แรกเริ่มเดิมที ผมไม่ได้มาจากสายคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่ก็พอได้เรียนมาบ้างวิชาโปแกรมมิ่ง แต่นั้นก็ยังนับว่าไม่พอเพียงหากจะเขียนโปแกรมให้เป็นสักภาษาหนึ่ง ในระหว่างนั้นได้มความพยายามอย่างมากที่จะเข้าใจให้ได้ว่าการเขียนภาษาโปรแกรมนั้น เค้ามีหลักในการเขียนอย่างไร และมันต้องเรียนรู้อะไรบ้าง แต่เนื่องจากว่าในสมัยนั้น (ประมาณปี พ.ศ. 2538) การสื่อสารในวิชาโปรแกรมนั้น เรายังใช้คำไทยอยู่ เรา บางคนอาจจะเคยพบเห็นหนังสือบางเล่มในปัจจุบัน ยังใช้คำไทยเหล่านั้นอยู่ ซึ่งต้องขอเรียนตามตรงว่า ถ้าเราจะอ่านตำราวิชาโปรแกรม อย่างเช่นภาษาซีนั้น เราจะต้องเปิดพจนานุกรม เพื่อแปลไทยเป็นไทยอีกทีนึง เพื่อให้เข้าใจคำศัพท์บางตัวที่เราแทบไม่เคยได้ยินกันเลย ผมไม่ขอยกตัวอย่างแล้วกัน เพื่อนๆบางคนอาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง บอกตามตรง มันงงจริงๆตอนนั้น
จนมาถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์แทบจะบอกได้เลยว่า มันเป็นการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์และซอพแวร์เลยก็ว่าได้ ทุกอย่างถูกพัฒนาควบคู่กันไป ทุกวันนี้ หนังสือโปแกรมมิ่ง ค่อนข้างเยอะ และเราเองคนไทย ก้เริ่มที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ด้วยการอ่านตำรา text book ที่มาจากเมืองนอกบ้าง จนทำให้ทุกวันนี้ เราไม่ต้องมาลำบากในการค้นคว้าและศึกษาการเขียนโปรแกรมเหมือนกังแต่ก่อน (ผมได้รู้จักกับ เด็กวัยรุ่นคนนึง ในขณะที่ผมอายุสามสิบกว่า น้องเค้าอยู่ ม.4 เค้าสามารถที่จะเขียนโปแกรมเป็นแหละ)
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถที่จะเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้เป็นกันทุกคน ถึงแม้จะมีตำราที่เป็นภาษาไทยมากมาย (จริงๆแล้ว help ที่มาพร้อมกับโปแกรมก็น่าจะเพียงพอแล้ว) บางคนก็ยังเขียนไม่เป็นอยู่ดี ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
จากประสบการณ์โดยตรงที่ผมเจอมา ก็คือ เราไม่รู้ว่า เวลาที่เรา print ค่าออกมา หรือการวนลูป การใช้เงื่อนไข if else เรานำไปใช้ทำไม เพื่ออะไร ทำไมต้องทำอันนี้ก่อน อยากได้ผลลัพธ์แบบนี้ ต้องทำอย่างไรก่อนหลัง ไปๆมาๆ ก็เลยพาลให้เรา เลิกเขียนโปรแกรมเอาซะดื้อ ยิ่งไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อะไรด้วยแล้ว ยิ่งแย่ไปใหญ่ มันหมดความตั้งใจไปเลยก็มี
ที่ผมพอจะเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้บ้างนั้น มันเกิดจากการที่ผมจำเป็นต้องทำ และผมอยากทำไปพร้อมๆกัน ผมได้รับมอบหมายให้เขียนเว็บไซต์ที่เอาไว้โชว์ในบริษัท ซึ่งเป็นแค่โชว์ใน intranet เท่านั้น ไม่ใช่ internet นะครับ ผมก็เริ่มจากการเอาคอมพิวเตอร์เครื่องเก่าๆเครื่องนึง มาทำการลง linux แล้ว setup ให้มันเป็น web server ไปในตัว จากตรงนั้นเอง จากที่ไม่มีความรู้อะไรเลย ก้จำเป็นต้องค้นคว้าหาข้อมูลว่ามันต้องทำยังงัยบ้างในการติดตั้ง web server ผมไม่ได้เรียนมาหรอกครับ แต่อาศัยว่า ตอนนั้น มันต้องทำให้ได้จริงๆ เป็นการเรียนรู้ แล้วลงมือทำเลยทันที เหมือนกับนักศึกษาที่ต้องอ่านการทดลองแลปมาก่อน แล้วลงมือปฏิบัติ
ต้องยอมรับเลย ช่วงนั้นเครียดจริงๆ กินข้าวก็คิด กลับมาบ้านก็คิด เข้าห้องน้ำก็คิด มันคิด คิด คิด อยู่อย่างงี้ มันออกจากความไม่รู้ไม่ได้เลย ตอนนั้น มันเป็นอะไรที่เราต้องรู้มันให้ได้ หนังสือภาษาคอมพิวเตอร์ผมอ่านค่อนข้างหลายเล่มเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าผมจะอ่านหมดทุกเล่มนะครับ บางเล่มก็แค่เปิดแค่ผ่านๆ ก็มี แต่ที่ต้องอ่านหลายเล่ม ผมมีความเชื่อว่า บางครั้งความรู้ที่ผู้แต่งถ่ายทอดมานั้น เราเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ระดับความรู้มันแตกต่างกัน เราเลยจำเป็นที่ต้องอ่านหลายๆเล่มผสมๆกันไป เพื่อที่มันจะเกื้อกูลกันให้เราเกิดความเข้าใจในการเขียนโปแกรม
จนในที่สุด concept programing มันก็เกิดขึ้นมาในหัวผม เย้ๆๆๆ ดีใจมากๆ ที่เราก็ทำได้ ไม่แพ้คนอื่นเหมือนกัน ถึงแม้บางที บางปัญหาผมไม่สามารถที่จะเข้าใจ และแก้ไข ในระดับลึกๆ ได้ก็ตาม แต่ผมก็ยังสามารถที่จะสื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ตัวจริง เพื่อขอคำปรึกษาและขอให้เค้าช่วยแก้ไขได้
ก็เลยอยากจะบอกกับเพื่อนๆทุกคน ที่ไม่ได้เรียนมาทางคอมพิวเตอร์ แต่มีความสนใจในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ ขออย่าได้ย่อท้อ ผมคิดว่าวิธีการที่จะทำให้เราสามารถเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้ก็คือ การที่เราเรียนรู้และลงมือทำไปพร้อมๆกับการทำโปรเจคอะไรก็ตามขึ้นมาสักโปรเจคหนึ่ง ซึ่งเราจะได้แก้ปัญหาไปด้วย แม้ว่าเราจะไม่ได้มีหลักในการเขียนโปแกรมที่สวยหรู และเป็นระเบียนเรียบร้อยก็ตาม แต่ผมก็ยังเชื่อว่า มันจะทำให้เราเกิด concept programing ขึ้นมาในหัวบ้าง หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพัฒนาต่อยอดต่อไป ขอเพียงเราก้าวผ่านกำแพงความไม่รู้ไปได้ หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องง่ายไปแล้ว ที่เราจะพัฒนาที่จะไปเขียนภาษาอื่นๆให้ได้เพิ่มเติม ถ้าเราเขียนเป็นแล้ว จะแกล้งให้เขียนไม่เป็น ก็ยากเต็มที่แล้วครับ
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment