28.8.09

เจาะใจนักเจาะรหัส HACKER

ช่วงนี้ใกล้สอบเข้ามาทุกที ผมเองก็ยุ่งๆอยู่ บางทีมันก็ยุ่งซะจนไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลังดี พยายามคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรมาลงในบล๊อกดี อยากนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์ อาจจะขอพักเรื่องเกี่ยวกับโปแกรมมิ่งไว้สักพักหนึ่ง เพราะการจะเขียนเรื่องพวกนี้ ต้องทำการทดลองก่อน แล้วค่อยมาเขียนเป็นขั้นตอน ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบค้นหาข้อมูลใน google อย่างมาก ประมาณว่าวันไหน เข้า google ไม่ได้ วันนั้นแหละ maxnet ต้องโดนผมโทรไปทักทายแน่ๆ วันนี้ผมได้ค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนไปเจอบทความบทความหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่ามันมีประโยชน์วันนี้ ก็เลยขอเอามาเก็บไว้ในบล๊อกแห่งนี้บ้าง เพราะจากการค้นหาไปยังแหล่งต้นกำเนิดของข้อความปรากฏว่าเข้าหน้าเพจนั้นไม่ได้แล้ว พอไปค้นหารูปของ Hacker คนนี้ ก้เกือบจะเข้าไม่ได้ ต้องเข้าไปเอาที่ cache ของ google หน่ะครับ สงสัยว่าจะโดนเจ้าของ Hacker ไล่ลบหรือเปล่า ยังงัยๆ ก็อย่ามาลบบล๊อกผมหน่ะพี่ ผมเอาบทความพี่มาเผยแพร่ด้วยความเคารพครับ

เจาะใจนักเจาะรหัส HACKER


แทบจะไม่เคยมีปรากฏการณ์ที่นักโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกตัวเองว่า “แฮกเกอร์” จะยอมเปิดใจอย่างเปลือยเปล่าทั้งเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันเหมือนครั้งนี้ แท้จริงแล้วเขาไม่ใช่บุคคลน่ากลัวและน่ารังเกียจอย่างที่สังคมตั้งข้อหา เพียงแค่มุมมองของเขาอาจจะไม่เหมือนชาวบ้าน ขณะเข้าไปพบโหว่ของบางเว็บไซต์และพยายามชอนไชหาข้อผิดพลาด และจริงหรือไม่ว่าเขาเป็นขบถต่อกฎหมายไอที ขณะร่วมงานกับดีเอสไอเป็นครั้งคราว ติดตามเรื่องราวของแฮกเกอร์หนุ่มที่ใช้ชีวิตอย่างคนปกติกับการงานที่ก้าว หน้า มั่นคง และหลายคนต้องอิจฉาเขา

- แฮกเกอร์ (Hacker)
บางกลุ่มเรียกว่าพวกหมวกขาว (White Hat) จัดอยู่ในฝ่ายธรรมะ เป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์อย่างดีเยี่ยม สามารถค้นพบช่องโหว่และแจ้งเตือนให้เจ้าของระบบได้รับรู้ อีกทั้งยังนิยมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แบ่งปันความรู้ที่ได้และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา

- แครกเกอร์(Cracker)
แครกเกอร์ (Cracker) บางกลุ่มเรียกว่าพวกหมวกดำ (Black Hat) จัดว่าเป็นแฮกเกอร์ฝ่ายอธรรม นิยมใช้ความสามารถเฉพาะตัวไปในทางที่ผิด มีเจตนามุ่งร้าย ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์

- สคริปท์คิดดี้(Script Kiddy)
เป็นพวกน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ แต่กำลังทวีจำนวนเพิ่มขึ้น คนพวกนี้ไม่จำเป็นต้องรู้หรือมีความสามารถมากนัก แต่อาศัยเครื่องไม้เครื่องมือที่หาได้จากเว็บไซต์หรือกระดานสนทนาของกลุ่มแค รกเกอร์มาทดลองใช้ เช่น การแฮกอีเมล์ การแฮกยูสเซอร์มาเล่นเน็ตฟรี

 

เขาหาว่าผมเป็นแฮกเกอร์!!!

 HACKER นิรันดร์ ไชยเดช ภายในออฟฟิศทันสมัยบนตึกสูงย่านถนนอโศก ไม่เพียงการตกแต่งดีไซน์ที่มีรสนิยม อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีของที่นี่เรียกว่าไฮเทคสมกับเป็นผู้ให้บริการงาน ด้าน อินเทอร์เน็ต เอเจนซี ที่มีลูกค้ารายใหญ่ระดับแถวหน้าในตลาดหลายรายเลือกใช้บริการให้ดูแลเว็บไซต์

ผลงานส่วนหนึ่งถูกดูแลโดย นิรันดร์ ไชยเดช (9AuM) หนุ่มทำงานวัย 29 ปี กับตำแหน่ง Senior Web Application Programmer เขาทำงานที่นี่มากว่า 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเรียนไม่สำเร็จแต่ใบรองรับการศึกษาไม่เป็นปัญหา ด้วยเพราะฝีไม้ลายมือที่เจนจัดและหาตัวยากในการเขียนโปรแกรม อาจกล่าวได้ว่านิรันดร์เป็นนักโปรแกรมเมอร์ที่ใครหลายคนให้การยอมรับ

ตอนนี้หน้าที่ของผมคือการเขียนโปรแกรม ดูแลน้องๆ โปรแกรมเมอร์ที่เข้ามาใหม่ แนะนำเขาแต่ถ้ามีงานด่วนๆ ผมก็จะลงมือเอง ลูกค้าที่ผมดูแล ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่อยู่กันมานาน คือทำงานและไว้ใจกัน ให้ช่วยดูแลในหลายๆเรื่องตั้งแต่งานด้านหน้าเว็บไซต์ งานระบบด้านหลัง การรักษาความปลอดภัย จนถึงในการเลือกสื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

ตามปกติแล้วงานทำเว็บไซต์ต้องแยกหน้าที่ให้ชัดเจน เหมือนกับที่บริษัทผมทำคือ มีโปรแกรมเมอร์ มีดีไซเนอร์ มีเว็บมาสเตอร์ และเอดิเตอร์ 4 คนนี้ควรจะมีเพื่อทำให้งานเป็นระบบและทำให้เรื่องที่ตัวเองถนัด

นิรันดร์เล่าให้ฟังว่า จุดเบี่ยงเบนที่ทำให้เขาหันมาสนใจเรื่องเทคโนโลยีเริ่มขึ้นขณะที่เขากำลัง เรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 2 เมื่อได้ไปหยิบหนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์มาอ่าน ด้วยความเป็นเด็กที่ชอบประดิษฐ์สิ่งของอยู่แล้ว นิรันดร์จึงบอกกับครอบครัวว่าเขาอยากเรียนต่อทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และสอบ เข้าสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้ในเวลาต่อมา

แต่ก็มาพบกับจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เพราะคณะดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่ปูพื้นฐานการเรียนรู้ให้นักศึกษายึดอาชีพ ครูถ่ายทอดวิชาด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเขาเองไม่ถนัดกับอาชีพนี้ นิรันดร์จึงบอกกับตัวเองเขาน่าจะทำงานที่เข้ากับนิสัยและความชอบของตัวเอง ได้

"ผมชอบและดีใจที่ได้เรียนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่นี่ได้สอนให้ผมกล้าคิดกล้าแสดงออก และทำให้ผมสามารถนำความคิดและความรู้ของตัวเองออกไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้"

เพียงแต่ในตอนนั้นผมมองว่าผมจะมีช่องทางไหนบ้างที่ไม่ต้องยึดติดกับอาชีพที่เกี่ยวกับด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
"พอผมเรียนปี 3 อาจารย์ให้ไปเซ็ตระบบ Lan ในห้องไฟฟ้า ผมรู้สึกทันทีว่าชอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เรียนให้พอผ่านๆ ได้เกรด C บ้าง B บ้างไปตามเรื่องไม่ให้สอบตก เวลาว่างปุ๊บจะมานั่งจับคอมพิวเตอร์ พอขึ้นปี 4 ชาวบ้านเขาไปเรียนกัน เราก็นั่งจับคอม เขียนเว็บ"

ตอนนั้นยังไม่ได้มีเรื่องแฮกเกอร์เข้ามาในหัวเลย เขียนเว็บอย่างเดียวเพราะเรารู้สึกว่า เด็กมหาลัยอื่นเขียนได้ เราก็ต้องเขียนได้ ในใจคิดแค่นี้เอง

และช่วงที่นิรันดร์ได้มาสัมผัสกับคำว่า "แฮกเกอร์" ก็เมื่อเขาเรียนอยู่ปลายปี 4 ขณะเริ่มทำงานได้ 3 เดือน โลกทัศน์ของการทำงานเปิดหูเปิดตาให้เขากว้างขวางขึ้น และนิสัยส่วนตัวที่ชอบใฝ่รู้ถึงที่มาหรือต้นตอ ซึ่ง นิรันดร์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า หากเขาจะทำเว็บบอร์ดขึ้นมา เขาก็ต้องรู้ทุกอย่างว่าทำยังไง ระบบส่วนนี้ทำงานอย่างไร มีไฟล์ไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง และแต่ละไฟล์ทำหน้าที่อะไร ผิดกับเด็กสมัยนี้ที่รู้อะไรไม่ลึกซึ้งในสิ่งที่ตนพัฒนา

ความซนของเขาทำให้เริ่มรู้ปัญหาหรือช่องโหว่ของเว็บไซต์ นิรันดร์จึงเริ่มเข้าไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่คิดว่าน่าจะมีปัญหาเหมือนกัน เพื่อศึกษาถึงที่มาของปัญหา และทำให้เขาได้ขยับตัวเองเป็น "แฮกเกอร์" เข้าไปทุกที

• ปฏิบัติการHack

มีบางคนกล่าวกันว่าแฮกเกอร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกโปรแกรมเมอร์ หรือผู้ดูแลระบบ (System Admin) เสียเอง เพราะคนกลุ่มนี้จะเชี่ยวชาญและคลุกคลีอยู่กับการเขียนโปรแกรมและดูแลระบบ นิรันดร์เล่าถึงเพื่อนสนิทในกลุ่มของเขาที่มีอยู่ประมาณ 3-4 คน ให้ฟังว่า ช่วงก่อนที่จะมีการก่อตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อนของเขาสามารถเข้าไปในเว็บที่ให้บริการตัดบัตรเครดิต (payment gateway) เพื่อเข้าไปเอาหมายเลขบัตรเครดิตมาสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ต่างประเทศ ร่วม 10 แห่ง โดยที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ของตัวเองเลยสักบาท

"ถ้าทำตอนนี้ก็คงโดนแล้ว ช่วงนั้นถ้าใครอยากได้อะไรให้บอกเลย อยากได้หนังสือ อยากได้ CD ก็สั่งได้เลยของทุกอย่างส่งตรงจากต่างประเทศถึงบ้านไม่มีใครรู้ ไม่มีใครมาตามจับ จนพักหลังมันเริ่มรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็เลิกกัน ไปเอง แต่ตอนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย"

"ช่วงหลังผมก็เข้าไปในเว็บใต้ดิน ถ้าผมแนะนำให้คนไปสมัครในเว็บนี้จะได้เปอร์เซ็นต์ประมาณ 10 เหรียญฯ แต่ด้วยความที่เราไม่รู้จะแนะนำให้ใครมาสมัครต่อ ยอดเงินมันก็ไม่เพิ่ม ผมก็เลยเข้าไปดูระบบของเขาว่ารันบนระบบอะไร แล้วผมก็เปลี่ยนตัวเองไปเป็นยูสเซอร์ที่ทำเงินได้เยอะมากเข้าไปแก้ไขข้อมูล ส่วนตัวเป็นข้อมูลของเรา ตอนนั้นถ้าทำสำเร็จเงินล้านจะเข้าวิ่งมาที่บ้านเพื่อนผม"

ครั้งนั้นไม่สำเร็จและยังถูกเจ้าของเว็บไซต์ส่งเมล์ถึงเขา แต่ไม่ใช่การต่อว่าหรือเอาเรื่องกับนิรันดร์ กลับเป็นการตะลึงในฝีมือของเด็กหนุ่มที่ทำได้ยังไงกัน รวมถึงการเสนอให้เขารับงานแฮกข้อมูลของยูสเซอร์ในเว็บไซต์ต่างประเทศ เพียงต้องการแค่ชื่อและอีเมล์จำนวน 400 ชื่อ นิรันดร์ยังจำเหตุการณ์นั้นได้ เขาได้รับเงินโอนเข้ามาในบัญชีประมาณ 500 เหรียญฯ ก่อนหน้าที่เขาจะเขียนโปรแกรมเข้าไปรันในโฮสต์และได้รายชื่อพร้อมกับอีเมล์ ส่งให้

"ส่งแค่รายชื่อกับอีเมล์แค่นั้น ผมก็ยังงงว่าจะเอาอีเมล์ไปทำอะไร แต่เขาก็บอกว่ามันมีค่านะ ถ้าไปทำ สแปมกับเรื่องที่สนใจมันจะเกิดการซื้อขายกันขึ้นมา พวกนี้มีเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายกัน"

ในยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่แพร่หลายโปรแกรมไอซีคิวกำลังดัง นิรันดร์เล่าว่า คนที่ใช้ไอซีคิวส่วนใหญ่ต้องการเลขสมาชิกสวยๆ ยิ่งใครได้เลขน้อยหลักก็ยิ่งเจ๋ง นิรันดร์ลงมือจัดการกับเรื่องนี้ ด้วยการไล่แฮกคนที่มีเลขสมาชิกสวยๆ ซึ่งตัวเขาเองก็มีเลขสมาชิก 6789... ด้วยการเขียนโปรแกรมไล่สุ่มรหัสผ่าน ตอนนั้นได้เบอร์ไอซีคิวมา 2,000-3,000 เบอร์ ก็ไล่แจกกันในห้อง IRC และเริ่มทำกำไรด้วยการขายไอซีคิวเบอร์สวยๆ เบอร์ละ 700-800 บาท เขาบอกว่าตอนนั้นได้เงินมาประมาณ 2,000-3,000 บาท

"เงินมันร้อนที่ได้มาง่ายก็หมดเร็วเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องสนุกๆ กันมากกว่าตามวัย อีกช่วงหนึ่งคือตอนนั้นเว็บโป๊กำลังเริ่มดัง เห็นเพื่อนเล่นผมก็เล่นบ้าง แต่เราแค่ไปสมัครเว็บขายแบนเนอร์คือ เราแค่แนะนำใครที่เข้ามาสมัครผ่านไอดีของเรา เราจะได้ค่าลงทะเบียนละ 30 เหรียญฯ"

"ผมก็เขียนโปรแกรมให้โปรแกรมออโต้ โพสต์ ไปว่า มีเว็บมาแนะนำ โพสต์ไป 200-300 เว็บต่อวัน มีคนส่งกลับมาลงทะเบียนตามไอดีของเรา ช่วงนั้นได้เงินประมาณหลักแสนนะ เงินที่ได้มามันก็ละลายไปกับการซื้อของ ซื้อหนังสือ ซื้อคอมพิวเตอร์ ดีว่าตัวเองไม่ได้เอาเงินไปเที่ยวเตร่"

ปัจจุบันนิรันดร์เลิกพฤติกรรมแบบเดิมๆ เพียงแต่เขายังเข้าไปศึกษาเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อศึกษาถึงช่องโหว่ของแต่ละเว็บไซต์ เมื่อพบแล้วเขาก็จะแจ้งให้ทางเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์นั้นรู้ตัว ก่อนที่จะโดนแฮกเกอร์รายอื่นลองของ

"ที่ผมพบกับตัวเองเป็นเว็บไซต์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งผมยังอึ้งกับนักพัฒนาของเขาที่เขียนโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์หลายภาษามาก เพราะโอกาสที่แอพลิเคชั่นมีปัญหาเป็นไปได้ค่อนข้างสูง แล้วผมก็รู้ว่าเว็บไซต์ธนาคารแห่งนี้หลุดหลายครั้งมาก มีแฮกเกอร์เข้าไปแก้เรื่องวงเงินของบัตรเครดิต เรื่องบัญชีธนาคาร แต่ผมไม่รู้รายละเอียดนะเรื่องนี้

"ตัวผมเองเข้าไปหาก็ยังพบว่าหลุดแต่ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนัก แค่ผมรู้หมายเลขบัตรเครดิตของคนที่ใช้ธนาคารแห่งนี้ ผมก็สามารถรู้วงเงินของเขา แล้วก็รู้ว่าเขาใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว แต่เราไม่สามารถไปใช้อะไรได้ แค่รู้อย่างเดียว ถามว่ามันอันตรายไหม ผมว่ามันอันตรายนะที่ให้คนอื่นมารู้โปรไฟล์ส่วนตัวของเรา"

ล่าสุดกรณีความวุ่นวายของโอเน็ต-เอเน็ตที่มีปัญหาในเรื่องการแจ้งผลการสอบ นิรันดร์ได้เข้าไปศึกษาถึงระบบในเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนเช็คผลการสอบด้วยการ ใช้หมายเลขบัตรประชาชนลิงค์กับหน้าที่แสดงผล เขาเขียนโปรแกรมขอเก็บเลขหมายบัตรประชาชนของคนที่สมัครภายใน 8 ชั่วโมงได้รายชื่อและหมายเลขบัตรทั้งหมดกว่า 3 แสนราย ทำให้เห็นว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมนี้มีช่องโหว่ ซึ่งการครอบครองฐานข้อมูลลักษณะนี้อาจนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ แต่นิรันดร์เพียงต้องการศึกษาถึงช่องโหว่ของเว็บไซต์เท่านั้น

"สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ถ้าคุณเขียนโปรแกรม เขียนเว็บแอพลิเคชั่นแล้วมีบัคขึ้นมา ผมก็ตามไปดู มันหมดอารมณ์ที่จะไปทำลายเว็บชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นเมื่อ 2-3 ปีก่อนถ้าเจอแบบนี้ก็อาจจะเข้าไปแก้ไขและเป็นที่รู้กันว่า �ฉันทำได้� ในกลุ่มจะรู้กัน บางคนจะส่งลิสต์เข้ามา 10-20 เว็บว่า นี่ฝีมือฉันนะที่เข้าไปเปลี่ยน ไม่ใช่ต้องการกลั่นแกล้งแต่เป็นเหมือนการลองของ ช่วงนั้นมีการเก็บสถิติกันเลยว่าใครทำที่ไหนได้บ้าง แต่ทุกวันนี้ทุกคนรู้ว่าเว็บไหนมีช่องโหว่แล้วก็จบ รู้กันแค่นี้"

นิรันดร์มองว่าโปรแกรมเมอร์ที่ดี นอกจากเขียนโปรแกรมเพื่อการใช้งานได้แล้วยังต้องรู้จักการเขียนโปรแกรมเพื่อ ทำลายระบบตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้รู้ช่วงโหว่ของระบบนั้นๆ แต่ทุกวันนี้ไม่ค่อยมีโปรแกรมเมอร์แบบนี้ทำกันเท่าไหร่นัก จึงมีแต่พวกแฮกเกอร์ที่เข้ามาทำลายระบบเสียเอง

• มุมมองต่อการบล๊อกเว็บไซด์

ส่วนปัญหาเรื่องการเข้าไปในเว็บไซต์ไม่เหมาะสมนั้น นิรันดร์มองว่าน่าจะเป็นเรื่องจิตสำนึกของคนมากกว่า การบล็อกเว็บไซต์คงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก

. "เพราะบางทีผมต้องการเข้าไปดูข้อมูล แต่ปรากฏว่าเว็บโดนบล๊อก เปิดไปเจอตาทิพย์เข้าให้ ผมคิดว่าถูกแล้วเหรอที่จะไปจำกัดสิทธิส่วนตัวของคนอื่น ทุกวันนี้เหมือนกับเราพยายามล้อมคอกวัว แต่ส่วนตัวผมมองว่าทำไมเราไม่ฉีดวัคซีนให้กับวัวให้มีภูมิคุ้มกันแล้วปล่อย ให้เดินกลางทุ่งไปเลย"

"ทุกวันนี้เราบล๊อกไม่ให้เด็กเข้าเว็บอันตรายแต่เราไม่เคยบอกเด็กว่าอันตราย ยังไง ผมยอมรับการบล๊อกเว็บไซต์จำเป็นต้องมี แต่ก็น่าจะมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้งานที่ดีๆให้เด็กได้รับทราบด้วย ให้เค้ารู้จักอะไรผิดอะไรถูก เพราะเมื่อถึงเวลานั้นเด็กๆเหล่านี้ก็จะตัดสินใจได้เองว่าควรหรือไม่ควร อย่างไร"

นิรันดร์ได้เข้าไปช่วยงานในลักษณะแบบนี้บ่อยๆ ตามแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงทัศนะว่าในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีความก้าวหน้าในเรื่อง Security มากนัก ซึ่งในระยะใกล้นี้เขาก็มีโครงการที่จะเขียนหนังสือเล่าถึงช่องโหว่ใน เว็บไซต์ที่เขาพบเป็นกรณีศึกษา นอกเหนือจากเรื่องราวของเขาในหน้าเว็บส่วนตัวที่เปิดให้สมาชิกได้อ่านกัน

ยิ่งเข้าไปอ่านงานเขียนของเขาในหน้าเว็บแล้วก็อดอมยิ้มขำ ขำ ไม่ได้กับเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังด้วยภาษาง่ายๆ และได้สัมผัสถึงความน่ารักของนักโจรกรรมข้อมูลคนนี้


ที่มา : http://www.cioforum.in.th/cover_story/cover_story_39page1.php

อ่านเพิ่มเติม...

21.8.09

มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part II)




สวัสดีครับ ในตอนที่แล้ว “มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part I)” เราได้พูดถึงคุณสมบัติของ Server ที่มีผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งในตอนนี้เป็นตอนสุดท้าย หวังว่าบทความที่หามาฝากเพื่อนๆ คงมีประโยชน์ช่วยให้เพื่อนๆสามารถตัดสินใจได้ ว่าจะเลือกใช้ Web Hosting เจ้าไหน ซึ่งก็มีให้เลือกหลายเจ้า เพื่อนๆก็ลองใช้หลักเกณฑ์พวกนี้ตัดสินใจดูครับ 

6. ระบบการสำรองข้อมูล (Backup)
ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ผู้ใช้บริการมักละเลยอยู่เสมอ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดอาจทำให้เกิดการสูญหายของข้อมูลได้ ผู้ให้บริการ Hosting ที่ดีควรมีระบบสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลย้อนหลังได้โดยให้เกิดการสูญหายของข้อมูลน้อยที่สุด หรือไม่สูญหายเลย

7. อัตราค่าบริการ
โดยปรกติอัตราค่าบริการมักจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Server แต่อัตราค่าบริการที่สูงไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพสูงเสมอไป ปัจจุบันการแข่งขันธุรกิจทางด้านการให้บริการHosting นั้นค่อนข้างสูง ของดีราคาถูกจึงมักยังมีให้เลือกใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมากจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมรวมถึงตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นมีค่าติดตั้งหรือค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่

คุณสมบัติการบริการของผู้ให้บริการ Hosting
1. ช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ
ตรวจสอบข้อมูลช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องสามารถติดต่อได้หลายช่องทางรวมถึงเมื่อมีเวลาเกิดปัญหา สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทาง โทรศัพท์เบอร์พื้นฐานโทรศัพท์มือถือ หรือ e-mail โดยหากเป็นทางโทรศัพท์ให้ตรวจสอบว่าสามารถติดต่อได้ในช่วงเวลาใด หรือสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ตรวจสอบว่าเป็นเบอร์ที่สามารถติดต่อได้จริงตามที่ประกาศหรือไม่ หากเป็นทาง e-mail ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการตอบกลับภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งไม่ควรเกิน 1 วัน ปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายรายที่เปิดให้บริการติดต่อโดยการเปิด Shout Box ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชม. ทำให้เมื่อมีปัญหาสามารถได้รับการติดต่อได้ทันที

2. บริการหลังการขาย
เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับงานด้านบริการ ตรวจสอบว่าเวลาที่เกิดปัญหา หรือการติดตามการแก้ไขปัญหานั้น มีการตอบรับ ใส่ใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเพียงใด ซึ่งในกรณีนี้มักมีปัญหากับผู้ที่เลือกใช้บริการ Hosting ที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอาจลำบากในการติดต่อสื่อสาร

3. สถานะของผู้ให้บริการและการรับประกันการคืนเงิน
เพื่อเพิ่มความมั่นใจควรตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจว่า ผู้ให้บริการนั้นมีการจดทะเบียนเชิงพาณิชย์หรือไม่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการจดทะเบียนจะมีการบริการที่ดี แต่เพียงทำให้คุณมั่นใจว่าผู้ให้บริการมีความตั้งใจจริงในการประกอบธุรกิจ Hosting และหากเป็นไปได้ ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีการรับประกันการคืนเงินในกรณีที่ไม่พอใจการใช้บริการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงปัจจัยบางส่วนในการเลือกใช้บริการ Hosting ควรศึกษาอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถใช้บริการได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...

20.8.09

มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part I)




สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ผมก็ใกล้สอบอีกแหละ ก็เลยยุ่งๆมากมาย ไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดทบล๊อกเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาข้อมูลมาอัพเดทเรื่อยๆนะครับ กลัวเพื่อนๆจะรอนาน จากในครั้งที่แล้วผมได้หาข้อมูลเกี่ยวกับความหมายและประเภทของ web hosting มานำเสนอไปแล้ว ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ให้กลับไปอ่านได้ในตอนที่แล้ว โดยคลิ๊กที่นี่เลยครับ “Web Hosting คืออะไร” มาถึงในตอนนี้ ผมได้หาข้อมูลการเลือก Web Hosting สำหรับมือใหม่ ที่ต้องการจะเริ่มทำงานทางด้านเว็บมาสเตอร์จริงๆจังๆ เรามาดูกันว่าขั้นตอนในการพิจารณาเลือก Web Hosting เค้ามีขั้นตอนการตัดสินใจเลือกกันอย่างไร

คำถามอันดับต้นๆ ของผู้ที่จัดทำเว็บไซต์ นอกจากกระบวนการในการจัดทำเว็บไซต์แล้ว การเลือกโฮสติ้ง หรือการเช่าพื้นที่เว็บไซต์เป็นสิ่งที่มักถูกถามอยู่เสมอ และแน่นอนว่าผู้ที่ จะจัดทำเว็บไซต์ควรที่จะศึกษาเพื่อที่จะเลือกโฮสติ้งที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของโฮสติ้งนั้นๆ เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

Hosting คืออะไร

Web Hosting Selection Hosting หรือที่หลายคนอาจจะเรียกเป็น Web Hosting คือ การให้บริการเช่าพื้นที่เว็บไซต์ ให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเว็บไซต์ของตนเองขึ้นไปเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ตโดยทำการเก็บข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ ซึ่งอาจเป็นไฟล์ HTML ,รูปภาพ, วีดีโอ หรือไฟล์ต่างๆไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Web Server ซึ่งจะหน้าที่ให้บริการเพื่อให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางอินเทอร์เน็ทได้ตลอดเวลาการติดตั้ง Web Server ถึงแม้ปัจจุบันจะมีค่าใช้จ่ายไม่ได้สูงมากเท่ากับแต่ก่อน แต่มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับ Server เข้ามาดูแล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากเราต้องการเพียงจัดทำเว็บไซต์ เราคงไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของServer เอง หากเพียงแต่ควรที่จะรู้จักในการเลือกการใช้บริการเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หรือ Hostingให้เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะทำให้ประหยัดทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย เวลาและจำนวนพนักงานได้เป็นอย่างดี

 

ข้อควรคิดก่อนตัดสินใจเลือก Hosting คุณสมบัติของ Server ที่มีผลต่อการใช้งานเว็บไซต์
1. สถานที่ตั้ง
ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณเป็นใคร หากกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนที่อยู่ภายในประเทศ ควรเลือก Hosting ที่อยู่ภายในประเทศ เพราะว่าสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องเข้าถึงข้อมูลในระยะไกลที่ต่างประเทศ แต่หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานต่างประเทศ ควรจะเลือก Hosting ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วแล้ว เมื่อเกิดการขัดข้อง สายสัญญาณระหว่างประเทศไทยกับขาด ก็จะไม่มีผลต่อการเข้าถึงของผู้ใช้งานต่างประเทศซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

2. ระบบปฎิบัติการและ Application พื้นฐาน
ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ต้องการเผยแพร่นั้นต้องการระบบปฏิบัติการใดเพื่อรองรับกับการทำงาน รวมถึงตรวจสอบ Version ของระบบปฏิบัติการและ Application พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ด้วย เพื่อไม่ให้มีปัญหากับการเข้าถึงและการประมวลผลผ่านทางเว็บไซต์ในกรณีที่มีการใช้การโปรแกรมมิ่งด้วยภาษาต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงระบบความปลอดภัยของ Serverซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการ Hosting จะมีให้เลือก 2 ระบบปฏิบัติการด้วยกัน คือ Linux และWindow ซึ่งการที่จะเลือกว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด มีแนวคิดในการเลือก ดังนี้

    2.1 ระบบปฏิบัติการ Window โดยทั่วไปมักติดตั้งเพื่อให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาจากภาษา ASP, ASP.NET, PHP และ JSP มีความต้องการใช้งาน Database MSSQL
    2.2 ระบบปฏิบัติการ Linux โดยทั่วไปมักติดตั้งเพื่อให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาจากภาษา PHP และ JSP มีความต้องการใช้งาน Database MYSQLแนวคิดทั้งสองนี้เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้นทั่วไปในการเลือกระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมหากแต่ไม่ใช่ทุก Hosting จะมีให้บริการตามที่เราต้องการทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบการใช้งานอย่างละเอียด อีกทั้งระบบปฏิบัติการ Window จะมีราคาที่สูงกว่าระบบปฏิบัติการ Linux เนื่องจากมีค่าลิขสิทธิ์ในขณะที่ ระบบปฏิบัติการ Linux ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์เพราะเป็น Opensource

3. ขนาดของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและจำนวนการใช้งาน e-mail
ตรวจสอบและประเมินการใช้พื้นที่ของเว็บไซต์ที่ต้องการเผยแพร่ หากเว็บไซต์มีข้อมูลไม่มากเป็นเว็บไซต์ในลักษณะคงที่หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง (Static Website)ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีเพียงไฟล์ HTML และรูปภาพ หรือไฟล์เอกสารจำนวนไม่มาก พื้นที่ให้บริการขนาดไม่เกิน 100 MB ก็มากพอ แต่ในปัจจุบันการให้บริการ Hosting ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นให้บริการขั้นต่ำอยู่ที่ 300-500 MB หากเป็นเว็บไซต์ที่เป็นลักษณะของการใช้โปรแกรมมิ่ง การใช้ CMS หรือเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเพิ่มเติมข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ(Dynamic Website) หรือมีการเก็บข้อมูลประเภทวีดีโอ ไฟล์เอกสารต่างๆ สำหรับเผยแพร่ควรเลือกพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อรองรับไฟล์ต่างๆสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือเรื่องของการใช้งาน e-mail ตรวจสอบว่าสามารถใช้บริการ e-mailได้เท่าจำนวนที่ต้องการหรือไม่ และโดยปรกติมักจะใช้พื้นที่รวมกับการเก็บไฟล์ข้อมูล หากมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการใช้งาน e-mail เป็นจำนวนมากให้เผื่อสำหรับการใช้งานด้วยเช่นกัน

4.ประสิทธิภาพของเครื่อง Server , ระบบส่งผ่านข้อมูล (Network)และอัตราการหยุดทำงาน (Downtime)
ตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่อง Server ที่ให้บริการว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ โดยตรวจCPU, RAM และขนาด Harddisk เป็นต้น เพราะเป็นส่วนสำคัญในการทำงานและให้บริการของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก หากมีประสิทธิภาพที่ต่ำ จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่ำตามไปด้วยทั้งนี้ควรคำนึงถึงระบบส่งผ่านข้อมูล (Network) ตรวจสอบว่า Hosting ตั้งอยู่ที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet Service Provider : ISP ) รายใด และมีท่อต่อกับอินเทอร์เน็ตขนาดใดหากมีท่อต่อขนาดใหญ่จะช่วยให้มีการรับ–ส่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ไปยังผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เร็วยิ่งขึ้นทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาคู่กัน เพราะจะไม่เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ หากมีเพียง Server ที่มีประสิทธิภาพแต่ขาด Network ที่เร็ว หรือ มี Network ที่เร็วแต่ขาดServer ที่มีประสิทธิภาพ และควรพิจารณาอัตราการหยุดทำงาน (Downtime) ซึ่ง Hostingที่ดีควรมีอัตรา Downtime ที่ต่ำเพื่อให้เข้าถึงเว็บไซต์ได้อยู่ตลอดเวลา

5. จำนวนผู้ใช้บริการต่อเครื่อง Server ที่ให้บริการ และปริมาณข้อมูลที่สามารถรับ-ส่งได้ (Bandwidth)
Server ที่ดีจะจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการเพื่อให้สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้งานแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำนวนผู้ใช้งานจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่อง Serverนั่นเอง นอกจากนี้ควรต้องพิจารณาถึงเรื่องการจำกัดปริมาณข้อมูลที่มีการรับส่งภายในเว็บไซต์ บางแห่งอาจมีกำหนดไว้ แต่บางแห่งไม่จำกัดปริมาณการรับส่ง หรือหากมีการรับส่งที่เกินที่กำหนดจะมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติม

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

โปรดติดตามต่อ “มือใหม่หัดเลือก Web Hosting (Part II)”  ซึ่งเป็นตอนจบครับ

อ่านเพิ่มเติม...

18.8.09

Windows Password Forgot | ลืม password ทำงัยดี




Password Forgot

      หลายๆคนคงเคยเจอปัญหาเวลาไม่ได้พิมพ์ password บ่อยๆ หรือว่ามี password เยอะมากจนตัวเองก็จำไม่ได้ว่า password ที่เราเอาไว้ Login เข้าวินโดวน์ของเรานั้น ใช้ password ตัวไหน บางคนแก้ปัญหาด้วยการ format เครื่องเพื่อลงโปรแกรมใหม่ อย่าให้ถึงกระนั้นเลยครับ วันนี้ ผมมีเทคนิคการเข้าวินโดวน์ในกรณีที่เราลืมพาสเวิร์ด 

  1. ทำการ restart เครื่องคอมพิวเตอร์ และพยายามกดปุ่ม F8 (รัวๆเข้าไว้) ก่อนที่มันจะเข้าสู่โหมดของวินโดวน์ปกติ
  2. หลังจากกด F8 แล้ว เราจะเข้าสู่หน้า Text mode มันจะมีหัวข้อให้เลือก ให้เราเลือกไปที่หัวข้อ safe mode แล้วกด enter
  3. หลังจากกด enter แล้วจะมีข้อความขึ้นมา ไม่ต้องสนใจมัน ก่อนเข้าวิโดวน์จะปรากฏ dialog เตือนว่าคุณกำลังทำงานอยู่ในโหมดของ safe mode นะ ก็ให้กด OK ไปตามปกติ
  4. ไปที่ control panel แล้วให้ไปจัดการ User Accouts แล้วทำการ delete password ทิ้งซะ
  5. Restart เครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ก็จะสามารถเข้า windows ได้ตามปกติ โดยไม่ถาม password

    ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ก็ให้ดูที่ Clip VDO นี้ครับ อาจจะเข้าใจมากขึ้น

วิธีเจาะเข้าวิโดวน์ในกรณีที่ลืม password

 

         ผมลองดูที่เครื่องของผมแล้วครับ (Windows XP SP3) ทำได้จริง ก็ลองเอาไปลองใช้กันดู แต่อย่าเอาไปแกล้งคนอื่นหล่ะ ผมว่าบางครั้งเทคนิคการ hack พวกนี้ก็ช่วยให้เรา ทำงานต่อได้ ถ้าเราเอาไปใช้อย่างสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างให้ฟัง ครั้งหนึ่ง ผมเคยรับจ้างทำโปรเจคให้เพื่อนผม โดยผมใช้หลักการของ trojan ในการทำ Alert System คอยเตือนให้ผู้ที่ใช้งานทำการบันทึกข้อมูลก่อนการทำงานถัดไป เดี๋ยววันหลังจะมาอธิบายให้ฟัง ว่ามันทำงานยังงัย เพียงแต่ผมอยากบอกว่า บางครั้งถ้าเรามองหาอีกมุมหนึ่งของด้านมืด เราก็จะพบเส้นทางที่น้อยคน จะเดินมาทางนั้น ตำรวจย่อมรู้จักวิธีการของโจร คิดแบบโจร เพื่อจับโจร

แต่ถ้าทำแล้วยังไม่ work ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือใช้โปรแกรม PC Login Now 2.0 ลองดูนะครับ

วันนี้ของฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน แล้วเจอกันใหม่ครับ

อ่านเพิ่มเติม...

8.8.09

มาติด Hit Counter ให้เว็บกันเหอะ

Hit Counter

       เพื่อนๆหลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง อาจจะมีหลายๆคนพยายามมองหาโค๊ด PHP counter เพื่อนำจำนวนคนที่มาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ของเรา ซึ่งก็มีโค๊ด PHP Hit Counter หลายตัวที่เก็บสถิติจำนวนคนที่เข้ามาชมหน้าเว็บเราลงบน text file บางโค๊ดก็เก็บลงดาต้าเบส ก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ feature ที่ต้องการ

       แต่สำหรับวันนี้ ผมอยากจะแนะนำตัวเก็บสถิติที่เรียกว่า Hit Counter แบบฟรีๆ  ที่มีบริการอยู่ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป ขอย้ำว่าฟรีจริงๆครับ ไม่ได้เสียเงินเสียทองอะไรเลย แถมไม่ต้องมานั่งคอยเช็คด้วยว่าจะเก็บลงดาต้าเบสได้ไหม ส่วนเรื่องความถูกต้อง ก็ใช้ได้เลยครับ ประมาณ 99.999% (หายไปไหนอีก 0.001% หนอ…อิอิ ล้อเล่นหน่ะครับ)

Hit Counter map

       วิธีการสมัครของเข้าใช้บริการ ก็แสนจะง่ายได้ เพียงแค่กรอกสมัครเป็นสมาชิก แล้วเรา code java script ที่เราได้จากการสมัครสมาชิกในแต่ละเว็บไซต์ที่เรานำไปอ้างอิง แล้วก็นำลงมาแปะในหน้าที่เราต้องการให้นับ โดยปกติผมก็จะแปะไว้หน้าแรกเลยครับ โดยให้วางโด๊ด tag html เพียงเท่านี้ จำนวนการเช้าชมเว็บของเรา ก็จะเรานำไปเก็บเป็นสถิติ โดยสถิติที่แสดงให้ดู จะโชว์เป็นรายชั่วโมง และรายวัน  และรวบรวมไว้ให้ดูเป็นกราฟย้อนหลังไปสามสิบวัน ในบางเว็บไซต์ที่ให้บริการ สามารถแสดงได้ด้วยว่า ผู้เข้าชมว่าจากประเทศอะไรบ้าง และในขณะนั้นมีจำนวนผู้เข้าชม online เป็นจำนวนเท่าไหร่

        ส่วนลูกเล่นการแสดงผล ที่หน้าต่างเว็บเรานั้น ก็จะแสดงผลเป็น flash animation ช่วยเพิ่มสีสันของเว็บเราเข้าไปอีก นอกจากนี้เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้บุคคลอื่นทั่วไป สามารถมองเห็นสถิติย้อนหลังไหม เราสามารถตั้งค่าได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับเหล่าบรรดาเว็บมาสเตอร์ทั้งหลาย เพราะหากมีใครถามว่าเว็บไซต์มีจำนวนคนเข้าชมเท่าไหร่ต่อวัน เราสามารถตอบคำถามได้ และยังช่วยให้เราวิเคราะห์จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อีกตั้งหาก

ผมเห็นหลายๆเว็บนะครับที่ติดของ Hitstats.com นะครับ แต่เพื่อนๆหลายคนลืมเอา check box ออก ซึ่งถ้าไม่เอาออกจะทำให้เพื่อนๆคนอื่นเข้าดูสถิติไม่ได้ จะดูได้เฉพาะเจ้าของเว็บคนนั้นเท่านั้น บางทีเราล๊อกอินทิ้งไว้ ก็เลยเข้าได้ปกติ อาจจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจผิดคิดว่าตัว stat นี้ได้โชว์แล้ว แท้จริงมันยังไม่โชว์ครับ ให้เอาออกตามรูปข้างล่างนี่ด้วยครับ จึงจะทำให้ stat ของเพื่อนๆโชว์สู่สายตาสาธารณชนครับ

stat check box        

stat

ก็เป็นทิปเล็กๆน้อยๆที่ผมเอามาเล่าสู่กันฟังครับ หากเพื่อนๆสนใจก็ลองหามาติดเว็บไซต์ดูครับ แต่ละเจ้าที่ให้บริการ ก็มีลูกเล่นที่ต่างๆกันไปในการนำเสนอ สนใจเจ้าไหนก็เลือกกันเลยครับ ฟรีทั้งนั้นครับ ไม่คิดเงิน ใครว่าของฟรีไม่มีในโลก ไม่จริงเลยใช่ไหมครับ วันนี้ขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...

3.8.09

“Web Hosting” คืออะไร




สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ข่าวเรื่องไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่2009 ก็ออกข่าวให้เห็นอยู่ทุกวัน ก็เลยทำให้เพื่อนๆหลายคนไม่อยากออกจากบ้าน จริงๆผมก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่ที่เพื่อนจะเอาแต่เก็บตัวอยู่ในบ้าน เพราะนอกจากจะทำให้เราพลาดในหลายๆโอกาสแล้ว ผมยังคิดว่า มันยิ่งทำให้เศรษฐกิจบ้านเราทรุดลงตามไปด้วยนะครับ ยังงัยๆ ก็ช่วยๆกันออกไปจับจ่ายใช้สอยสักหน่อยนะครับ แล้วก็อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆด้วยนะครับ

เพื่อนๆหลายคนที่เคยเขียนโปรแกรมประเภท web programing จำพวกภาษา PHP, Python, Ruby, ASP คงหนีไม่พ้นเลยที่จะต้องรู้จักโปรแกรมประเภทที่ทำhosting server ให้เครื่องเรากลายเป็นเว็บ Web Server เพื่อจำลองการทำงานของโปแกรมเรา เพราะภาษาโปรแกรมที่เราเขียนจะต้องทำงานที่ฝั่ง server ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งรันบนฝั่ง server เพื่อดูผลการทำงาน แล้วถ้าเราต้องการจะลองทำงานกับ server จริงๆหล่ะ เพื่อนๆจะทำยังงัย วันนี้ผมอยากจะพาเพื่อนๆมาแนะนำให้รู้จักกับความหมายของเว็บโฮสติ้ง เพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อนๆที่สนใจจะเป็นเว็บมาสเตอร์จริงๆ สามารถเลือกเว็บโฮสติ้งได้ถูกตามความต้องการ หลังจากเพื่อนๆได้อ่านบทความที่ผมนำมาเสนอแล้ว เพื่อนๆก็ลองเข้าไปดูเงื่อนไขที่แต่ละเว็บโฮสติ้งโฆษณากันดูนะครับ ว่าแต่ละเจ้ามีเงื่อนไขอะไรดีๆมานำเสนอบ้าง ลองเข้าไปทดสอบดูครับว่าผู้ให้บริการเว็บโอสติ้งเจ้าไหน เร็วบ้าง ก็โดยการลองเข้าไปดูตามลิ้งค์ที่ปรากกฏอยู่ ถ้าอันไหนแสดงผลได้เร็ว เราก็พอจะประมาณได้ว่า server ที่ให้บริการนั้น ค่อนข้างที่จะใหม่และมีการวางระบบที่ค่อนข้างทำงานได้เร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้เพื่อนๆสามารถตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง เรามาเริ่มกันเลยครับ

เว็บโฮสติ้งคือ

web hosting เว็บโฮสติ้ง คือ การเช่าพื้นที่โฮสติ้ง เพื่อเก็บข้อมูลและเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ เหมือนกับเราเช่าพื้นที่เพื่อฝากข้อมูล เนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรากับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่โฮสติ้งนั่นเอง ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะเหมือนกับการที่เราเช่าโกดังเพื่อเก็บสินค้าของเรานั่นเอง

เมื่อเรารู้จักกับเว็บโฮสติ้งกันแล้วว่าคืออะไร แล้วเพื่อนๆ เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าแล้วโฮสติ้งที่เราเข้าใจและใช้งานกันอยู่ทุกวันเนี่ย มีความเป็นมาอย่างไร แล้วเริ่มต้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ที่คิดค้นหรือค้นพบกันนะ วันนี้เพื่อนๆ จะหายข้องใจแล้วค่ะ เพราะวันนี้เราจะนำเรื่องราวของที่มาที่ไปของเว็บโฮสติ้งมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันค่ะ

สำหรับความเป็นมาของเว็บโฮสติ้งนั้นถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับการใช้งานอินเทอร์เน็ท ส่วนในประเทศไทยกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆ นั้นจะอยู่ในกลุ่มของมหาวิทยาลัย และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงหน่วยงานราชการเป็นส่วนใหญ่ โดยเชื่อมต่อผ่านทางการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ (CAT) ต่อมาเมื่อความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตมีเพิ่มมากขึ้น การให้บริการเว็บโฮสติ้งในรูปแบบเชิงพาณิชย์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยมีผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง ISP ที่กระจายการให้บริการไปยังกลุ่มภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก

และในปัจจุบันด้วยความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนของหนึ่งของชีวิตประจำวันกันไปแล้ว ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทนั่นก็คือ

Web Hosting

1. โฮสติ้งแบบให้บริการฟรี
สำหรับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งฟรีนั้น เราสามารถค้นหารายชื่อผู้ให้บริการได้ตามเสิร์ชเอนจิ้นทั่วไปได้ค่ะ ซึ่งก็มีผู้ให้บริการอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าผู้ให้บริการแต่ละเจ้านั้นจะให้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนเท่าไหร่ มากหรือน้อย ส่วนวิธีการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้น คุณสามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ “มือใหม่หัดเลือกโฮสติ้ง”

2. โฮสติ้งแบบเสียค่าบริการ
ในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายหลายเจ้า ให้เลือกได้ตามความต้องการ ความเหมาะสมของผู้ใช้งาน นอกจากจะมีผู้ให้บริการมากมายหลายเจ้าให้เราเลือกใช้บริการแล้ว รูปแบบของใช้บริการเว็บโฮสติ้งก็ยังสามารถแยกออกมาได้ดังนี้อีกด้วยค่ะ

         2.1 Dedicated Server การเช่าแบบนี้เป็นการเช่าแบบเหมาทั้งตัวเครื่อง เช่นหากเปรียบเทียบให้เซอร์ฟเวอร์เป็นเครื่องหนึ่งเครื่องก็เท่ากับเราเช่าหมด ยกทั้งเครื่องนั่นเอง สำหรับการเช่าในรูปแบบนี้จะเหมาะกับเว็บไซต์ขององค์กรที่มีขนาดใหญ่

        2.2 Colocation เป็นการเช่าแบบพื้นที่ โดยการนำตัวเครื่องเซอร์ฟเวอร์ของเราทั้งเครื่องไปเช่าพื้นที่ในการติดตั้งอีกทีนึง หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายกับการที่เราเช่าผืนที่ดินแล้วไปปลูกบนที่ดินที่เราเช่านั่นเอง สำหรับการเช่าในรูปแบบนี้จะเหมาะกับเว็บไซต์ขององค์การที่มีขนาดใหญ่มากๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว

        2.3 Shared Hosting เป็นการเช่าในลักษณะที่เรียกว่าเช่าพื้นที่เพียงบางส่วน คล้ายๆ กับการที่เราเช่าห้องพักในคอนโดหรือหอพักนั่นเองค่ะ ซึ่งการเช่าโฮสติ้งในแบบนี้จะเหมาะกับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าทั้ง 2 รูปแบบข้างบน นอกจากนี้การเช่าในลักษณะนี้ยังมีให้เลือกอีกถึง 3 ชนิด ทังนี้ทางทีมงานได้ทำการอธิบายและเปรียบเทียบการทำงานของทั้ง 3 ชนิดขึ้นมาเพื่อเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นนะคะ

รูปแบบของโฮสติ้งความหมายของแต่ละลักษณะการใช้งาน
Windowsเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดเนื่องจาก ใช้คำสั่งแบบตัวอักษร เหมาะกับการใช้ใช้งานง่าย เป็นการพัฒนาต่อจาก DOS  งานร่วมกับ Software ที่พัฒนาด้วย .asp, .net หากคุณเลือกแบบ Windows จะมีข้อเสียตรงที่การกำหนดสิทธิ์ค่อนข้างมีความยุ่งยาก
Unix, Linuxถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับงานวิจัย สำหรับการใช้งานจะเหมาะกับ Software และภาคธุรกิจ เนื่องจากการมีความที่พัฒนาด้วย .php ค่าใช้จ่ายในการใช้งานสะดวกในการใช้งานมากกว่า จะมีราคาถูกกว่า Windows ราคาถูกกว่า Windows และสามารถทำงานได้หลายงานในเวลาพร้อมๆ กัน

ดังนั้นคุณผู้อ่านท่านใดที่สร้างเว็บไซต์ด้วย CMS ไม่ว่าจะเป็น Joomla, WordPress ก็ควรเลือกโฮสติ้งแบบ Unix, Linux จะดีที่สุดค่ะ ทั้งนี้ก็เนื่องจาก Joomla, WordPress นั้นใช้ภาษา .php นั่นเองค่ะ และสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึงที่เราควรพิจารณานั่นก็คือ การวิเคราะห์ว่าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เราส่วนใหญ่นั้นมาจากในประเทศหรือต่างประเทศด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อความรวดเร็วในการเข้าเว็บไซต์นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าสำหรับมือใหม่ๆ เวลาจะเข้าไปใช้บริการเว็บโฮสติ้งจากที่ไหนสักแห่งอาจจะเกิดอาการงงกับคำศัพท์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับโฮสติ้ง ไม่ว่าจะเป็น DNS, Banwidth etc. ว่าคืออะไร แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ ทางทีมงานได้อธิบายคำศัพท์ไว้ให้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าแต่ละคำศัพท์นั้นมีหมายถึงอะไร เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

มาเริ่มกันที่คำศัพท์ตัวแรกเลยนะคะ

- DNS คือ Domain name system ระบบที่ใช้เก็บช้อมูลของชื่อโดเมน ระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน แปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขประจำเครื่องที่จดจำยากให้เหลือเพียงแค่ชื่อเว็บไซต์ที่จำง่ายนั่นเอง


- Bandwidth คือ พื้นที่ในการส่งข้อมูล ถ้าหากมีพื้นที่ที่กว้าง ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนกับถนน หากถนนมีความกว้างหรือมีเลนให้รถวิ่งมาก ก็จะเดินทางได้สะดวก และสะดวกมากขึ้นนั่นเอง


- Storage คือ การจัดเก็บข้อมูล การนำข้อมูลที่ผ่านกระบวนการการทำงานทั้งการนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาทำการบันทึกลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล Storage Device เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้เมื่อต้องการค่ะ

- OS คือ operating system ซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป / ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์


- ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต ย่อมาจาก Interner Service Provide เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อาทิ KSC, TRUE, TOT เป็นต้น

- DOS คือ Disk Operation System เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง PC โปรแกรม DOS จะถูกโหลดหรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะไปทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานต่างๆ โดยอัตโนมัติ การทำงานเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคำสั่ง

- CMS คือ Content Management System ระบบจัดการเนื้อหา หรือ เว็บสำเร็จรูปนั่นเองค่ะ เช่น Worpresss Joomla Drupal mambo เป็นต้น

- PHP คือ personal home page ภาษาที่นำไปพัฒนาเว็บไซต์ สามารถทำงานร่วมกับภาษา HTML ได้

- Asp คือ Active server page เทคโนโลยีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเว็บเพจ พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ มีจุดเด่นในการพัฒนาและจัดการแอพพลิเคชั่นบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยจะทำงานในลักษณะของโปรแกรมภาษา Interpreter ที่ใช้ในการตีความเว็บเพจที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษา VBScript, JSCript เป็นต้น

- .net คือ โดเมนเนมสากลที่ทุกประเทศสามารถจดได้ แต่จะต้องสำหรับเว็บไซต์ทางด้านเน็ตเวิร์ก หรือ กลุ่มบริหารเครือข่าย (Network Services) เท่านั้น

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับความหมายและที่มาที่ไป รวมถึงรูปแบบของเว็บโฮสติ้ง ว่าทั้งหมดมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีการทำงาน และแตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง นี่ก็เป็นเพียงความรู้และข้อมูลคร่าวๆ เท่านั้นนะคะ หากคุณผู้อ่านที่ต้องการจะเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ “มือใหม่หัดเลือกโฮสติ้ง” ได้นะคะ และสำหรับฉบับหน้านั้นทางทีมงานจะนำเรื่องอะไรมานำเสนอให้ได้อ่านกันคงต้องติดตามกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ ^ ^

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

เป็นงัยมั่งครับ บทความที่ผมนำมาเสนอ หลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านกันแล้ว ถ้าเพื่อนๆสนใจอยากจะทดสอบความเร็วของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ก็อย่างที่ผมแนะนำไปแหละครับ ลองเข้าไปทดสอบกันดูครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ ต้องไปอ่านหนังสือเตรียมสอบ Math Applied ก่อนครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...
 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger