจนั้น โดย jQuery จะทำหน้าที่เข้าไปจัดการส่วนต่างของ HTML ที่อยู่ในโครงสร้างของ DOM (Document Object Model) นอกจากนี้ยังเป็นประสานการใช้งานด้าน CSS ให้เข้ากันได้กับทุกบราวเซอร์ และโต้ตอบกับ user ที่เข้ามาทำงานกับหน้าเว็บเพจ ราวกับว่าเราทำงานอยู่กับโปรแกรมที่รันบนวินโดวน์ สามารถสร้างรูปภาพที่เป็น animation ก็ได้นะ รับข้อมูลจาก SERVER แล้วมาเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางส่วนบนหน้าเว็บเพจ โดยไม่ต้อง refresh ทั้งหน้าเว็บ ซึ่งเป็นการลดภาระ bandwidth ของ Server ได้มากมาย สรุปใจความก็คือ เป็นตัวเปลี่ยนให้การทำงานแบบ web application ให้กลายเป็น windows application นั่นเอง ต่อไปไม่แน่นะ เราอาจจะใช้โปรแกรมทุกๆโปรแกรมบน web application ก็ได้

นั่นเลยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราต้องการให้หน้าเว็บเพจของเราน่าใช้ มีความเป็น friendly กับผู้ใช้ ลดภาระการประมวลผลของ SERVER ลด bandwidth เห็นประโยชน์อย่างงี้แล้ว คงจะอดไม่ได้ที่จะต้องนำ jQuery มาใช้ซะแล้ว หากมีตัวอย่างดีๆ ผมคงได้นำมาลงใน blog นี้อีกแน่ๆ

ตัวอย่างการนำ jQuery ไปใช้

 

อ่านเพิ่มเติม...

26.11.09

Google Wave ของเล่นใหม่จาก Google มีกันหรือยัง

เพิ่งได้รับเมล์จาก Google ว่าท่านได้รับสิทธิให้เข้าใช้ Google Wave หลังจากที่ผมได้เข้าไปเขียนๆๆ บอกถึงสิ่งที่เราอยากจะเข้าไปทดลองใช้ Google wave แล้วก็รอๆๆๆ ในที่สุด ก็ได้ account ได้เข้าไปใช้ google wave แล้ว ถ้าเพื่อนๆสนใจอยากทดลองใช้ Google wave ก็ให้เข้าไปเขียนข้อความส่งไปที่ google ได้ที่นี่ Sign up  รอไม่ถึงสามวันก็น่าจะได้รับเมล์ส่งมาบอก

Google wave mail accept

หลังจากคลิกไปตามลิ้งค์ที่เค้าส่งให้มา ก็ถึงเวลาเข้าไปใช้ Google Wave แล้ว แต๊น แตน แต้น………นี่งัย Google Wave

Google Wave 

หลังจากเราได้มาแล้ว เราสามารถ invite เพื่อนๆของเราได้อีก 8 คน

ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่ามันเอาไว้ใช้อะไร แต่รับรองได้เลยว่า Google ออก Application อะไรออกมารับรองไม่ผิดหวัง ฮือฮากันไปตามๆกันครับ

เพื่อนๆสามารถเข้าไปอ่านวิธีใช้งาน Google Wave ได้ ที่นี่ ครับ เดี๋ยวขอตัวไปลองเล่นก่อนนะ บาย

มาอัพเดทเพิ่มนิดหนึ่ง

หลังจากที่เราได้ invite เพื่อนๆเข้ามาแล้ว  แต่ว่า เพื่อนก็ยังต้องไป Sign up เพื่อสมัครขอเข้าใช้ที่ Google Wave เหมือนเดิมนะครับ แต่พอหลังจากที่เพื่อนเราได้ sign up เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะมองเห็นเพื่อนที่เรา invite ไป มาโผล่ที่ Google Wave application จากนั้นก็ลุยเลยครับ

จากที่ได้ลองเล่นดู ก็คล้ายๆเหมือนกับ web board ผสมกับ Email + Chating room ซึ่งเราสามารถที่จะทิ้งข้อความไว้ให้เพื่อนได้ เหมือนส่ง email นอกจากนี้เรายังสามารถดึงเพื่อนอีกคน เข้ามาในบทสนทนาที่เรากำลังสนทนากับอีกคนอยู่ก็ได้ นอกจากนี้ มันยังเก็บบทสนทนาเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้เรากลับมาต่อเติม หรือตอบกลับในภายหลังได้ จะว่าไปแล้ว ก็เหมือน chating room ที่เอาไว้สนทนากัน โดยแบ่งหัวข้อสนทนาเป็นห้องๆนั่นเอง ส่วน feature อื่นๆยังไม่ได้ลองครับ คิดว่าน่าจะทำอะไรได้มากกว่านั้น เดี๋ยวจะพยายาม invite เพื่อนๆที่เรียนในห้องเดียวกันหันมาใช้ Google wave กันดีกว่า อย่างน้อย จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นแหล่งชุมชน ที่เราได้สนทนากัน ซึ่งมันจะทำให้เกิดความต่อเนื่อง และเป็นสังคมออนไลน์อย่างแท้จริง

Google Wave

อ่านเพิ่มเติม...

13.11.09

py2exe แปลง python ให้เป็น exe file

จริงๆแล้ว py2exe เป็น module ทีแยกออกมาจาก Distribution Utilities “disutils”  (เพราะฉะนั้นจะไม่มีมากับ python ที่เรา install เข้าไป ต้อง download แยกมาต่างหาก) ซึ่งเจ้าตัว py2exe จะทำหน้าที่แปลงโค๊ดที่เราเขียนเป็นภาษา python ให้เป็นไฟล์ exe ซึ่งสามารถนำไปรันบนวินโดวน์เครื่องไหนๆก็ได้ตามที่ต้องการ โดยที่เครื่องนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องลงตัวแปลภาษา python แต่อย่างใด

ก่อนจะพาไปสู่การติดตั้งและการใช้งาน py2exe ผมอยากจะเล่าเหตุผลที่ผมสนใจเจ้าตัว python ก็เพราะว่ามันสามารถทำงานได้เกือบจะครอบคลุมทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมพยายามที่จะเขียนหน้าเว็บด้วย PHP แล้วให้ user ทำการ คลิกนู่น คลิกนี่ บนหน้าเว็บแล้วให้มีการส่งคำสั่งไปยัง hardware ที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำพังเพียง PHP อย่างเดียวไม่สามารถทำได้แน่นอน จะต้องใช้ PHP ไปเรียกโปรแกรมอื่นๆอีก อาจจะเป็นโปรแกรมที่เราเขียนด้วย Visual basic หรือไม่ก็เขียนด้วยภาษา C หรืออะไรก็ตามแต่ จะเห็นได้ว่า เพื่อนๆจะต้องศึกษา PHP แล้วก้ไปศึกษาโปรแกรมอื่นๆอีก นอกจากนี้ เพื่อนๆยังอาจจะพบปัญหาถึงความที่สองโปรแกรมเข้ากันไม่ได้อีก ก็เลยเป็นที่มาที่ผมอยากจะนำเสนอภาษา python ที่พร้อมสรรพสำหรับทุกเรื่อง มาว่ากันต่อ

อันดับแรกเลยของการใช้ py2exe ก็ให้เพื่อนๆไปดาวน์โหลดตัวโปรแกรมนี้มาก่อนจากที่นี่ โดยเราต้องเลือก version ที่มัน support ตรงกับ python ที่เราได้ติดตั้งไว้แล้วที่เครื่องของเรา เมื่อได้มาแล้ว ก็ทำการติดตั้งโปรแกรมตามสัญชาตญาณดั้งเดิม Nextๆๆๆๆ แล้วก็ Next lol หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมไป set path ด้วยนะครับ จะได้เรียกใช้ไฟล์ได้ง่ายๆ

C:\Python26\Lib\site-packages\py2exe

set parh py2exe

ในตัวอย่างนี้ ผมก็เอามาจากในเว็บ http://www.py2exe.org/index.cgi/Tutorial นั่นแหละ เป็นตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยไปประยุกต์เอาเอง เริ่มจากการสร้งโค๊ด python ง่ายๆขึ้นมาก่อน

แล้ว save เป็น ไฟล์ hello.py ลองรันดูด้วยว่าได้ Hello World ออกมาไหม

 



C:\Tutorial>python hello.py
Hello World!

C:\Tutorial>



 


ก่อนที่จะไปขั้นตอนการแปลงไฟล์ python ให้เป็นไฟล์ exe เพื่อนๆจะต้องทำการสร้างไฟล์สำหรับติดตั้งก่อน โดยสร้างไฟล์ดังต่อไปนี้




from distutils.core import setup
import py2exe

setup(console=['hello.py'])



 


แล้ว save เป็นไฟล์ setup.py เอาไว้ที่เดียวกันกะไฟล์ที่บันทึกก่อนหน้านี้



ในขั้นตอนนี้ เราจะทำการ complie โค๊ดที่เราเขีนให้เป็น ไฟล์ exe เพื่อพร้อมไปใช้งาน โดยพิมพ์คำสั่งนี้ที่ command line (




C:\Tutorial>python setup.py py2exe



จะได้ ข้อความขึ้นมาเพียบเลย



C:\Tutorial>python setup.py py2exe
running py2exe
*** searching for required modules ***
*** parsing results ***
creating python loader for extension 'zlib'
creating python loader for extension 'unicodedata'
creating python loader for extension 'bz2'
*** finding dlls needed ***
*** create binaries ***
*** byte compile python files ***
byte-compiling C:\Tutorial\build\bdist.win32\winexe\temp\bz2.py to bz2.pyc
byte-compiling C:\Tutorial\build\bdist.win32\winexe\temp\unicodedata.py to unicodedata.pyc
byte-compiling C:\Tutorial\build\bdist.win32\winexe\temp\zlib.py to zlib.pyc
skipping byte-compilation of c:\Python24\lib\StringIO.py to StringIO.pyc

[skipping many lines for brevity]

skipping byte-compilation of c:\Python24\lib\warnings.py to warnings.pyc
*** copy extensions ***
*** copy dlls ***
copying c:\Python24\lib\site-packages\py2exe\run.exe -> C:\Tutorial\dist\hello.exe

*** binary dependencies ***
Your executable(s) also depend on these dlls which are not included,
you may or may not need to distribute them.

Make sure you have the license if you distribute any of them, and
make sure you don't distribute files belonging to the operating system.

ADVAPI32.dll - C:\WINDOWS\system32\ADVAPI32.dll
USER32.dll - C:\WINDOWS\system32\USER32.dll
SHELL32.dll - C:\WINDOWS\system32\SHELL32.dll
KERNEL32.dll - C:\WINDOWS\system32\KERNEL32.dll

C:\Tutorial>


พอเข้าไปดูใน C:\Tutorial> จะมี folder เพิ่มขึ้นมา 2 folder คื build และ dist ซึ่ง folder build เราสามารถลบทิ้งได้หลังจากสร้าง package เสร็จเรียบร้อยได้เลย ลองทดสอบโปรแกรมที่ได้




C:\Tutorial>cd dist

C:\Tutorial\dist>hello.exe
Hello World



 


ก็พอได้แนวทางกันแล้วนะครับ ลองๆเล่นกันดูนะครับ วันหลังผมจะมาแนะนำการติดตั้งตัวเสริม python อีกตัวหนึ่งที่จะทำให้เพื่อนๆสามารถเขียน python แบบ GUI ได้สะดวกยิ่งขึ้น  วันนี้พอเท่านี้ก่อน เหนื่อยแล้ว สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...

12.11.09

ทำ Python ให้เป็น CGI (Apache+Python)

จากคราวที่แล้วที่ผมเริ่มอยากจะเอาจริงกับภาษาไพธอนแล้ว ผมก็เริ่มที่จะมองหาโปรเจคทำ ซึ่งผมคิดว่าการเรียนรู้ภาษาใดๆ โดยเริ่มจากการเรียนรู้จากการทำโปรเจคทำให้เราสามารถเรียนรู้ภาษานั้นได้เร็วกว่าการที่เรามานั่งอ่านหนังสือแล้วทำตามตัวอย่าง ซึ่งอาจทำให้เกิดการเบื่อหน่ายได้ง่ายๆ สุดท้ายก็อาจจะจบด้วยการล้มเลิกลงกลางคัน

โดยส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างที่จะถนัดการเขียนโปรแกรมแนว web base ซะมากกว่า windows base วันนี้ผมก็เลยตั้งใจว่าจะทำการ config apache web server ให้สามารถเข้าใจตัวแปลภาษา python สักหน่อย เพื่อที่เราจะได้ลองเขียนภาษา python ให้สามารถทำงานบนเว็บ page ได้ ตอนแรกนั้นผมพยายามที่จะติดตั้งโมดูลตัวหนึ่งที่ชื่อ mod_python แต่ก็ไม่สามารถทำได้สักที

 

 

Mod_python คือ โมดูลที่เอาไว้สำหรับรวมต้วแปลภาษาไพธอนเข้ากับเว็บเซอร์วิส (ในที่นี้คือ Apache) ซึ่งจะทำให้เราสามารถเขียนเว็บ CGI ด้วยภาษาไพธอนได้นั่นเอง

 

หลังจากที่ได้พยายามนานมากหมดไปครึ่งวัน ทั้ง search หาในอินเตอร์เนต ก็พบว่าฝรั่งเค้าก็มีปัญหาเหมือนๆกันกับเรา ปัญหาที่เจอก็คือหลังจากติดตั้งโมดู mod_python นั้น เราไม่พบไฟล์ mod_python.so ซึ่งจริงๆไฟล์นี้น่าจะไปอยู่ใน folder C:\AppServ\Apache2.2\modules ซึ่งในตอนติดตั้งมันก็ถามเราอยู่นะ ว่า folder ที่เราติดตั้ง Apache อยู่ตรงไหน แต่ไหงพอเลือกแล้ว พี่แก error ขึ้นมาเฉยๆ เซ็งเลย

 mod_python

mod_python_error 

สุดท้ายก็มาจบที่วิธีที่ง่ายมากๆ (เวงกรรม แล้ว mod_python ใครคนคิดขึ้นมาเนี่ย!!!) แค่ติดตั้ง python เสร็จ แล้วเข้าไป config ที่ไฟล์ httpd.conf แค่เนี้ย

AddHandler cgi-script .cgi .py .pl

ScriptAlias /cgi-bin/ "c:/apache/cgi-bin/"

แล้วก็เขียน code ด้วย python ขึ้นมาแล้วไปวางไว้ที่ C:\AppServ\www\cgi-bin (เค้าบอกว่าด้วยเหตุผล security)

 

#!C:\Python24\python.exe -u

import cgi
import cgitb; cgitb.enable()  # for troubleshooting

print "Content-type: text/html"
print

print """
<html>

<head><title>Sample CGI Script</title></head>

<body>

  <h3> Sample CGI Script </h3>
"""

form = cgi.FieldStorage()
message = form.getvalue("message", "(no message)")

print """

  <p>Previous message: %s</p>

  <p>form

  <form method="post" action="index.cgi">
    <p>message: <input type="text" name="message"/></p>
  </form>

</body>

</html>
""" % message

 

แล้วก็ทดลอง run ดู

python web programming test

เอาหล่ะ ก็พอได้แนวคิดแล้ว ต่อไปก็ลองๆประยุกต์เอาโค๊ดที่เราเคยเขียนด้วยภาษาอื่น มาแปลงเป็น python ดู น่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นไปอีก สู้ๆๆ เดี๋ยวก็เขียนเป็นแหละ อย่าไปกลัวๆ

เพิ่มเติมอีกนิดครับ

หากเพื่อนๆต้องการที่จะ config apache เพื่อให้เราสามารถที่จะบันทึกไฟล์ python cgi script อยู่นอก cgi-bin ให้ทำการปรับแต่งไฟล์ httpd.conf ดังนี้

  • ให้ทำการมองหา #AddHandler cgi-script .cgi แล้วเอา comment ออก คือเครื่อง “#” ออกนั่นเอง
  • แล้วทำการปรับแต่ง SSL เพื่อให้สามารถวาง directory โค๊ดของเราที่ก็ได้ใน www directory โดยมองหาบรรทัดนี้ #AddType text/html .shtml และบรรทัดนี้ #AddOutputFilter INCLUDES .shtml โดยให้เราเอาเครื่องหมาย comment ออก “#”
  • ทำการบันทึกไฟล์ httpd.conf แล้ว restart apache
  • ทดลอง เขียนไฟล์ cgi แล้ว save แล้วลองทดสอบที่ browser ดูครับ

#!C:\Python24\python.exe
print "Content-Type: text/html\n\n"
print "Hello, world!"

python cgi script

ถ้าปรากฏแต่คำว่า Hello, World! แสดงว่าสำเร็จแล้วครับ

 

“….The first step is always the hardest
การเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งที่ยากที่สุดก็คือตอนเริ่มต้นทำ…….”

อ่านเพิ่มเติม...

11.10.09

Pyhton Programming : งานเข้าแล้วครับพี่น้อง

ต้องบอกว่างานเข้าจริงๆ เพราะว่าต้องหันมาจับ Python จริงๆซะแล้ว ด้วยสถานการณ์บังคับ หลังจากที่จดๆจ้องๆ กันมานาน เห็นเค้าคุยกันหนักคุยกันหนา ถึงความสามารถของเจ้า Python ไม่ว่าจะเป็น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ใช้ Pyhon เป็นตัวหลักในการค้นหาข้อมูล หรือจะเป็นองค์กร NASA ใช้ในการจัดการ Model,Integration และระบบ Transformation ในงาน CAD/PDM/CAE

โดยเจ้าตัวไพธอนนี้ ถูกนำไปใช้ในงานหลากหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้าน Web และ Internet Development, Database Access, Desktop GUI, Scientific และNumeric computation, Network programming, Game และ 3D Graphics Rendering ยกตัวอย่างมาเพียงแค่นี้ ก็พอที่จะทำให้เราอดใจไว้ไม่ไหวแล้ว ที่จะต้องศึกษาตัวนี้ให้ได้ และประการสำคัญเลย ที่บริษัทใช้ python เป็นภาษาหลักในการทดสอบฮาร์ดดิสค์ไดร์ฟ (ใครจะเข้ามาทำงานที่นี่ รู้แล้วใช่ไหม ต้องเก่งอะไรถึงจะได้งานบริษัทนี้ รู้แล้วใช่ไหม );

เมื่อพูดถึงหนังสือภาษาไทยที่เขียนเรื่องไพธอน ก็เห็นจะมีอยู่เล่มเดียวที่วางขายบนแผงหนังสือ ซึ่งจริงๆผมซื้อหนังสือมาไว้แล้วหล่ะ ชื่อหนังสือ “การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนด้วยตนเอง” ซึ่งมีเนื้อหาย่อๆ ประมาณนี้

การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนด้วยตนเอง

“… ภาษาไพธอนเป็นภาษาที่พัฒนาในกลุ่ม Open Source มีข้อเด่น คือ สนับสนุนแนวคิดแบบออปเจกต์โอเรียนเทดและประกอบด้วยมอดูลสำหรับงานด้านต่าง ๆ เช่น Regular Expression, Multi-Threading, Network, XML, การสื่อสารระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านอนุกรมและพอร์ตขนาน อื่น ๆ เว็บไซด์ Google ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาไพธอน, บริษัท ILM (Image Light and Magic) ใช้ภาษาไพธอนสร้างเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับภาพยนตร์แอนนิเมชัน, ระบบปฏิบัติการ Redhat ใช้ภาษาไพธอนเป็นInstaller (ตัวติดตั้งระบบปฏิบัติการ), นาซา (NASA) ใช้ภาษาไพธอนสำหรับโครงการสำรวจอวกาศ, Zope ใช้ไพธอนสร้าง CMS (Content Management System), Bit Torrent เกิดขึ้นจากภาษาไพธอน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเล่มแรกของชาวไทย (ฉบับภาษาไทย) เนื้อหาภายในได้วางรากฐานที่เป็นประโยชน์ซึ่งทำให้เข้าใจองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน ซึ่งอธิบายด้วยภาพประกอบการยกตัวอย่างคำอธิบายมากกว่า 400 ตัวอย่าง …”   

หนังสือเล่มนี้ยังดูไม่จบครับ ที่ดูไม่จบก็เพราะมันต้อดูไปด้วย แล้วทำไปด้วย ไม่ค่อยได้จับจริงๆจังๆ ก็เลยดูไม่จบสักที คราวนี้คงได้ดูจนจบแน่ๆครับ นอกจากนี้ยังมีไฟล์ e-book ที่เป็นไฟล์ pdf ที่อีกไฟล์หนึ่งที่น่าสนใจ “ภาษาโปรแกรมมิ่งไพธอน” (คลิกอ่านที่นี่) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร ครับก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งไว้ให้เพื่อนศึกษากันครับ

ยังมีอีกเล่มนึงที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆ ได้อ่านคร่าวๆแล้ว เค้าเขียนอธิบายไม่ยาก ถึงแม้จะเป็น text book ก็ตาม นั่นก็คือ “Beginning Python: From Novice to Professional” ผมชอบเล่มนี้ตรงที่เค้าเขียนด้วยภาษาที่ค่อนข้างทำความเข้าใจได้ไม่ยาก สมกับชื่อแล้วมันเหมาะกับมือใหม่จริงๆ  เพื่อนๆน่าจะหามาเก็บไว้นะ พอดีผมเห็นว่า google book เค้าทำ review เล่มนี้เอาไว้พอดี เพื่อนๆสามารถอ่านดูบางบท เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อเล่มนี้ก่อน

เอาเป็นว่าช่วงนี้ ผมคงจะพยายามเขียนเรื่องไพธอนให้มากขึ้น พูดถึงให้บ่อยขึ้น เพื่อที่ตัวเองจะได้สนใจมากขึ้น เพื่อที่จะได้สำเร็จตามที่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อ่านเพิ่มเติม...

30.9.09

CodeIgniter PHP Framework เครื่องมือช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น

      คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหม ที่มีพลังมากมายมหาศาลในการเขียนโค๊ด PHP แบบ procedural แบบบ้าพลัง เขียนใหม่ทุกครั้งที่มีโปรเจคใหม่ โค๊ดเก่าๆ ทิ้งไป ก๊อปปี้มาใช้เพียงบางส่วน บางส่วนเอามาวางยาตัวเองอีกตั้งหาก เขียนโค๊ดทีนึงเป็นพันๆบรรทัด เวลากลับมาแก้ไขที แทบอยากจะเขียนใหม่ ถ้าอย่างนั้น คุณกับผมก็หัวอกเดียวกัน   แล้วเราจะทำยังงัยหล่ะทีนี้ ในที่สุดผมก็เจอผู้ช่วย “CodeIgniter” เค้าคือ PHP Framework (โค๊ด)เล็ก เบา ใช้งานง่าย แต่ประสิทธิภาพเกินตัว

CodeIgniter เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเขียนเว็บแอปพลิเคชั่นโดย PHP จุดประสงค์หลักของ CodeIgniter Framework นั้นก็คือ ถ้าคุณมีงานที่จะต้องทำเป็นประจำ อย่างเช่น เขียนหน้าเว็บที่รับค่าจาก user โดยจะต้องสร้างฟอร์มขึ้นมา หรือจะต้อวงเขียนโค๊ดเพื่อจัดการตัวแปร Session หรือทำหน้าเว็บเพื่อให้ user ทำการ upload/download ไฟล์บางอย่าง แทนที่เราจะต้องมานั่งเขียนโค๊ดเอง เราก็ใช้ CodeIgniter Framework แทน โดยเจ้าตัว CodeIgniter Framework มันมีเจ้าโค๊ดพวกนี้ และพวก Class ที่รองรับเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า แค่เราปรับพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมของเรา จากการเขียนโปรแกรมชนิดที่ต้องโปรแกรมเองทั้งหมด มาเป็นการเรียกใช้ Library หรือให้ใช้ class โดยศึกษาจากคู่มือ CodeIgniter เพียงเท่านี้ งานของเราก็จะเสร็จเร็วขึ้น หมดปัญหากับการวางยาตัวเองอีกต่อไป (เวลาเขียนโค๊ดเยอะๆ แล้วมันงงฉิบ)

CodeIgniter Feature

ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ตอนนี้ CodeIgniter เค้าได้ออกเวอร์ชั่น 1.7.2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในส่วนที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

  • เข้ากันได้ดีกับ PHP 5.3.0 (ซึ่งโดยทั่วไป เค้ารองรับ PHP ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.3.2 ขึ้นไป )
  • เพิ่ม Class เกี่ยวกับ Shopping Cart เข้ามาด้วย (ถูกใจ คนที่ทำ e-commerce หล่ะทีนี้)
  • ปรับปรุงโดยเพิ่ม ส่วนของการช่วยเหลือในเรื่องการสร้าง form
  • เพิ่มคำสั่ง is_php('version_number') เอาไว้เช็คว่า runอยู่บน PHP เวอร์ชั่นอะไร
  • ปรับปรุงคำสั่ง show_error() ให้สามารถแสดง HTTP status ได้
  • แล้วก็แก้ไข Bug จากเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา)

เพื่อนๆสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บ CodeIgniter โดยตรง  image  Current Version

 

เหตุผลที่คุณต้องใช้ CodeIgniter :

* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่เรียนรู้ง่าย
* คุณต้องการประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม
* คุณต้องการการรองรับกับโฮสพื้นฐานที่ถูกดำเนินการด้วย PHP หลากหลายรุ่นและการปรับแต่งที่ต่างกัน
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่แทบจะไม่ต้องปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ สำหรับการใช้งาน
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่ไม่ต้องให้คุณใช้ Command Line
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่ไม่ต้องยึดติดกับกฎการเขียนโค้ด
* คุณไม่สนใจไลบราีรี่ที่มีขนาดใหญ่มากอย่าง PEAR
* คุณไม่ต้องการถูกบังคับให้เรียนภาษาเทมเพลต (แต่เรามี template parser รองรับอยู่ ถ้าคุณต้องการ)
* คุณเหลีกเลี่ยงความสลับซ้อบซ้อน และชอบแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ
* คุณต้องการเอกสารประกอบที่ละเอียดถี่ถ้วน

ข้อมูลจาก www.codeigniter.in.th

การทำงานของ CodeIgniter 

สมมุติว่าเราต้องการหน้าเว็บแอปพลิเคชั่น(สมมุติชื่อไฟล์ index.php) ซึ่งทำงานอะไรบางอย่าง เมื่อเรามีการเรียกใช้ CodeIgniter ในหน้าเว็บนั้น การทำงานจะเริ่มจาก หน้าใส่โค๊ดของเรา

CodeIgniter Work Flow

  1. หน้า index.php เป็นส่วนที่เราทำการออกแบบให้ไปเรียกใช้ CodeIgniter.
  2. Rounting : ตัว Router ทำการตรวจสอบ HTTP request กำหนดว่าควรจะทำอะไรกับมัน นอกจากนี้มันจะคอยตรวจสอบว่าข้อมมูลนี้เคยถูกเรียกใช้แล้วหรือยัง หากว่าเคยถูกเรียกใช้แล้ว มันจะไปดึงในส่วนของ Caching กลับไปให้ User ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้ CodeIgniter Framework ทำงานได้เร็วกว่าการเขียนโค๊ดเอง
  3. Caching : ถ้ามีไฟล์แคชอยู่ ตัวมันจะถูกส่งกลับทันทีไปยังบราวเซอร์ โดยไม่ผ่านการทำงานปกติของระบบ
  4. Security : ก่อนที่จะโหลดตัวควบคุมของแอพพลิเคชั่น (Application Controller) HTTP request และผู้ใช้ใดๆที่ส่งข้อมูลมาจะถูกกรองข้อมูลเพื่อความปลอดภัย
  5. Application Controller : โหลดแบบจำลอง(Model) , ไลบรารี่หลัก(Libraries) , plugins, ผู้ช่วย (Helpers) และทรัพยากรอื่นๆที่จำเป็นในทำงานที่ถูกร้องขอมา
  6. สุดท้าย View ปฎิบัติงานและถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์เพื่อโชว์หน้าจอ ถ้าระบบแคชถูกใช้งาน หน้าจอจะถูกแคชก่อนแล้วจึงค่อยส่งสิ่งที่ร้องขอมาเป็นลำดับถัดไป

การติดตั้ง CodeIgniter Framework

ในส่วนของการติดตั้ง ผมยังไม่ได้ลองแต่ว่าผมได้ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เนตแล้ว เจอบทความเรื่องการติดตั้ง CodeIgniter ของคุณ “กิตติ เหมือนจันทร์แจ่ม” สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะละเอียดที่สุดแล้ว ก็เลยจะไม่ขอเขียนอธิบายในส่วนนี้ ให้เพื่อนๆไปอ่านจากนี้ได้เลยครับ ถ้ามีตรงไหนเพิ่มเติมผมจะมาเขียนเพิ่มในบล๊อกนี้แล้วกัน  คลิกดาวน์โหลด การติดตั้ง CodeIgniter

 

คู่มือการใช้งาน Codeigniter

ส่วนใครที่ไม่ค่อยถนัดอ่าน manual ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเป็นกังวลครับ ตอนนี้มีคนได้แปลคู่มือการใช้งาน CodeIgniter ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ต้องขอขอบคุณ codeigniter.in.th ที่ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น เข้าไปอ่านคู่มือกันได้ที่นี่ครับ http://www.codeigniter.in.th/user_guide/index.html  เนื้อหา สารบัญอยู่ตรง tab ตารางเนื้อหาด้านบนครับ

CodeIgniter content ข้อมูลจาก www.codeigniter.in.th

จริงๆยังมีอะไรอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Codeigniter กับ jQuery หรือกาารใช้ FormIgniter เพื่อ generate form เพื่อมาใช้กับ Codeigniter และยังมีลูกเล่นอื่นๆอีกมากมาย เอาไว้ให้เพื่อนๆไปศึกษาต่อกันเองครับ แต่ที่สำคัญของบทความนี้ ที่อยากจะยกให้เห็นว่า บางครั้งถ้ามันมี tool อยู่แล้ว เราก็ควรเลือกใช้และใช้ให้เป็น การใช้ tool ช่วย ไม่ได้หมายความว่า เราจะทำอะไรไม่เป็น คนที่ไม่ใช้ tool เลย เขียนเองทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะเก่งเป็นเทวดา สุดท้ายแล้ว คนที่รู้จักจัดการและแก้ปัญหาต่างหากหล่ะ ที่ผมคิดว่าเค้าเก่งจริง วันนี้ก็ฝากไว้แค่นี้ก่อน สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...

22.9.09

หนังสือ - อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ไม่รู้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับโปรแกรมอะไรดี อยากจะเขียนเรื่องที่ผมเอาเทคนิคของไวรัสโทรจันมาใช้ในการทำโปรเจค แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มสักที อยากจะเอาโค๊ดมาให้ดูด้วย แต่ยังหา plug in ที่มาทำให้ blogspot โชว์โค๊ดแบบจ๊าบๆไม่ได้เลย ก็เลยขอติดค้างไว้ก่อนเรื่องนี้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปยืมหนังสือมาจากห้องสมุดมหาลัย ยืมมาตั้ง 5 เล่ม พอดีช่วงนี้เพิ่งเปิดเทอม แต่เดี๋ยวก่อน 5 เล่มที่ยืมมา ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเรียนเลยครับ เพื่อนๆที่มหาลัย ขอดูกันใหญ่ นึกเราว่าจะตั้งใจเรียน (กร๊ากก ขำ )

ทุกๆครั้งที่ผมไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดมหาลัย หรือว่าหอสมุดแห่งชาติ ผมแทบจะไม่เคยเลยที่จะไปค้นหาหนังสือจากดัชนีหนังสือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ค้นหารายชื่อหนังสือก่อน เพราะว่าผมเองก็ไม่รู้จะเลือกหาหนังสืออะไร ถึงต่อให้รู้ก็เหอะว่าจะอ่านหนังสืออะไร ผมก็ยังพอใจที่จะเดินไปเลือกด้วยตัวเองว่าหนังสือเล่มไหนที่อยากอ่าน คือผมต้องเปิดหนังสือนั่นก่อน แล้วดูว่าตัวหนังสืออ่านง่ายไหม ใช้คำยากไปไหม โดยผมจะอ่านไปสักสองสามบรรทัด แล้วจึงค่อยตัดสินใจที่จะยืมหนังสือ หรือเลือกหนังสือนั่นมานั่งอ่าน บางทีก้เดินเลือกไปเรื่อยๆ เหมือนไปเดินซ๊อปปิ้ง อะไรประมาณนั้น มีความสุขในการเดินในห้องสมุดจริงๆ ^_^

จริงๆผมว่าหนังสือในเรื่องเดียวกัน มีคนแต่งหลายคน ซึ่งแต่ละคนที่เขียนก็จะมีไสตล์เป็นของตัวเอง บางคนเขียนอ่านเข้าใจง่าย บางคนเขียนอ่านเข้าใจยาก(หรือว่าผมอ่านไม่รู้เรื่องคนเดียวก็ไม่รู้) อย่างเช่น หนังสือ Photoshop เชื่อไหมครับเพื่อนๆ ผมเห็นแล้ว เยอะมากๆ เยอะพอๆกับคำสั่งใน Photoshop เลย เห็นหนังสือแล้วเลือกไม่ถูกว่าจะอ่านเล่มไหน –_-“

เกริ่นมาซะนาน (จริงๆที่บ้านเรียกว่า “บ่นทำหอกไรว่ะ" เข้าเรื่องซะทีดิ”) วันนี้อยากอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร จะนำเสนอหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ “อินเตอร์เนตทำงานได้อย่างไร” (How The Internet Works) เรียบเรียงโดย คุณชัชวาล ศุภเกษม เป็นหนังสือของค่าย se-ed สีสี่ทั้งเล่ม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ Preston Gralla ซึ่งได้รับรางวัลในงานเขียนมากกว่า 20 เล่ม และเป็นบรรณาธิการอาวุโสและเจ้าของคอลัมล์ที่ CNet และ ZDNet รับรองการันตีได้ถึงคุณภาพของงานเขียน และการถ่ายทอดความรู้ เค้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต

เนื้อหาโดยสังเขปของหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้มี เนื้อหาครอบคลุมอินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจกับอินเทอร์เน็ตพื้นฐาน จนถึงเทคโนโลยีล่าสุดของอินเทอร์เน็ตไร้สายอย่าง WiFi, ระบบกริดของคอมพิวเตอร์เคเบิลโมเด็ม โมเด็ม DSL และเน็ตเวิร์กในบ้าน, วิธีการใช้อีเมล,การท่องอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บเบราเซอร์ สำรวจถึงโลกเว็บคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต ศึกษาถึงวิธีการจับจ่ายซื้อของทางอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย พบกับวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเจาะลึกไปยังระบบลอบดักฟัง, การใช้เว็บอย่าง Carnivore ของ FBI และวิธีการทำงานอีกสารพัดสิ่งที่มีในอินเทอร์เน็ต

โดยเค้าแบ่งเนื้อหาออกเป็น ภาคๆ โดยแต่ละภาคก็จะแบ่งออกเป็นบทๆ ดังนี้

ภาคที่ 1 ทำความเข้าใจต่อสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต

บทที่ 1 อินเทอร์เน็ตคืออะไร
บทที่ 2 เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างไร
บทที่ 3 TCP/IP ทำงานอย่างไร
บทที่ 4 ทำความเข้าใจกับซอฟแวร์โครงส้รางทางอินเตอร์เนต
บทที่ 5 ที่อยู่และโดเมนทางอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร
บทที่ 6 เร้าเตอร์ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

บทที่ 7 คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
บทที่ 8 โมเด็มทำงานอย่างไร
บทที่ 9 การเชื่อต่ออินเตอร์เนต/โทรทัศน์ทำงานได้อย่างไร
บทที่ 10 Digital Subscripber Line (DSL) ทำงานอย่างไร
บทที่ 11 การเชื่อต่ออินเตอร์เนตจากบริการออนไลน์
บทที่ 12 การเชื่อมต่อแบบไร้สายและเครื่องปาล์มทำงานอย่างไร
บทที่ 13 เน็ตเวิร์กในบ้านทำงานอย่างไร

ภาคที่ 3 การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

บทที่ 14 อีเมลทำงานอย่างไร
บทที่ 15 อีเมลสแปมทำงานอย่างไร
บทที่ 16 นิวส์กรุ๊ปทำงานอย่างไร
บทที่ 17 อิเตอร์เนตแชทและอินสแตนซ์แมสเสจทำงานอย่างไร
บทที่ 18 โทรศัพท์ปผ่านอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร

ภาคที่ 4 การใช้เวิลด์ไวด์เว็บ

บทที่ 19 เว็บเพจทำงานอย่างไร
บทที่ 20 เว็บเบราเซอร์ทำงานอย่างไร
บทที่ 21 ภาษามาร์กอัพทำงานอย่างไร
บทที่ 22 ไฮเปอร์เท๊กซ์ทำงานอย่างไร
บทที่ 23 URL ทำงานอย่างไร
บทที่ 24 อิมเมจแม๊ปและแบบฟอร์มที่โต้ตอบได้ทำงานอย่างไร
บทที่ 25 เว็บโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ทำงานอย่างไร
บทที่ 26 เว็บไซต์ทำงานกับฐานข้อมูลได้อย่างไร
บทที่ 27 .NET และเว็บเซอร์วิสทำงานอย่างไร
บทที่ 28 กริดคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 5 การใช้เครื่องมือพื้นฐานในอินเทอร์เน็ต

บทที่ 29 Telnet ทำงานอย่างไร
บทที่ 30 FTP ทำงานอย่างไร
บทที่ 31 การค้นหาทางอินเตอร์เนตทำงานได้อย่างไร
บทที่ 32 เอเยนต์ทำงานได้อย่างไร
บทที่ 33 Java, ActiveX และ JavaScript ทำงานอย่างไร
บทที่ 34 สคริปต์ CGI ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 6 สนุกสนานกับสิ่งบันเทิงและมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ต
บทที่ 35 เพลงและออดิโอทางอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร
บทที่ 36 การแชร์เพลงและไฟล์ต่าง ๆ ทำงานอย่างไร
บทที่ 37 วีดีโอทางอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร
บทที่ 38 Multicast IP และ MBone ทำงานอย่างไร
บทที่ 39 Virtual Reality ทำงานอย่างไร
บทที่ 40 ภาพเคลื่อนไหวบนเว็บทำงานอย่างไร

ภาคที่ 7 การจับจ่ายซื้อของและทำธุรกรรมอินเทอร์เน็ต

บทที่ 41 อินทราเน็ตทำงานอย่างไร
บทที่ 42 การซื้อของทางอินเทอร์เน็ต

ภาคที่ 8 การปกป้องตัวเองเมื่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต

บทที่ 43 ไฟร์วอลล์ทำงานอย่างไร
บทที่ 44 แฮ็กเกอร์โจมตีคอมพิวเตอร์และทำให้อินเทอร์เน็ตล่มได้อย่างไร
บทที่ 45 ไวรัสทำงานอย่างไร
บทที่ 46 ไซต์ทางอินเตอร์เนตและซอฟแวร์ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวคุณได้อย่างไร
บทที่ 47 วิทยาการเข้ารหัสลับ ความเป็นส่วนตัว และใบรับรองทางดิจิตอล
บทที่ 48 FBI และที่ทำงานสอดส่องอย่างไร
บทที่ 49 การกำหนดควบคุมจากผู้ปกครองบนอินเตอร์เนต

 

ซึ่งในแต่ละบทเค้าเขีนได้ครอบคลุมแทบจะทุกเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อหนังสือจริง (เท่าที่เทคโนโลยีจะมีในตอนั้น) เนื้อหาไม่ลงไปลึกในวิชาการมากนั้น แต่สามารถอธิบายได้อย่างเข้าใจง่าย รวมทั้งภาพประกอบเป็นภาพออกแนววาดเขียน โดยเค้าเขียนการไหลของข้อมูล ซึ่งสามารถสื่อความหมายให้เราเข้าใจได้เป็นอย่างดี เหมาะมากๆครับ สำหรับนักศึกษา และบุคคลโดยทั่วไปที่หลงไหลในคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนตเช่นผม

หนังสือพิมพ์สี่สี กระดาษค่อนข้างหนา ราคาปกติ 445.00 บาท ถ้าจะถ่ายเอกสาร ไม่แนะนำอย่างแรงครับ เพราะจะเสียรสชาดในการอ่าน ดีไม่ดีค่าถ่ายเอกสารจะแพงกว่าหนังสืออีกก็ได้นะครับ

อยากจะยกเนื้อหาบางตอนมาให้อ่าน แต่ผมเกรงว่าจะผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ เอาเป็นว่าเดี๋ยวอ่านไป แล้วมาเล่าให้ฟังทีหลังแล้วกัน แต่ยังงัย ก็ยังยืนยันให้เพื่อนๆไปหาซื้อ หรือยืมมาอ่านกันดูนะครับ ภาพสวย อ่านง่าย สบายตา ฟันธง!!!

อ่านเพิ่มเติม...

19.9.09

คุณมี Twitter แล้วหรือยัง

Twitter คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง แล้วมีประโยชน์อย่างไร คงจะเป็นคำถามที่หลายๆ คน น่าจะให้ความน่าสนใจ มาซักพักหนึ่งแล้ว

วันนี้ผมอาจจะต้องขอเวลาท่านผู้อ่านซัก 2-3 นาที ในการอธิบายว่า Twitter คืออะไร เพื่อความเข้าใจในส่วนต่อๆ ไปของบทความนี้นะครับ

Twitter คือเครื่องมือสื่อสารชนิดใหม่จากทางฝั่งอเมริกา ที่ Concept ของมันถูกวางไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม โดยที่คนทั่วไป อาจะจะมองว่าตัวของ Twitter นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับ Social Networking แบบหนี่งซึ่งจะเป็นการเชื่อมเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เข้าหากันผ่านการสื่อสารแบบนี้

แต่ในอีกมุมหนึ่ง Twitter ก็ถูกเรียกว่า Microblogging เพราะลักษณะในการสื่อสารนั้นจะมีขนาดที่สั้นมากก็คือยาวได้สูงสุด แค่ 140 ตัวอักษร[ภาษาอังกฤษ]

Twitter นั้นการใช้งานโดยๆ ทั่วไป ก็จะเป็นการกรอกข้อความที่มีขนาดสั้นๆ ลงไปใน Twitteraccount ของตัวเองเพื่อให้คนอื่นสามารถตามมาหาอ่านได้ (โดยในปัจจุบัน สามารถทำได้มากกว่าการแค่กรอกข้อความลงบนเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นการใช้มือถือ หรือโปรแกรมผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์) โดยสิ่งที่ทาง Twitter อยากให้คนเขียนมาในความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ก็คือสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ในขณะนั้น หรือ “what are you doing?” นั่นเอง

คนทั่วไปสามารถตามอ่าน Account ของ User ที่ตัวเองสนใจได้ผ่านการเข้าไปที่หน้าของ Userที่ตัวเองสนใจและกดปุ่ม Follow, มาถึงขั้นนี้หลายๆคนอาจจะงง ว่าทำไมเราต้องมากด Follow คนเพื่อที่จะได้ติดตามอ่านเนื้อหาของเจ้าของ Blog
เหตุผลก็คือว่า ตัวเราเองนั้นอาจจะสนใจเนื้อหาของคนเขียนหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ตัวเราเองก็แค่กด Follow ไปที่หลายๆ Account โดยเราสามารถจะเรียกดูข้อความ หรือ micro-blog ได้จากหลายๆ User ที่เรา Follow อยู่ได้ผ่านหน้า
ส่วนตัวของเราคือ http://Twitter.com/home

Twitter ของผมครับ

หลังจากอารัมภบทมาได้ซักครู่แล้วทีนี้เรามาวกกลับที่หัวข้อหลักของเราในเนื้อหาวันนี้นะครับว่าหลังจากเจ้าเครื่องมือตัวนี้ออกมาสู่ตลาดได้ซักพักใหญ่ๆ แล้ว และก็ได้สร้างปรากฏการณ์ที่มีผู้ใช้มากมายมหาศาลอย่างรวดเร็วโดยที่สถิติที่ออกมาเมื่อ
เร็วๆ นี้ ในเดือนมีนาคม ตัวเลขผู้เข้าชม websiteTwitter เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเก่าเมื่อปีที่แล้วในเดือนเดียวกันมากถึง 100% โดยเพิ่มจาก 9.8 ไปเป็น 19.1 ล้าน Visitor โดยที่ตัวเลขนี้ ยังไม่ได้นับรวมถึงตัวเลขในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการใช้ Twitter ผ่านโปรแกรมทาง Desktop และมือถือซึ่งก็ยังมีอีกมากมายเหมือนกันจากการเติบโตอย่างมากมายของ Software ตัวนี้บริษัทมากมายก็เลยได้เริ่มตั้งคำถามว่า จาก Traffic

ขนาดนี้ ที่ทาง Twitter สามารถทำได้คนทั่วไปก็น่าจะสามารถทำการตลาดโดยผ่านเครื่องมือนี้ได้เช่นกัน

ตัวอย่างของการทำการตลาดที่เป็น Successful Case Study ที่เพิ่งผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าเป็นของท่านประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐที่ใช้ Twitter เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ Campaign ของตัวเอง และ ก็ได้ใช้เครื่องมือตัวนี้ ,Twitter, เพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อกับคนทั่วไป โดยที่ท่านประธานาธิบดีก็ไม่ได้ตอบเอง หรือเป็นคนที่ Tweet เองตลอดเวลานะครับ เป็นทางทีมงานของท่านที่เป็นคนทำครับ

แต่ตัวเลขที่เป็นที่น่าตกใจ ก็คือว่ามีคนตามอ่านเรื่องของท่าน ถึง 1,195,275 (ตัวเลขเมื่อวันที่ 19 พ.ค.52) ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว ด้วยตัวเลข ขนาดนี้การประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยากให้คนรู้มากๆย่อมสามารถทำได้โดยง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินในการซื้อสื่อแม้แต่นิดเดียว นอกจากตัวอย่างของนาย Obama แล้ว, ทางดาราดังอย่าง Britney Spears ก็มี Twitter account เช่นกัน โดยทาง Britney ก็ได้ใช้ช่องทางนี้ในการ แพร่กระจายข่าวสาร และใช่ในการสื่อสารกับแฟนเพลงของเธอโดยที่ตัวเลขล่าสุดก็มีคน Follow เพื่อรับข่าวของเธอ ผ่านทาง Twitter อยู่จำนวนทั้งสิ้น 1,496,594 คนนอกจากเหล่าดาราดังแล้วคนทั่วไป หรือเว็บไชต์

Britney Spears Twitter

ทั่วไปก็เริ่มขยับขยายช่องทางเข้ามาใน Twitter กันมากขึ้น เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ข่าวต่างๆ จากบล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ของตัวเอง จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีคนติดตามอ่านข้อความหรือ Micro-blog ของเรามากเท่าไร ข้อความของเราก็จะสามารถส่งออกไปถึงคนอ่านที่อยู่ และในกรณีนี้ ก็แต่ตัวเลขที่เป็นที่น่าตกใจ ก็คือว่ามีคนตามอ่านเรื่องของท่าน ถึง 1,195,275 (ตัวเลขเมื่อวันที่ 19 พ.ค.52) ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว ด้วยตัวเลขขนาดนี้การประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยากให้คนรู้มากๆย่อมสามารถทำได้โดยง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินในการซื้อสื่อแม้แต่นิดเดียว นอกจาก ตัวอย่างของนาย Obama แล้ว, ทางดาราดังอย่าง Britney Spears ก็มี Twitter account เช่นกัน โดยทาง Britney ก็ได้ใช้ช่องทางนี้ในการ แพร่กระจายข่าวสาร และใช่ในการสื่อสารกับแฟนเพลงของเธอโดยที่ตัวเลขล่าสุดก็มีคน Follow เพื่อรับข่าวของเธอผ่านทาง Twitter อยู่จำนวนทั้งสิ้น 1,496,594 คน นอกจากเหล่าดาราดังแล้วคนทั่วไป หรือเว็บไชต์ทั่วไปก็เริ่มขยับขยายช่องทางเข้ามาใน Twitter กันมากขึ้น เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ ข่าวต่างๆ จากบล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ของตัวเอง

จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีคนติดตามอ่านข้อความหรือ Micro-blog ของเรามากเท่าไร ข้อความของเราก็จะสามารถส่งออกไปถึงคนอ่านที่อยู่ และในกรณีนี้ ก็รวมถึงการประชาสัมพันธ์ตัวของเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็จะทำได้ง่ายขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะมีคนตาม
อ่าน Tweet ของเราแล้ว คนอื่นที่เห็นว่า Tweetของเราดีก็จะสามารถทำการ Forward Tweet นี้ให้คนอื่นอ่านได้ด้วยเช่นกัน โดยวิธีที่คนใน Twitter Forward Tweet ให้กันอ่าน เราจะเรียกว่าการRetweet หรือการ RT ซึ่งคนทั่วไปมักจะทำกันเพื่อเป็นการส่งต่อ Tweet ดีๆ ที่ตัวเองอ่าน และก็อยากให้คนอื่นได้อ่านด้วย

และยิ่งถ้าเป็นข้อความที่เป็นประโยชน์มากๆ ด้วยแล้ว คนก็มักจะ RT ให้กัน จนเกิดเป็นกระแสในสังคมของ Twitter โดยที่ข้อความจะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ ในลักษณะของ Viral Marketing หรือ Marketingแบบที่เป็นการส่งต่อกันโดย User เพื่อ User โดยที่ความน่าสนใจคือ เจ้าของ Tweet ไม่ได้จ่ายเงินใน การทำให้เกิดปรากฏการณ์แม้แต่บาทเดียว แต่ข้อความก็สามารถกระจายไปหาคนหมู่มากได้ เอาเป็นว่า ถ้าคราวหน้าผมมีโอกาสผมจะมาเล่าต่อละกันนะครับ ว่า Twitter ยังสามารถไปทำอะไร อย่างอื่นได้อีกบ้าง วันนี้ขอตัวลาไปก่อนนะครับ

 ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...

9.9.09

Pidgin : online เดียวเอาอยู่ทุกค่าย

    ผมเป็นคนหนึ่งแหละใช้ e-mail มากกว่า 1 account ถามว่าทำไมหน่ะเหรอ เพราะบางครั้งเราต้องใช้ email นี้เพื่อทำธุรกิจ email นี้เพื่อสนทนาทั่วไป หรือบางครั้งผมต้องสมัคร email ของค่ายนี้ เพื่อใช้งานบาง feature ของเค้า อย่างเช่น blogger ของ google หรือ yahoo answer ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องสมัคร email เพื่อขอใช้งาน และอะไรหลายๆอย่าง ที่ต้องมีมากกว่า 1 account

    ปัญหาที่ตามมาอีกอย่างนึงก็คือ แล้วเวลามีเมล์เข้ามาหล่ะ เราจะรู้ได้งัย ถ้าเพื่อนๆเคยสังเกต ถ้าเราใช้ msn เวลาที่มีเมล์เข้ามาที่ hotmail มันจะมี pop up ขึ้นมาเตือนว่ามีเมล์เข้ามานะ และถ้าเราใช้ google talk ก็จะมี pop up ขึ้นมาเตือนเวลามีเมล์เข้ามาที่ gmail เช่นกันเมื่อมีเมล์เข้ามาที่ yahoo ก็คล้ายๆกัน

    แต่เราจะออนไลน์โปรแกรม google talk , MSN , Yahoo ทั้ง 3 ตัว ด้วย 3 account เหรอ ดูเหมือนจะบ้าไปหรือเปล่าบางคนอาจจะบอกอย่างงั้น

   วันนี้ ผมมีเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เราทำ 3 อย่างพร้อมกันได้ ด้วยโปรแกรมที่ Pidgin  เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้คุณสามารถ log on ด้วย account ที่แตกต่างกันในเวลาเดียวกันได้ โดยผ่านตัวโปรแกรมตัวนี้ ในเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่า เพื่อนๆสามารถสนทนากับเพื่อนๆ คนไหนก็ได้ ด้วยaccount ต่างๆกัน ในเวลาเดียวกัน

   Pidgin เป็นโปรแกรมสนทนาออนไลน์(ฟรี) ที่ไม่มีโฆษณามากวนใจ ตามจุดประสงค์ของ GNU (เพื่อนๆสามารถโหลดโค๊ดไปพัฒนาต่อได้) ซึ่งตัวโปรแกรม pidgin นี้รองรับ account ได้หลายค่ายมากจนเกือบจะครบเลยก็ว่า ที่สำคัญเค้า support ภาษาไทยด้วยนะ

pidgin

รองรับเครือข่ายสนทนาออนไลน์ :

  • AIM 
  • Bonjour
  • Gadu-Gadu
  • Google Talk
  • Groupwise
  • ICQ
  • IRC
  • MSN
  • MySpaceIM
  • QQ
  • SILC
  • SIMPLE
  • Sametime
  • XMPP
  • Yahoo!
  • Zephyr

รองรับภาษาต่อไปนี้ :

  • Afrikaans
  • Albanian
  • American English
  • Arabic
  • Australian English
  • Belarusian Latin
  • Bengali
  • Bokmal Norwegian
  • Bosnian
  • British English
  • Bulgarian
  • Canadian English
  • Catalan
  • Chinese
  • Czech
  • Danish
  • Dutch, Flemish
  • Dzongkha
  • English
  • Esperanto
  • Estonian
  • Euskera(Basque)
  • Finnish
  • French
  • Galician
  • Georgian
  • German
  • Greek
  • Gujarati
  • Hebrew
  • Hindi
  • Hong Kong Chinese
  • Hungarian
  • Indonesian
  • Irish
  • Italian
  • Japanese
  • Kannada
  • Khmer
  • Korean
  • Kurdish
  • Lao
  • Lithuanian
  • Macedonian
  • Mongolian
  • Nepali
  • Norwegian Nynorsk
  • Occitan
  • Pashto
  • Persian
  • Polish
  • Portuguese
  • Portuguese-Brazil
  • Punjabi
  • Romanian
  • Russian
  • Serbian
  • Simplified Chinese
  • Sinhala
  • Slovak
  • Slovenian
  • Spanish
  • Swedish
  • Tamil
  • Telugu
  • Thai
  • Traditional Chinese
  • Turkish
  • Urdu
  • Vietnamese

 

     การติดตั้ง คงไม่ต้องกล่าวไรกันมาก เพียงแค่เข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บ pidgin  ไฟล์ประมาณ 13.79 MB รอนานสักหน่อยแต่คุ้มครับ ซึ่งในส่วนขั้นตอนการติดตั้งไม่อยากอธิบายมาก เพื่อนๆคงคุ้นๆกันอยู่แล้ว (ผมขี้เกียจพิมพ์ด้วย..อิอิ) next อย่างเดียว ถ้าเพื่อนขี้เกียจอ่าน (แต่อ่านหน่อยก็ดี เพราะจะมีขั้นตอนหนึ่งที่ถามว่าเราต้องการติดตั้งตัวคอยเช็คการพิมพ์ ถูก-ผิด ไหม )

pidgin installation

หลังจากเราติดตั้งเสร็จแล้ว ในครั้งแรกเราต้องทำการ add account ทั้งหมดของเราเข้าไปที่โปรแกรม 

pigin add account 

นี่เป็นตัวอย่างที่ผมได้ทำการ add account ของ hotmail เข้าไป

pidgin with my hotmail

การตั้งค่าของ Hotmail account กับ pidgin

Server: messenger.hotmail.com

Port: 1863

Proxy type: Use Global Proxy Settings

 

การตั้งค่าของ Yahoo account กับ pidgin

Pager Server: 76.13.15.36 หรือ ไอพีอื่นๆ

Pager Port: 5050

Proxy type: Use Global Proxy Settings

pidgin with yahoo

การตั้งค่าของ Gmail account กับ pidgin

Require SSL/TLS  -> checked

Forced old (port 5223) SSL –> checked

Connect port: 443

Connect server: talk.google.com

File transfer proxies: proxy.eu.jabber.org

pidgin with gmail

หลังจากเพื่อนได้ทำการ add account เข้าไปแล้ว account ทั้งหมดจะไปปรากฏในรายชื่อ account  อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะเสริมก็คือ หาก account ไหนสามารถ log on ได้ จะมีเครื่องหมายถูก อยู่หน้าชื่อ account นั้นๆ และหลังจาก add account ด้วยโปรแกรมนี้แล้ว ก้ไม่จำเป็นต้อง on โปรแกรม MSN, Google talk หรือ Yahoo messenger นะครับ เพราะโปรแกรมมันจะแย่ง connection เปล่าๆครับ

pidgin account

นอกจากนี้ pidgin เองยังมี plugin อีกมากมาย ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้ pidgin น่าสนใจอีก pidgin plugin

หวังว่าคงมีประโยชน์มากมายนะครับ สำหรับคนที่มีหลายๆ  account นอกจากโปรแกรมจะให้โหลดมาใช้ฟรีแล้ว ยังไม่มีโฆษณามากวนใจอีกด้วย ( msn ไม่ปลื้มแน่ๆ ) วันนี้ผมก็ของฝาก tip เล็กๆน้อยๆ เดี๋ยววันหลังจะหา tip เด็ดๆมาฝากอีกครับ หากเพื่อนๆ อยากติดตามข่าวสารและบทความจากบล๊อก โปรแกรมเมอร์จำเป็น ก็อย่าลืมสมัครรับข่าวสารในช่องที่ให้กรอกอีเมล์เลยครับ จะได้ไม่พลาดข่าวสารและบทความจากบล๊อกโปรแกรมเมอร์จำเป็นครับ วันนี้ก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

ปล. หลังจากได้ทดลองใช้แล้ว มีอย่างหนึ่งที่อยากจะบอก คือเวลาที่เพื่อนๆสนทนากับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ถ้าอ่านภาษาไทยไม่ออก นันเป็นเพราะว่า เค้าใช้ font ที่ไม่ใช่ภาษาไทย ลองให้เค้าเปลี่ยนดูนะครับ ไม่งั้นเราจะอ่านไม่ออกว่าเค้าพิมพ์อะไรมา

ตัวอย่าง เพื่อนผมเค้าใช้ font-family: Wide Latin ปรากฏว่าผมอ่านแล้ว เป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ พอให้เค้าเปลี่ยนเป็น font-family: Angsana New; ก็กลับมาอ่านได้ตามปกติ

Update: ให้เพื่อนๆ ไปที่เมนู tool –> preference เลือก Conversations แล้วให้ unchecked  ที่ช่อง Show formatting on incoming messages  ครับ เพราะไม่งั้น font มันจะไม่ตรงกันแล้วจะอ่านตัวหนังสือไม่ออก

อ่านเพิ่มเติม...

สร้างเว็บในช่วงข้ามคืนด้วย CMS ( Content Management System)

“CMS” หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อเว็บสำเร็จรูป กำลังถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆอาจจะมาจากมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรูปแบบการบริการข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์มีความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริโภคข่าวสารได้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา มีผู้ใช้งานมากมายต้องการนำเสนอข้อมูลองค์กร/ข้อมูลส่วนตัว ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ทางเลือกทางหนึ่งคือการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่การสร้างเว็บไซต์มิได้ง่ายอย่างที่คิด ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เรียนรู้วิธีในการสร้างเว็บทั้งการเขียนโปรแกรม การอกแบบหน้าตาเว็บเป็นแรมเดือนจึงจะสร้างขึ้นมาได้ ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงมีผู้คิดค้นระบบเว็บสำเร็จรูปหรือ CMS ขึ้นมาเพื่อช่วยลดทอนเวลาในการสร้าง กล่าวคือระบบ CMS จะช่วยให้ท่านสามารถเนรมิตเว็บของท่านภายในช่วงข้ามคืนโดยที่ท่านไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บ บทความตอนนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมจากงานเขียนของผู้เขียนเองและจากเว็บไซต์ CMSThailand.com ซึ่งเป็นเว็บต้นขั้วเว็บแรกๆในไทยที่ให้ข้อมูล ความรู้ด้านนี้ มาให้ท่าผู้อ่านได้อ่านกัน

 

?????? ท่านทราบหรือไม่ว่าเว็บดังๆ ในปัจจุบันอาทิ Hi5.com, Mutiply.com,Kapook.com, Tarad.com, Mrpalm.com, Thaisharp.net, Manager.co.th,Beartai.com, Adslthailand.com, Pocketpcthai.com, Webmaster.or.th ฯลฯ เขาใช้ระบบ CMS ตัวใดทำกัน

 

 

รู้จักระบบ CMS

CMS ย่อมาจาก Content ManagementSystem เป็นระบบที่ใช้บริหารและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากนักก็สามารถสร้างเว็บไซต์ใช้งานได้ หากจะพูดไปแล้วระบบ CMSคล้ายๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั่นเอง ภายในระบบ CMS มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ

ระบบจัดการสมาชิก(Member)
ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Article)
ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) ระบบกระจายข่าว (RSS)
ระบบกระดานข่าว (Forum)
ระบบจัดการแบบสอบถาม (Poll) เป็นต้น
รวมทั้งมีโปรแกรมเสริมความสามารถระบบ (Modules)
และฉากหลังเว็บ (Themes) ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้
มากมายหลายรูปแบบ

แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site

กระแสลือบอกว่านักพัฒนาเว็บจะตกงานส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่านจากบอร์ดหลายๆ เว็บไซต์ที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างการสร้างเว็บไซต์ธรรมดากับการสร้างเว็บไซต์ที่ทำด้วยระบบ CMS บอกว่าหากใช้ระบบซีเอ็มเอสพวกเหล่าบรรดานักพัฒนาเว็บw: (Web Programmer) ก็จะตกงานในที่สุดเพราะทุกอย่างสำเร็จรูปไปทั้งหมด
ในทัศนะผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะเป็นตามแนวคิดนั้นผู้ใช้งานที่เป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ก็สามารถใช้ระบบCMS ในการอิมพลีเมนต์งานต่อยอดจากระบบเดิมได้จะเห็นได้จากเว็บไซต์ใหญ่หลายๆ เว็บไซต์ในปัจจุบันเขาก็ใช้ระบบซีเอ็มเอสกันแต่เป็นระบบซีเอ็มเอสที่ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากระบบเดิม จริงๆ แล้วโปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำการพัฒนาโปรแกรมเสริมความสามารถซีเอ็มเอส(Module) เพื่อจำหน่ายได้เช่นกัน หรือแม้กระทั้งให้นักออกแบบเว็บทำการออกแบบฉากหลัง (Themes)
มาฝากวางขายตามเว็บต่างประเทศที่ทำเทมเพลตเว็บขายซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่วไป อีกทั้งโปรแกรมเมอร์สามารถใช้ระบบซีเอ็มเอสเพื่อเป็นบันได (ทางลัด)ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อนำมาสร้างระบบ CMS ขึ้นใช้งานเองในองค์กรได้เช่นกัน

แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์จะมีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

1. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ Text Editor เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บจะต้องรู้ไวยากรณ์ของภาษาที่จะนำมาพัฒนา ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • ระบบ Windows -> Notepad, Notepad ++,EditPlus, NetObject ScriptBuilder, CuteHTML,HotDog, HomeSite
  • ระบบ Unix, Linux -> Pico, Vi , Emace, ee

2. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเว็บแบบสำเร็จรูป (Web Builder) เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บไม่จำเป็นต้องรู้แท็ก HTMLก็สามารถพัฒนาเว็บเพจ เป็นของตัวเองได้ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • Macromedia Dreamweaver (นิยมมากสุด ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Adobe)
  • Microsoft FrontPage
  • Adobe Golive
  • NetObject Fution
  • Namo Web Editor

3. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ระบบ CMS(Content Management System)ช่วยในการสร้างเว็บ ตัวอย่างระบบ CMS เช่น PHP-Nuke, Mambo, oomla!, Drupal, XOOPS,MODX, Plone, WordPress, Typo3, dotNetNuke,OpenCMS ฯลฯ

 

สามารถนำระบบ CMS ใช้งานด้านใดบ้าง

ระบบ CMS สามารถนำมาสร้างเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย พอสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กร หรือเว็บไซต์ท่า (Corporate websites or portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ (Online commerce)
  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก (Small business websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ชมรม สมาคม หรือองค์กร ไม่แสวงหากำไรอื่นๆ (Non-profit and organizational websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล (Government applications)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ระบบอินทราเน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต (Corporate intranets and extranets)
  • ใช้ทำเว็บไซต์สถาบันการศึกษา (School and church websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บครอบครัว (Personal or family homepages)
  • ใช้ทำเว็บไซต์คอมมูนิตี้ (Community-based portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์นิตยสาร หนังหรือพิมพ์ เพื่อรายงานข่าวสารต่างๆ (Magazines and newspapers)

 

ทำไมต้องใช้ระบบ CMS ?

- ประหยัดงบประมาณองค์กร
- สามารถพัฒนาต่อยอดได้
- สามารถทำงานเป็นทีมได้
- ลดระยะเวลาในการพัฒนา
- ใช้งานง่าย สะดวก + ง่าย + ฟรี = CMS

 

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS สามารถแบ่ง ได้สองประเภทใหญ่ ๆ คือ ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า (Commercial CMS) ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสฟรี (Open Source CMS) ที่พัฒนาตามแนวทางโอเพ่นซ๊อสมีลิขสิทธิ์แบบ GPL(General Public License) ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้ง ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์

ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า
(Commercial CMS Products)
- IBM Enterprise Content Management (ECM)
- Microsoft Office SharePoint
- RedDot
- Tridion
- Huland OnBase
- ReadPlanet
- NineNIC
- ฯลฯ

สามารถดูรายละเอียด CMS ตัวที่ได้รับความนิยมได้ที่เว็บ www.packtpub.com ซึ่งเป็นเว็บที่มีการประกวดระบบ CMS จากค่ายต่างๆ ทั่วโลก Open Source CMS Award

 

จะใช้ระบบ CMS ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องมองที่เป้าหมายหลักก่อนว่าจะใช้ระบบ CMS บริการในลักษณะอินทราเน็ตหรือใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงเลือกภาษาที่ใช้พัฒนาซีเอ็มเอส โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้งาน

 

คำศัพท์ที่เกี่วข้อง

- CMS (Content Management System) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
- LMS (Learning Management System) ระบบจัดการการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- LCMS (Learning Management System) ระบบจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- KMS (Knowledge Management System) ระบบจัดการองค์ความรู้บนเว็บไซต์
- DMS (Document Management System) ระบบจัดการเอกสารผ่านเว็บไซต์
- CMF (Content Management Framework) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบอิสระเพิ่มความสามารถหลายส่วนเข้ามา อาทิ Workflow, Web Services
- ECM (Enterprise Content Management) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ขั้นสูงสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย

 

บทสรุประบบ CMS

ในปัจจุบันระบบ CMS หรือระบบจัดการบริหารเนื้อหาบนเว็บไซต์มีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วย ในการพิจารณาว่าจะเลือกใช้ซีเอ็มตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ
1) ภาษาที่ใช้พัฒนา อาทิ PHP, ASP.NET, JAVA,PERL, PYTHON
2) ฐานข้อมูลที่ใช้ อาทิ MySQL, PostgreSQL,MS Access, MS SQL Sever, Oracle
3) เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการนำระบบไปติดตั้ง อาทิ Windows Server, Linux Server, BSD
Server, Solaris
หลังจากพิจารณาเลือกได้ทั้งสามอย่างแล้วจึงเลือกระบบซีเอ็มเอสไปใช้งาน โดยที่ระบบซีเอ็มเอสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาด้วยภาษาPHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL โปรแกรมจะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ตัวอย่างซีเอ็ม
ที่มีผู้ใช้งานในไทยใช้กันมาก อาทิ เช่น Drupal, Joomla!,Mambo, XOOPS, PHP-Nuke ซึ่งการที่ผู้อ่านจะเลือกใช้ระบบซีเอ็มเอสตัวใดนั้นผู้เขียนแนะนำให้ทดลองติดตั้งใช้งานดูที่เครื่องตนเองก่อน ว่าความสามารถเพียงพอต่อความต้องการของหน่วยงานหรือไม่

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...

28.8.09

เจาะใจนักเจาะรหัส HACKER

ช่วงนี้ใกล้สอบเข้ามาทุกที ผมเองก็ยุ่งๆอยู่ บางทีมันก็ยุ่งซะจนไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลังดี พยายามคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรมาลงในบล๊อกดี อยากนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์ อาจจะขอพักเรื่องเกี่ยวกับโปแกรมมิ่งไว้สักพักหนึ่ง เพราะการจะเขียนเรื่องพวกนี้ ต้องทำการทดลองก่อน แล้วค่อยมาเขียนเป็นขั้นตอน ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบค้นหาข้อมูลใน google อย่างมาก ประมาณว่าวันไหน เข้า google ไม่ได้ วันนั้นแหละ maxnet ต้องโดนผมโทรไปทักทายแน่ๆ วันนี้ผมได้ค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนไปเจอบทความบทความหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่ามันมีประโยชน์วันนี้ ก็เลยขอเอามาเก็บไว้ในบล๊อกแห่งนี้บ้าง เพราะจากการค้นหาไปยังแหล่งต้นกำเนิดของข้อความปรากฏว่าเข้าหน้าเพจนั้นไม่ได้แล้ว พอไปค้นหารูปของ Hacker คนนี้ ก้เกือบจะเข้าไม่ได้ ต้องเข้าไปเอาที่ cache ของ google หน่ะครับ สงสัยว่าจะโดนเจ้าของ Hacker ไล่ลบหรือเปล่า ยังงัยๆ ก็อย่ามาลบบล๊อกผมหน่ะพี่ ผมเอาบทความพี่มาเผยแพร่ด้วยความเคารพครับ

เจาะใจนักเจาะรหัส HACKER


แทบจะไม่เคยมีปรากฏการณ์ที่นักโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกตัวเองว่า “แฮกเกอร์” จะยอมเปิดใจอย่างเปลือยเปล่าทั้งเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันเหมือนครั้งนี้ แท้จริงแล้วเขาไม่ใช่บุคคลน่ากลัวและน่ารังเกียจอย่างที่สังคมตั้งข้อหา เพียงแค่มุมมองของเขาอาจจะไม่เหมือนชาวบ้าน ขณะเข้าไปพบโหว่ของบางเว็บไซต์และพยายามชอนไชหาข้อผิดพลาด และจริงหรือไม่ว่าเขาเป็นขบถต่อกฎหมายไอที ขณะร่วมงานกับดีเอสไอเป็นครั้งคราว ติดตามเรื่องราวของแฮกเกอร์หนุ่มที่ใช้ชีวิตอย่างคนปกติกับการงานที่ก้าว หน้า มั่นคง และหลายคนต้องอิจฉาเขา

- แฮกเกอร์ (Hacker)
บางกลุ่มเรียกว่าพวกหมวกขาว (White Hat) จัดอยู่ในฝ่ายธรรมะ เป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์อย่างดีเยี่ยม สามารถค้นพบช่องโหว่และแจ้งเตือนให้เจ้าของระบบได้รับรู้ อีกทั้งยังนิยมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แบ่งปันความรู้ที่ได้และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา

- แครกเกอร์(Cracker)
แครกเกอร์ (Cracker) บางกลุ่มเรียกว่าพวกหมวกดำ (Black Hat) จัดว่าเป็นแฮกเกอร์ฝ่ายอธรรม นิยมใช้ความสามารถเฉพาะตัวไปในทางที่ผิด มีเจตนามุ่งร้าย ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์

- สคริปท์คิดดี้(Script Kiddy)
เป็นพวกน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ แต่กำลังทวีจำนวนเพิ่มขึ้น คนพวกนี้ไม่จำเป็นต้องรู้หรือมีความสามารถมากนัก แต่อาศัยเครื่องไม้เครื่องมือที่หาได้จากเว็บไซต์หรือกระดานสนทนาของกลุ่มแค รกเกอร์มาทดลองใช้ เช่น การแฮกอีเมล์ การแฮกยูสเซอร์มาเล่นเน็ตฟรี

 

เขาหาว่าผมเป็นแฮกเกอร์!!!

 HACKER นิรันดร์ ไชยเดช ภายในออฟฟิศทันสมัยบนตึกสูงย่านถนนอโศก ไม่เพียงการตกแต่งดีไซน์ที่มีรสนิยม อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีของที่นี่เรียกว่าไฮเทคสมกับเป็นผู้ให้บริการงาน ด้าน อินเทอร์เน็ต เอเจนซี ที่มีลูกค้ารายใหญ่ระดับแถวหน้าในตลาดหลายรายเลือกใช้บริการให้ดูแลเว็บไซต์

ผลงานส่วนหนึ่งถูกดูแลโดย นิรันดร์ ไชยเดช (9AuM) หนุ่มทำงานวัย 29 ปี กับตำแหน่ง Senior Web Application Programmer เขาทำงานที่นี่มากว่า 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเรียนไม่สำเร็จแต่ใบรองรับการศึกษาไม่เป็นปัญหา ด้วยเพราะฝีไม้ลายมือที่เจนจัดและหาตัวยากในการเขียนโปรแกรม อาจกล่าวได้ว่านิรันดร์เป็นนักโปรแกรมเมอร์ที่ใครหลายคนให้การยอมรับ

ตอนนี้หน้าที่ของผมคือการเขียนโปรแกรม ดูแลน้องๆ โปรแกรมเมอร์ที่เข้ามาใหม่ แนะนำเขาแต่ถ้ามีงานด่วนๆ ผมก็จะลงมือเอง ลูกค้าที่ผมดูแล ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่อยู่กันมานาน คือทำงานและไว้ใจกัน ให้ช่วยดูแลในหลายๆเรื่องตั้งแต่งานด้านหน้าเว็บไซต์ งานระบบด้านหลัง การรักษาความปลอดภัย จนถึงในการเลือกสื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

ตามปกติแล้วงานทำเว็บไซต์ต้องแยกหน้าที่ให้ชัดเจน เหมือนกับที่บริษัทผมทำคือ มีโปรแกรมเมอร์ มีดีไซเนอร์ มีเว็บมาสเตอร์ และเอดิเตอร์ 4 คนนี้ควรจะมีเพื่อทำให้งานเป็นระบบและทำให้เรื่องที่ตัวเองถนัด

นิรันดร์เล่าให้ฟังว่า จุดเบี่ยงเบนที่ทำให้เขาหันมาสนใจเรื่องเทคโนโลยีเริ่มขึ้นขณะที่เขากำลัง เรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 2 เมื่อได้ไปหยิบหนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์มาอ่าน ด้วยความเป็นเด็กที่ชอบประดิษฐ์สิ่งของอยู่แล้ว นิรันดร์จึงบอกกับครอบครัวว่าเขาอยากเรียนต่อทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และสอบ เข้าสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้ในเวลาต่อมา

แต่ก็มาพบกับจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เพราะคณะดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่ปูพื้นฐานการเรียนรู้ให้นักศึกษายึดอาชีพ ครูถ่ายทอดวิชาด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเขาเองไม่ถนัดกับอาชีพนี้ นิรันดร์จึงบอกกับตัวเองเขาน่าจะทำงานที่เข้ากับนิสัยและความชอบของตัวเอง ได้

"ผมชอบและดีใจที่ได้เรียนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่นี่ได้สอนให้ผมกล้าคิดกล้าแสดงออก และทำให้ผมสามารถนำความคิดและความรู้ของตัวเองออกไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้"

เพียงแต่ในตอนนั้นผมมองว่าผมจะมีช่องทางไหนบ้างที่ไม่ต้องยึดติดกับอาชีพที่เกี่ยวกับด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
"พอผมเรียนปี 3 อาจารย์ให้ไปเซ็ตระบบ Lan ในห้องไฟฟ้า ผมรู้สึกทันทีว่าชอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เรียนให้พอผ่านๆ ได้เกรด C บ้าง B บ้างไปตามเรื่องไม่ให้สอบตก เวลาว่างปุ๊บจะมานั่งจับคอมพิวเตอร์ พอขึ้นปี 4 ชาวบ้านเขาไปเรียนกัน เราก็นั่งจับคอม เขียนเว็บ"

ตอนนั้นยังไม่ได้มีเรื่องแฮกเกอร์เข้ามาในหัวเลย เขียนเว็บอย่างเดียวเพราะเรารู้สึกว่า เด็กมหาลัยอื่นเขียนได้ เราก็ต้องเขียนได้ ในใจคิดแค่นี้เอง

และช่วงที่นิรันดร์ได้มาสัมผัสกับคำว่า "แฮกเกอร์" ก็เมื่อเขาเรียนอยู่ปลายปี 4 ขณะเริ่มทำงานได้ 3 เดือน โลกทัศน์ของการทำงานเปิดหูเปิดตาให้เขากว้างขวางขึ้น และนิสัยส่วนตัวที่ชอบใฝ่รู้ถึงที่มาหรือต้นตอ ซึ่ง นิรันดร์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า หากเขาจะทำเว็บบอร์ดขึ้นมา เขาก็ต้องรู้ทุกอย่างว่าทำยังไง ระบบส่วนนี้ทำงานอย่างไร มีไฟล์ไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง และแต่ละไฟล์ทำหน้าที่อะไร ผิดกับเด็กสมัยนี้ที่รู้อะไรไม่ลึกซึ้งในสิ่งที่ตนพัฒนา

ความซนของเขาทำให้เริ่มรู้ปัญหาหรือช่องโหว่ของเว็บไซต์ นิรันดร์จึงเริ่มเข้าไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่คิดว่าน่าจะมีปัญหาเหมือนกัน เพื่อศึกษาถึงที่มาของปัญหา และทำให้เขาได้ขยับตัวเองเป็น "แฮกเกอร์" เข้าไปทุกที

• ปฏิบัติการHack

มีบางคนกล่าวกันว่าแฮกเกอร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกโปรแกรมเมอร์ หรือผู้ดูแลระบบ (System Admin) เสียเอง เพราะคนกลุ่มนี้จะเชี่ยวชาญและคลุกคลีอยู่กับการเขียนโปรแกรมและดูแลระบบ นิรันดร์เล่าถึงเพื่อนสนิทในกลุ่มของเขาที่มีอยู่ประมาณ 3-4 คน ให้ฟังว่า ช่วงก่อนที่จะมีการก่อตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อนของเขาสามารถเข้าไปในเว็บที่ให้บริการตัดบัตรเครดิต (payment gateway) เพื่อเข้าไปเอาหมายเลขบัตรเครดิตมาสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ต่างประเทศ ร่วม 10 แห่ง โดยที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ของตัวเองเลยสักบาท

"ถ้าทำตอนนี้ก็คงโดนแล้ว ช่วงนั้นถ้าใครอยากได้อะไรให้บอกเลย อยากได้หนังสือ อยากได้ CD ก็สั่งได้เลยของทุกอย่างส่งตรงจากต่างประเทศถึงบ้านไม่มีใครรู้ ไม่มีใครมาตามจับ จนพักหลังมันเริ่มรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็เลิกกัน ไปเอง แต่ตอนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย"

"ช่วงหลังผมก็เข้าไปในเว็บใต้ดิน ถ้าผมแนะนำให้คนไปสมัครในเว็บนี้จะได้เปอร์เซ็นต์ประมาณ 10 เหรียญฯ แต่ด้วยความที่เราไม่รู้จะแนะนำให้ใครมาสมัครต่อ ยอดเงินมันก็ไม่เพิ่ม ผมก็เลยเข้าไปดูระบบของเขาว่ารันบนระบบอะไร แล้วผมก็เปลี่ยนตัวเองไปเป็นยูสเซอร์ที่ทำเงินได้เยอะมากเข้าไปแก้ไขข้อมูล ส่วนตัวเป็นข้อมูลของเรา ตอนนั้นถ้าทำสำเร็จเงินล้านจะเข้าวิ่งมาที่บ้านเพื่อนผม"

ครั้งนั้นไม่สำเร็จและยังถูกเจ้าของเว็บไซต์ส่งเมล์ถึงเขา แต่ไม่ใช่การต่อว่าหรือเอาเรื่องกับนิรันดร์ กลับเป็นการตะลึงในฝีมือของเด็กหนุ่มที่ทำได้ยังไงกัน รวมถึงการเสนอให้เขารับงานแฮกข้อมูลของยูสเซอร์ในเว็บไซต์ต่างประเทศ เพียงต้องการแค่ชื่อและอีเมล์จำนวน 400 ชื่อ นิรันดร์ยังจำเหตุการณ์นั้นได้ เขาได้รับเงินโอนเข้ามาในบัญชีประมาณ 500 เหรียญฯ ก่อนหน้าที่เขาจะเขียนโปรแกรมเข้าไปรันในโฮสต์และได้รายชื่อพร้อมกับอีเมล์ ส่งให้

"ส่งแค่รายชื่อกับอีเมล์แค่นั้น ผมก็ยังงงว่าจะเอาอีเมล์ไปทำอะไร แต่เขาก็บอกว่ามันมีค่านะ ถ้าไปทำ สแปมกับเรื่องที่สนใจมันจะเกิดการซื้อขายกันขึ้นมา พวกนี้มีเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายกัน"

ในยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่แพร่หลายโปรแกรมไอซีคิวกำลังดัง นิรันดร์เล่าว่า คนที่ใช้ไอซีคิวส่วนใหญ่ต้องการเลขสมาชิกสวยๆ ยิ่งใครได้เลขน้อยหลักก็ยิ่งเจ๋ง นิรันดร์ลงมือจัดการกับเรื่องนี้ ด้วยการไล่แฮกคนที่มีเลขสมาชิกสวยๆ ซึ่งตัวเขาเองก็มีเลขสมาชิก 6789... ด้วยการเขียนโปรแกรมไล่สุ่มรหัสผ่าน ตอนนั้นได้เบอร์ไอซีคิวมา 2,000-3,000 เบอร์ ก็ไล่แจกกันในห้อง IRC และเริ่มทำกำไรด้วยการขายไอซีคิวเบอร์สวยๆ เบอร์ละ 700-800 บาท เขาบอกว่าตอนนั้นได้เงินมาประมาณ 2,000-3,000 บาท

"เงินมันร้อนที่ได้มาง่ายก็หมดเร็วเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องสนุกๆ กันมากกว่าตามวัย อีกช่วงหนึ่งคือตอนนั้นเว็บโป๊กำลังเริ่มดัง เห็นเพื่อนเล่นผมก็เล่นบ้าง แต่เราแค่ไปสมัครเว็บขายแบนเนอร์คือ เราแค่แนะนำใครที่เข้ามาสมัครผ่านไอดีของเรา เราจะได้ค่าลงทะเบียนละ 30 เหรียญฯ"

"ผมก็เขียนโปรแกรมให้โปรแกรมออโต้ โพสต์ ไปว่า มีเว็บมาแนะนำ โพสต์ไป 200-300 เว็บต่อวัน มีคนส่งกลับมาลงทะเบียนตามไอดีของเรา ช่วงนั้นได้เงินประมาณหลักแสนนะ เงินที่ได้มามันก็ละลายไปกับการซื้อของ ซื้อหนังสือ ซื้อคอมพิวเตอร์ ดีว่าตัวเองไม่ได้เอาเงินไปเที่ยวเตร่"

ปัจจุบันนิรันดร์เลิกพฤติกรรมแบบเดิมๆ เพียงแต่เขายังเข้าไปศึกษาเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อศึกษาถึงช่องโหว่ของแต่ละเว็บไซต์ เมื่อพบแล้วเขาก็จะแจ้งให้ทางเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์นั้นรู้ตัว ก่อนที่จะโดนแฮกเกอร์รายอื่นลองของ

"ที่ผมพบกับตัวเองเป็นเว็บไซต์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งผมยังอึ้งกับนักพัฒนาของเขาที่เขียนโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์หลายภาษามาก เพราะโอกาสที่แอพลิเคชั่นมีปัญหาเป็นไปได้ค่อนข้างสูง แล้วผมก็รู้ว่าเว็บไซต์ธนาคารแห่งนี้หลุดหลายครั้งมาก มีแฮกเกอร์เข้าไปแก้เรื่องวงเงินของบัตรเครดิต เรื่องบัญชีธนาคาร แต่ผมไม่รู้รายละเอียดนะเรื่องนี้

"ตัวผมเองเข้าไปหาก็ยังพบว่าหลุดแต่ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนัก แค่ผมรู้หมายเลขบัตรเครดิตของคนที่ใช้ธนาคารแห่งนี้ ผมก็สามารถรู้วงเงินของเขา แล้วก็รู้ว่าเขาใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว แต่เราไม่สามารถไปใช้อะไรได้ แค่รู้อย่างเดียว ถามว่ามันอันตรายไหม ผมว่ามันอันตรายนะที่ให้คนอื่นมารู้โปรไฟล์ส่วนตัวของเรา"

ล่าสุดกรณีความวุ่นวายของโอเน็ต-เอเน็ตที่มีปัญหาในเรื่องการแจ้งผลการสอบ นิรันดร์ได้เข้าไปศึกษาถึงระบบในเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนเช็คผลการสอบด้วยการ ใช้หมายเลขบัตรประชาชนลิงค์กับหน้าที่แสดงผล เขาเขียนโปรแกรมขอเก็บเลขหมายบัตรประชาชนของคนที่สมัครภายใน 8 ชั่วโมงได้รายชื่อและหมายเลขบัตรทั้งหมดกว่า 3 แสนราย ทำให้เห็นว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมนี้มีช่องโหว่ ซึ่งการครอบครองฐานข้อมูลลักษณะนี้อาจนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ แต่นิรันดร์เพียงต้องการศึกษาถึงช่องโหว่ของเว็บไซต์เท่านั้น

"สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ถ้าคุณเขียนโปรแกรม เขียนเว็บแอพลิเคชั่นแล้วมีบัคขึ้นมา ผมก็ตามไปดู มันหมดอารมณ์ที่จะไปทำลายเว็บชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นเมื่อ 2-3 ปีก่อนถ้าเจอแบบนี้ก็อาจจะเข้าไปแก้ไขและเป็นที่รู้กันว่า �ฉันทำได้� ในกลุ่มจะรู้กัน บางคนจะส่งลิสต์เข้ามา 10-20 เว็บว่า นี่ฝีมือฉันนะที่เข้าไปเปลี่ยน ไม่ใช่ต้องการกลั่นแกล้งแต่เป็นเหมือนการลองของ ช่วงนั้นมีการเก็บสถิติกันเลยว่าใครทำที่ไหนได้บ้าง แต่ทุกวันนี้ทุกคนรู้ว่าเว็บไหนมีช่องโหว่แล้วก็จบ รู้กันแค่นี้"

นิรันดร์มองว่าโปรแกรมเมอร์ที่ดี นอกจากเขียนโปรแกรมเพื่อการใช้งานได้แล้วยังต้องรู้จักการเขียนโปรแกรมเพื่อ ทำลายระบบตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้รู้ช่วงโหว่ของระบบนั้นๆ แต่ทุกวันนี้ไม่ค่อยมีโปรแกรมเมอร์แบบนี้ทำกันเท่าไหร่นัก จึงมีแต่พวกแฮกเกอร์ที่เข้ามาทำลายระบบเสียเอง

• มุมมองต่อการบล๊อกเว็บไซด์

ส่วนปัญหาเรื่องการเข้าไปในเว็บไซต์ไม่เหมาะสมนั้น นิรันดร์มองว่าน่าจะเป็นเรื่องจิตสำนึกของคนมากกว่า การบล็อกเว็บไซต์คงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก

. "เพราะบางทีผมต้องการเข้าไปดูข้อมูล แต่ปรากฏว่าเว็บโดนบล๊อก เปิดไปเจอตาทิพย์เข้าให้ ผมคิดว่าถูกแล้วเหรอที่จะไปจำกัดสิทธิส่วนตัวของคนอื่น ทุกวันนี้เหมือนกับเราพยายามล้อมคอกวัว แต่ส่วนตัวผมมองว่าทำไมเราไม่ฉีดวัคซีนให้กับวัวให้มีภูมิคุ้มกันแล้วปล่อย ให้เดินกลางทุ่งไปเลย"

"ทุกวันนี้เราบล๊อกไม่ให้เด็กเข้าเว็บอันตรายแต่เราไม่เคยบอกเด็กว่าอันตราย ยังไง ผมยอมรับการบล๊อกเว็บไซต์จำเป็นต้องมี แต่ก็น่าจะมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้งานที่ดีๆให้เด็กได้รับทราบด้วย ให้เค้ารู้จักอะไรผิดอะไรถูก เพราะเมื่อถึงเวลานั้นเด็กๆเหล่านี้ก็จะตัดสินใจได้เองว่าควรหรือไม่ควร อย่างไร"

นิรันดร์ได้เข้าไปช่วยงานในลักษณะแบบนี้บ่อยๆ ตามแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงทัศนะว่าในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีความก้าวหน้าในเรื่อง Security มากนัก ซึ่งในระยะใกล้นี้เขาก็มีโครงการที่จะเขียนหนังสือเล่าถึงช่องโหว่ใน เว็บไซต์ที่เขาพบเป็นกรณีศึกษา นอกเหนือจากเรื่องราวของเขาในหน้าเว็บส่วนตัวที่เปิดให้สมาชิกได้อ่านกัน

ยิ่งเข้าไปอ่านงานเขียนของเขาในหน้าเว็บแล้วก็อดอมยิ้มขำ ขำ ไม่ได้กับเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังด้วยภาษาง่ายๆ และได้สัมผัสถึงความน่ารักของนักโจรกรรมข้อมูลคนนี้


ที่มา : http://www.cioforum.in.th/cover_story/cover_story_39page1.php

อ่านเพิ่มเติม...

21.8.09

มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part II)




สวัสดีครับ ในตอนที่แล้ว “มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part I)” เราได้พูดถึงคุณสมบัติของ Server ที่มีผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งในตอนนี้เป็นตอนสุดท้าย หวังว่าบทความที่หามาฝากเพื่อนๆ คงมีประโยชน์ช่วยให้เพื่อนๆสามารถตัดสินใจได้ ว่าจะเลือกใช้ Web Hosting เจ้าไหน ซึ่งก็มีให้เลือกหลายเจ้า เพื่อนๆก็ลองใช้หลักเกณฑ์พวกนี้ตัดสินใจดูครับ 

6. ระบบการสำรองข้อมูล (Backup)
ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ผู้ใช้บริการมักละเลยอยู่เสมอ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดอาจทำให้เกิดการสูญหายของข้อมูลได้ ผู้ให้บริการ Hosting ที่ดีควรมีระบบสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลย้อนหลังได้โดยให้เกิดการสูญหายของข้อมูลน้อยที่สุด หรือไม่สูญหายเลย

7. อัตราค่าบริการ
โดยปรกติอัตราค่าบริการมักจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Server แต่อัตราค่าบริการที่สูงไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพสูงเสมอไป ปัจจุบันการแข่งขันธุรกิจทางด้านการให้บริการHosting นั้นค่อนข้างสูง ของดีราคาถูกจึงมักยังมีให้เลือกใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมากจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมรวมถึงตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นมีค่าติดตั้งหรือค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่

คุณสมบัติการบริการของผู้ให้บริการ Hosting
1. ช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ
ตรวจสอบข้อมูลช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องสามารถติดต่อได้หลายช่องทางรวมถึงเมื่อมีเวลาเกิดปัญหา สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทาง โทรศัพท์เบอร์พื้นฐานโทรศัพท์มือถือ หรือ e-mail โดยหากเป็นทางโทรศัพท์ให้ตรวจสอบว่าสามารถติดต่อได้ในช่วงเวลาใด หรือสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ตรวจสอบว่าเป็นเบอร์ที่สามารถติดต่อได้จริงตามที่ประกาศหรือไม่ หากเป็นทาง e-mail ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการตอบกลับภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งไม่ควรเกิน 1 วัน ปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายรายที่เปิดให้บริการติดต่อโดยการเปิด Shout Box ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ทำให้เมื่อมีปัญหาสามารถได้รับการติดต่อได้ทันที

2. บริการหลังการขาย
เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับงานด้านบริการ ตรวจสอบว่าเวลาที่เกิดปัญหา หรือการติดตามการแก้ไขปัญหานั้น มีการตอบรับ ใส่ใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเพียงใด ซึ่งในกรณีนี้มักมีปัญหากับผู้ที่เลือกใช้บริการ Hosting ที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอาจลำบากในการติดต่อสื่อสาร

3. สถานะของผู้ให้บริการและการรับประกันการคืนเงิน
เพื่อเพิ่มความมั่นใจควรตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจว่า ผู้ให้บริการนั้นมีการจดทะเบียนเชิงพาณิชย์หรือไม่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการจดทะเบียนจะมีการบริการที่ดี แต่เพียงทำให้คุณมั่นใจว่าผู้ให้บริการมีความตั้งใจจริงในการประกอบธุรกิจ Hosting และหากเป็นไปได้ ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีการรับประกันการคืนเงินในกรณีที่ไม่พอใจการใช้บริการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงปัจจัยบางส่วนในการเลือกใช้บริการ Hosting ควรศึกษาอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถใช้บริการได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...

20.8.09

มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part I)




สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ผมก็ใกล้สอบอีกแหละ ก็เลยยุ่งๆมากมาย ไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดทบล๊อกเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาข้อมูลมาอัพเดทเรื่อยๆนะครับ กลัวเพื่อนๆจะรอนาน จากในครั้งที่แล้วผมได้หาข้อมูลเกี่ยวกับความหมายและประเภทของ web hosting มานำเสนอไปแล้ว ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ให้กลับไปอ่านได้ในตอนที่แล้ว โดยคลิ๊กที่นี่เลยครับ “Web Hosting คืออะไร” มาถึงในตอนนี้ ผมได้หาข้อมูลการเลือก Web Hosting สำหรับมือใหม่ ที่ต้องการจะเริ่มทำงานทางด้านเว็บมาสเตอร์จริงๆจังๆ เรามาดูกันว่าขั้นตอนในการพิจารณาเลือก Web Hosting เค้ามีขั้นตอนการตัดสินใจเลือกกันอย่างไร

คำถามอันดับต้นๆ ของผู้ที่จัดทำเว็บไซต์ นอกจากกระบวนการในการจัดทำเว็บไซต์แล้ว การเลือกโฮสติ้ง หรือการเช่าพื้นที่เว็บไซต์เป็นสิ่งที่มักถูกถามอยู่เสมอ และแน่นอนว่าผู้ที่ จะจัดทำเว็บไซต์ควรที่จะศึกษาเพื่อที่จะเลือกโฮสติ้งที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของโฮสติ้งนั้นๆ เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

Hosting คืออะไร

Web Hosting Selection Hosting หรือที่หลายคนอาจจะเรียกเป็น Web Hosting คือ การให้บริการเช่าพื้นที่เว็บไซต์ ให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเว็บไซต์ของตนเองขึ้นไปเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ตโดยทำการเก็บข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ ซึ่งอาจเป็นไฟล์ HTML ,รูปภาพ, วีดีโอ หรือไฟล์ต่างๆไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Web Server ซึ่งจะหน้าที่ให้บริการเพื่อให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางอินเทอร์เน็ทได้ตลอดเวลาการติดตั้ง Web Server ถึงแม้ปัจจุบันจะมีค่าใช้จ่ายไม่ได้สูงมากเท่ากับแต่ก่อน แต่มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับ Server เข้ามาดูแล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากเราต้องการเพียงจัดทำเว็บไซต์ เราคงไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของServer เอง หากเพียงแต่ควรที่จะรู้จักในการเลือกการใช้บริการเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หรือ Hostingให้เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะทำให้ประหยัดทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย เวลาและจำนวนพนักงานได้เป็นอย่างดี

 

ข้อควรคิดก่อนตัดสินใจเลือก Hosting คุณสมบัติของ Server ที่มีผลต่อการใช้งานเว็บไซต์
1. สถานที่ตั้ง
ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณเป็นใคร หากกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนที่อยู่ภายในประเทศ ควรเลือก Hosting ที่อยู่ภายในประเทศ เพราะว่าสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องเข้าถึงข้อมูลในระยะไกลที่ต่างประเทศ แต่หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานต่างประเทศ ควรจะเลือก Hosting ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วแล้ว เมื่อเกิดการขัดข้อง สายสัญญาณระหว่างประเทศไทยกับขาด ก็จะไม่มีผลต่อการเข้าถึงของผู้ใช้งานต่างประเทศซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

2. ระบบปฎิบัติการและ Application พื้นฐาน
ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ต้องการเผยแพร่นั้นต้องการระบบปฏิบัติการใดเพื่อรองรับกับการทำงาน รวมถึงตรวจสอบ Version ของระบบปฏิบัติการและ Application พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ด้วย เพื่อไม่ให้มีปัญหากับการเข้าถึงและการประมวลผลผ่านทางเว็บไซต์ในกรณีที่มีการใช้การโปรแกรมมิ่งด้วยภาษาต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงระบบความปลอดภัยของ Serverซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการ Hosting จะมีให้เลือก 2 ระบบปฏิบัติการด้วยกัน คือ Linux และWindow ซึ่งการที่จะเลือกว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด มีแนวคิดในการเลือก ดังนี้

    2.1 ระบบปฏิบัติการ Window โดยทั่วไปมักติดตั้งเพื่อให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาจากภาษา ASP, ASP.NET, PHP และ JSP มีความต้องการใช้งาน Database MSSQL
    2.2 ระบบปฏิบัติการ Linux โดยทั่วไปมักติดตั้งเพื่อให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาจากภาษา PHP และ JSP มีความต้องการใช้งาน Database MYSQLแนวคิดทั้งสองนี้เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้นทั่วไปในการเลือกระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมหากแต่ไม่ใช่ทุก Hosting จะมีให้บริการตามที่เราต้องการทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบการใช้งานอย่างละเอียด อีกทั้งระบบปฏิบัติการ Window จะมีราคาที่สูงกว่าระบบปฏิบัติการ Linux เนื่องจากมีค่าลิขสิทธิ์ในขณะที่ ระบบปฏิบัติการ Linux ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์เพราะเป็น Opensource

3. ขนาดของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและจำนวนการใช้งาน e-mail
ตรวจสอบและประเมินการใช้พื้นที่ของเว็บไซต์ที่ต้องการเผยแพร่ หากเว็บไซต์มีข้อมูลไม่มากเป็นเว็บไซต์ในลักษณะคงที่หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง (Static Website)ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีเพียงไฟล์ HTML และรูปภาพ หรือไฟล์เอกสารจำนวนไม่มาก พื้นที่ให้บริการขนาดไม่เกิน 100 MB ก็มากพอ แต่ในปัจจุบันการให้บริการ Hosting ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นให้บริการขั้นต่ำอยู่ที่ 300-500 MB หากเป็นเว็บไซต์ที่เป็นลักษณะของการใช้โปรแกรมมิ่ง การใช้ CMS หรือเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเพิ่มเติมข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ(Dynamic Website) หรือมีการเก็บข้อมูลประเภทวีดีโอ ไฟล์เอกสารต่างๆ สำหรับเผยแพร่ควรเลือกพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อรองรับไฟล์ต่างๆสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือเรื่องของการใช้งาน e-mail ตรวจสอบว่าสามารถใช้บริการ e-mailได้เท่าจำนวนที่ต้องการหรือไม่ และโดยปรกติมักจะใช้พื้นที่รวมกับการเก็บไฟล์ข้อมูล หากมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการใช้งาน e-mail เป็นจำนวนมากให้เผื่อสำหรับการใช้งานด้วยเช่นกัน

4.ประสิทธิภาพของเครื่อง Server , ระบบส่งผ่านข้อมูล (Network)และอัตราการหยุดทำงาน (Downtime)
ตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่อง Server ที่ให้บริการว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ โดยตรวจCPU, RAM และขนาด Harddisk เป็นต้น เพราะเป็นส่วนสำคัญในการทำงานและให้บริการของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก หากมีประสิทธิภาพที่ต่ำ จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่ำตามไปด้วยทั้งนี้ควรคำนึงถึงระบบส่งผ่านข้อมูล (Network) ตรวจสอบว่า Hosting ตั้งอยู่ที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet Service Provider : ISP ) รายใด และมีท่อต่อกับอินเทอร์เน็ตขนาดใดหากมีท่อต่อขนาดใหญ่จะช่วยให้มีการรับ–ส่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ไปยังผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เร็วยิ่งขึ้นทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาคู่กัน เพราะจะไม่เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ หากมีเพียง Server ที่มีประสิทธิภาพแต่ขาด Network ที่เร็ว หรือ มี Network ที่เร็วแต่ขาดServer ที่มีประสิทธิภาพ และควรพิจารณาอัตราการหยุดทำงาน (Downtime) ซึ่ง Hostingที่ดีควรมีอัตรา Downtime ที่ต่ำเพื่อให้เข้าถึงเว็บไซต์ได้อยู่ตลอดเวลา

5. จำนวนผู้ใช้บริการต่อเครื่อง Server ที่ให้บริการ และปริมาณข้อมูลที่สามารถรับ-ส่งได้ (Bandwidth)
Server ที่ดีจะจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการเพื่อให้สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้งานแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำนวนผู้ใช้งานจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่อง Serverนั่นเอง นอกจากนี้ควรต้องพิจารณาถึงเรื่องการจำกัดปริมาณข้อมูลที่มีการรับส่งภายในเว็บไซต์ บางแห่งอาจมีกำหนดไว้ แต่บางแห่งไม่จำกัดปริมาณการรับส่ง หรือหากมีการรับส่งที่เกินที่กำหนดจะมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติม

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

โปรดติดตามต่อ “มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part II)”  ซึ่งเป็นตอนจบครับ

อ่านเพิ่มเติม...

18.8.09

Windows Password Forgot | ลืม password ทำงัยดี




Password Forgot

      หลายๆคนคงเคยเจอปัญหาเวลาไม่ได้พิมพ์ password บ่อยๆ หรือว่ามี password เยอะมากจนตัวเองก็จำไม่ได้ว่า password ที่เราเอาไว้ Login เข้าวินโดวน์ของเรานั้น ใช้ password ตัวไหน บางคนแก้ปัญหาด้วยการ format เครื่องเพื่อลงโปรแกรมใหม่ อย่าให้ถึงกระนั้นเลยครับ วันนี้ ผมมีเทคนิคการเข้าวินโดวน์ในกรณีที่เราลืมพาสเวิร์ด 

  1. ทำการ restart เครื่องคอมพิวเตอร์ และพยายามกดปุ่ม F8 (รัวๆเข้าไว้) ก่อนที่มันจะเข้าสู่โหมดของวินโดวน์ปกติ
  2. หลังจากกด F8 แล้ว เราจะเข้าสู่หน้า Text mode มันจะมีหัวข้อให้เลือก ให้เราเลือกไปที่หัวข้อ safe mode แล้วกด enter
  3. หลังจากกด enter แล้วจะมีข้อความขึ้นมา ไม่ต้องสนใจมัน ก่อนเข้าวิโดวน์จะปรากฏ dialog เตือนว่าคุณกำลังทำงานอยู่ในโหมดของ safe mode นะ ก็ให้กด OK ไปตามปกติ
  4. ไปที่ control panel แล้วให้ไปจัดการ User Accouts แล้วทำการ delete password ทิ้งซะ
  5. Restart เครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ก็จะสามารถเข้า windows ได้ตามปกติ โดยไม่ถาม password

    ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ก็ให้ดูที่ Clip VDO นี้ครับ อาจจะเข้าใจมากขึ้น

วิธีเจาะเข้าวิโดวน์ในกรณีที่ลืม password

 

         ผมลองดูที่เครื่องของผมแล้วครับ (Windows XP SP3) ทำได้จริง ก็ลองเอาไปลองใช้กันดู แต่อย่าเอาไปแกล้งคนอื่นหล่ะ ผมว่าบางครั้งเทคนิคการ hack พวกนี้ก็ช่วยให้เรา ทำงานต่อได้ ถ้าเราเอาไปใช้อย่างสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างให้ฟัง ครั้งหนึ่ง ผมเคยรับจ้างทำโปรเจคให้เพื่อนผม โดยผมใช้หลักการของ trojan ในการทำ Alert System คอยเตือนให้ผู้ที่ใช้งานทำการบันทึกข้อมูลก่อนการทำงานถัดไป เดี๋ยววันหลังจะมาอธิบายให้ฟัง ว่ามันทำงานยังงัย เพียงแต่ผมอยากบอกว่า บางครั้งถ้าเรามองหาอีกมุมหนึ่งของด้านมืด เราก็จะพบเส้นทางที่น้อยคน จะเดินมาทางนั้น ตำรวจย่อมรู้จักวิธีการของโจร คิดแบบโจร เพื่อจับโจร

แต่ถ้าทำแล้วยังไม่ work ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือใช้โปรแกรม PC Login Now 2.0 ลองดูนะครับ

วันนี้ของฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน แล้วเจอกันใหม่ครับ

อ่านเพิ่มเติม...

8.8.09

มาติด Hit Counter ให้เว็บกันเหอะ

Hit Counter

       เพื่อนๆหลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง อาจจะมีหลายๆคนพยายามมองหาโค๊ด PHP counter เพื่อนำจำนวนคนที่มาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ของเรา ซึ่งก็มีโค๊ด PHP Hit Counter หลายตัวที่เก็บสถิติจำนวนคนที่เข้ามาชมหน้าเว็บเราลงบน text file บางโค๊ดก็เก็บลงดาต้าเบส ก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ feature ที่ต้องการ

       แต่สำหรับวันนี้ ผมอยากจะแนะนำตัวเก็บสถิติที่เรียกว่า Hit Counter แบบฟรีๆ  ที่มีบริการอยู่ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป ขอย้ำว่าฟรีจริงๆครับ ไม่ได้เสียเงินเสียทองอะไรเลย แถมไม่ต้องมานั่งคอยเช็คด้วยว่าจะเก็บลงดาต้าเบสได้ไหม ส่วนเรื่องความถูกต้อง ก็ใช้ได้เลยครับ ประมาณ 99.999% (หายไปไหนอีก 0.001% หนอ…อิอิ ล้อเล่นหน่ะครับ)

Hit Counter map

       วิธีการสมัครของเข้าใช้บริการ ก็แสนจะง่ายได้ เพียงแค่กรอกสมัครเป็นสมาชิก แล้วเรา code java script ที่เราได้จากการสมัครสมาชิกในแต่ละเว็บไซต์ที่เรานำไปอ้างอิง แล้วก็นำลงมาแปะในหน้าที่เราต้องการให้นับ โดยปกติผมก็จะแปะไว้หน้าแรกเลยครับ โดยให้วางโด๊ด tag html เพียงเท่านี้ จำนวนการเช้าชมเว็บของเรา ก็จะเรานำไปเก็บเป็นสถิติ โดยสถิติที่แสดงให้ดู จะโชว์เป็นรายชั่วโมง และรายวัน  และรวบรวมไว้ให้ดูเป็นกราฟย้อนหลังไปสามสิบวัน ในบางเว็บไซต์ที่ให้บริการ สามารถแสดงได้ด้วยว่า ผู้เข้าชมว่าจากประเทศอะไรบ้าง และในขณะนั้นมีจำนวนผู้เข้าชม online เป็นจำนวนเท่าไหร่

        ส่วนลูกเล่นการแสดงผล ที่หน้าต่างเว็บเรานั้น ก็จะแสดงผลเป็น flash animation ช่วยเพิ่มสีสันของเว็บเราเข้าไปอีก นอกจากนี้เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้บุคคลอื่นทั่วไป สามารถมองเห็นสถิติย้อนหลังไหม เราสามารถตั้งค่าได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับเหล่าบรรดาเว็บมาสเตอร์ทั้งหลาย เพราะหากมีใครถามว่าเว็บไซต์มีจำนวนคนเข้าชมเท่าไหร่ต่อวัน เราสามารถตอบคำถามได้ และยังช่วยให้เราวิเคราะห์จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อีกตั้งหาก

ผมเห็นหลายๆเว็บนะครับที่ติดของ Hitstats.com นะครับ แต่เพื่อนๆหลายคนลืมเอา check box ออก ซึ่งถ้าไม่เอาออกจะทำให้เพื่อนๆคนอื่นเข้าดูสถิติไม่ได้ จะดูได้เฉพาะเจ้าของเว็บคนนั้นเท่านั้น บางทีเราล๊อกอินทิ้งไว้ ก็เลยเข้าได้ปกติ อาจจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจผิดคิดว่าตัว stat นี้ได้โชว์แล้ว แท้จริงมันยังไม่โชว์ครับ ให้เอาออกตามรูปข้างล่างนี่ด้วยครับ จึงจะทำให้ stat ของเพื่อนๆโชว์สู่สายตาสาธารณชนครับ

stat check box        

stat

ก็เป็นทิปเล็กๆน้อยๆที่ผมเอามาเล่าสู่กันฟังครับ หากเพื่อนๆสนใจก็ลองหามาติดเว็บไซต์ดูครับ แต่ละเจ้าที่ให้บริการ ก็มีลูกเล่นที่ต่างๆกันไปในการนำเสนอ สนใจเจ้าไหนก็เลือกกันเลยครับ ฟรีทั้งนั้นครับ ไม่คิดเงิน ใครว่าของฟรีไม่มีในโลก ไม่จริงเลยใช่ไหมครับ วันนี้ขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...
 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger