30.9.09

CodeIgniter PHP Framework เครื่องมือช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น

      คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหม ที่มีพลังมากมายมหาศาลในการเขียนโค๊ด PHP แบบ procedural แบบบ้าพลัง เขียนใหม่ทุกครั้งที่มีโปรเจคใหม่ โค๊ดเก่าๆ ทิ้งไป ก๊อปปี้มาใช้เพียงบางส่วน บางส่วนเอามาวางยาตัวเองอีกตั้งหาก เขียนโค๊ดทีนึงเป็นพันๆบรรทัด เวลากลับมาแก้ไขที แทบอยากจะเขียนใหม่ ถ้าอย่างนั้น คุณกับผมก็หัวอกเดียวกัน   แล้วเราจะทำยังงัยหล่ะทีนี้ ในที่สุดผมก็เจอผู้ช่วย “CodeIgniter” เค้าคือ PHP Framework (โค๊ด)เล็ก เบา ใช้งานง่าย แต่ประสิทธิภาพเกินตัว

CodeIgniter เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเขียนเว็บแอปพลิเคชั่นโดย PHP จุดประสงค์หลักของ CodeIgniter Framework นั้นก็คือ ถ้าคุณมีงานที่จะต้องทำเป็นประจำ อย่างเช่น เขียนหน้าเว็บที่รับค่าจาก user โดยจะต้องสร้างฟอร์มขึ้นมา หรือจะต้อวงเขียนโค๊ดเพื่อจัดการตัวแปร Session หรือทำหน้าเว็บเพื่อให้ user ทำการ upload/download ไฟล์บางอย่าง แทนที่เราจะต้องมานั่งเขียนโค๊ดเอง เราก็ใช้ CodeIgniter Framework แทน โดยเจ้าตัว CodeIgniter Framework มันมีเจ้าโค๊ดพวกนี้ และพวก Class ที่รองรับเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า แค่เราปรับพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมของเรา จากการเขียนโปรแกรมชนิดที่ต้องโปรแกรมเองทั้งหมด มาเป็นการเรียกใช้ Library หรือให้ใช้ class โดยศึกษาจากคู่มือ CodeIgniter เพียงเท่านี้ งานของเราก็จะเสร็จเร็วขึ้น หมดปัญหากับการวางยาตัวเองอีกต่อไป (เวลาเขียนโค๊ดเยอะๆ แล้วมันงงฉิบ)

CodeIgniter Feature

ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ตอนนี้ CodeIgniter เค้าได้ออกเวอร์ชั่น 1.7.2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในส่วนที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

  • เข้ากันได้ดีกับ PHP 5.3.0 (ซึ่งโดยทั่วไป เค้ารองรับ PHP ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.3.2 ขึ้นไป )
  • เพิ่ม Class เกี่ยวกับ Shopping Cart เข้ามาด้วย (ถูกใจ คนที่ทำ e-commerce หล่ะทีนี้)
  • ปรับปรุงโดยเพิ่ม ส่วนของการช่วยเหลือในเรื่องการสร้าง form
  • เพิ่มคำสั่ง is_php('version_number') เอาไว้เช็คว่า runอยู่บน PHP เวอร์ชั่นอะไร
  • ปรับปรุงคำสั่ง show_error() ให้สามารถแสดง HTTP status ได้
  • แล้วก็แก้ไข Bug จากเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา)

เพื่อนๆสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บ CodeIgniter โดยตรง  image  Current Version

 

เหตุผลที่คุณต้องใช้ CodeIgniter :

* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่เรียนรู้ง่าย
* คุณต้องการประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม
* คุณต้องการการรองรับกับโฮสพื้นฐานที่ถูกดำเนินการด้วย PHP หลากหลายรุ่นและการปรับแต่งที่ต่างกัน
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่แทบจะไม่ต้องปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ สำหรับการใช้งาน
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่ไม่ต้องให้คุณใช้ Command Line
* คุณต้องการเฟรมเวิร์คที่ไม่ต้องยึดติดกับกฎการเขียนโค้ด
* คุณไม่สนใจไลบราีรี่ที่มีขนาดใหญ่มากอย่าง PEAR
* คุณไม่ต้องการถูกบังคับให้เรียนภาษาเทมเพลต (แต่เรามี template parser รองรับอยู่ ถ้าคุณต้องการ)
* คุณเหลีกเลี่ยงความสลับซ้อบซ้อน และชอบแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ
* คุณต้องการเอกสารประกอบที่ละเอียดถี่ถ้วน

ข้อมูลจาก www.codeigniter.in.th

การทำงานของ CodeIgniter 

สมมุติว่าเราต้องการหน้าเว็บแอปพลิเคชั่น(สมมุติชื่อไฟล์ index.php) ซึ่งทำงานอะไรบางอย่าง เมื่อเรามีการเรียกใช้ CodeIgniter ในหน้าเว็บนั้น การทำงานจะเริ่มจาก หน้าใส่โค๊ดของเรา

CodeIgniter Work Flow

  1. หน้า index.php เป็นส่วนที่เราทำการออกแบบให้ไปเรียกใช้ CodeIgniter.
  2. Rounting : ตัว Router ทำการตรวจสอบ HTTP request กำหนดว่าควรจะทำอะไรกับมัน นอกจากนี้มันจะคอยตรวจสอบว่าข้อมมูลนี้เคยถูกเรียกใช้แล้วหรือยัง หากว่าเคยถูกเรียกใช้แล้ว มันจะไปดึงในส่วนของ Caching กลับไปให้ User ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้ CodeIgniter Framework ทำงานได้เร็วกว่าการเขียนโค๊ดเอง
  3. Caching : ถ้ามีไฟล์แคชอยู่ ตัวมันจะถูกส่งกลับทันทีไปยังบราวเซอร์ โดยไม่ผ่านการทำงานปกติของระบบ
  4. Security : ก่อนที่จะโหลดตัวควบคุมของแอพพลิเคชั่น (Application Controller) HTTP request และผู้ใช้ใดๆที่ส่งข้อมูลมาจะถูกกรองข้อมูลเพื่อความปลอดภัย
  5. Application Controller : โหลดแบบจำลอง(Model) , ไลบรารี่หลัก(Libraries) , plugins, ผู้ช่วย (Helpers) และทรัพยากรอื่นๆที่จำเป็นในทำงานที่ถูกร้องขอมา
  6. สุดท้าย View ปฎิบัติงานและถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์เพื่อโชว์หน้าจอ ถ้าระบบแคชถูกใช้งาน หน้าจอจะถูกแคชก่อนแล้วจึงค่อยส่งสิ่งที่ร้องขอมาเป็นลำดับถัดไป

การติดตั้ง CodeIgniter Framework

ในส่วนของการติดตั้ง ผมยังไม่ได้ลองแต่ว่าผมได้ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เนตแล้ว เจอบทความเรื่องการติดตั้ง CodeIgniter ของคุณ “กิตติ เหมือนจันทร์แจ่ม” สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะละเอียดที่สุดแล้ว ก็เลยจะไม่ขอเขียนอธิบายในส่วนนี้ ให้เพื่อนๆไปอ่านจากนี้ได้เลยครับ ถ้ามีตรงไหนเพิ่มเติมผมจะมาเขียนเพิ่มในบล๊อกนี้แล้วกัน  คลิกดาวน์โหลด การติดตั้ง CodeIgniter

 

คู่มือการใช้งาน Codeigniter

ส่วนใครที่ไม่ค่อยถนัดอ่าน manual ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเป็นกังวลครับ ตอนนี้มีคนได้แปลคู่มือการใช้งาน CodeIgniter ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ต้องขอขอบคุณ codeigniter.in.th ที่ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น เข้าไปอ่านคู่มือกันได้ที่นี่ครับ http://www.codeigniter.in.th/user_guide/index.html  เนื้อหา สารบัญอยู่ตรง tab ตารางเนื้อหาด้านบนครับ

CodeIgniter content ข้อมูลจาก www.codeigniter.in.th

จริงๆยังมีอะไรอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Codeigniter กับ jQuery หรือกาารใช้ FormIgniter เพื่อ generate form เพื่อมาใช้กับ Codeigniter และยังมีลูกเล่นอื่นๆอีกมากมาย เอาไว้ให้เพื่อนๆไปศึกษาต่อกันเองครับ แต่ที่สำคัญของบทความนี้ ที่อยากจะยกให้เห็นว่า บางครั้งถ้ามันมี tool อยู่แล้ว เราก็ควรเลือกใช้และใช้ให้เป็น การใช้ tool ช่วย ไม่ได้หมายความว่า เราจะทำอะไรไม่เป็น คนที่ไม่ใช้ tool เลย เขียนเองทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะเก่งเป็นเทวดา สุดท้ายแล้ว คนที่รู้จักจัดการและแก้ปัญหาต่างหากหล่ะ ที่ผมคิดว่าเค้าเก่งจริง วันนี้ก็ฝากไว้แค่นี้ก่อน สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม...

22.9.09

หนังสือ - อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ไม่รู้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับโปรแกรมอะไรดี อยากจะเขียนเรื่องที่ผมเอาเทคนิคของไวรัสโทรจันมาใช้ในการทำโปรเจค แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มสักที อยากจะเอาโค๊ดมาให้ดูด้วย แต่ยังหา plug in ที่มาทำให้ blogspot โชว์โค๊ดแบบจ๊าบๆไม่ได้เลย ก็เลยขอติดค้างไว้ก่อนเรื่องนี้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปยืมหนังสือมาจากห้องสมุดมหาลัย ยืมมาตั้ง 5 เล่ม พอดีช่วงนี้เพิ่งเปิดเทอม แต่เดี๋ยวก่อน 5 เล่มที่ยืมมา ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเรียนเลยครับ เพื่อนๆที่มหาลัย ขอดูกันใหญ่ นึกเราว่าจะตั้งใจเรียน (กร๊ากก ขำ )

ทุกๆครั้งที่ผมไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดมหาลัย หรือว่าหอสมุดแห่งชาติ ผมแทบจะไม่เคยเลยที่จะไปค้นหาหนังสือจากดัชนีหนังสือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ค้นหารายชื่อหนังสือก่อน เพราะว่าผมเองก็ไม่รู้จะเลือกหาหนังสืออะไร ถึงต่อให้รู้ก็เหอะว่าจะอ่านหนังสืออะไร ผมก็ยังพอใจที่จะเดินไปเลือกด้วยตัวเองว่าหนังสือเล่มไหนที่อยากอ่าน คือผมต้องเปิดหนังสือนั่นก่อน แล้วดูว่าตัวหนังสืออ่านง่ายไหม ใช้คำยากไปไหม โดยผมจะอ่านไปสักสองสามบรรทัด แล้วจึงค่อยตัดสินใจที่จะยืมหนังสือ หรือเลือกหนังสือนั่นมานั่งอ่าน บางทีก้เดินเลือกไปเรื่อยๆ เหมือนไปเดินซ๊อปปิ้ง อะไรประมาณนั้น มีความสุขในการเดินในห้องสมุดจริงๆ ^_^

จริงๆผมว่าหนังสือในเรื่องเดียวกัน มีคนแต่งหลายคน ซึ่งแต่ละคนที่เขียนก็จะมีไสตล์เป็นของตัวเอง บางคนเขียนอ่านเข้าใจง่าย บางคนเขียนอ่านเข้าใจยาก(หรือว่าผมอ่านไม่รู้เรื่องคนเดียวก็ไม่รู้) อย่างเช่น หนังสือ Photoshop เชื่อไหมครับเพื่อนๆ ผมเห็นแล้ว เยอะมากๆ เยอะพอๆกับคำสั่งใน Photoshop เลย เห็นหนังสือแล้วเลือกไม่ถูกว่าจะอ่านเล่มไหน –_-“

เกริ่นมาซะนาน (จริงๆที่บ้านเรียกว่า “บ่นทำหอกไรว่ะ" เข้าเรื่องซะทีดิ”) วันนี้อยากอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร จะนำเสนอหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ “อินเตอร์เนตทำงานได้อย่างไร” (How The Internet Works) เรียบเรียงโดย คุณชัชวาล ศุภเกษม เป็นหนังสือของค่าย se-ed สีสี่ทั้งเล่ม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ Preston Gralla ซึ่งได้รับรางวัลในงานเขียนมากกว่า 20 เล่ม และเป็นบรรณาธิการอาวุโสและเจ้าของคอลัมล์ที่ CNet และ ZDNet รับรองการันตีได้ถึงคุณภาพของงานเขียน และการถ่ายทอดความรู้ เค้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต

เนื้อหาโดยสังเขปของหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้มี เนื้อหาครอบคลุมอินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจกับอินเทอร์เน็ตพื้นฐาน จนถึงเทคโนโลยีล่าสุดของอินเทอร์เน็ตไร้สายอย่าง WiFi, ระบบกริดของคอมพิวเตอร์เคเบิลโมเด็ม โมเด็ม DSL และเน็ตเวิร์กในบ้าน, วิธีการใช้อีเมล,การท่องอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บเบราเซอร์ สำรวจถึงโลกเว็บคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต ศึกษาถึงวิธีการจับจ่ายซื้อของทางอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย พบกับวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเจาะลึกไปยังระบบลอบดักฟัง, การใช้เว็บอย่าง Carnivore ของ FBI และวิธีการทำงานอีกสารพัดสิ่งที่มีในอินเทอร์เน็ต

โดยเค้าแบ่งเนื้อหาออกเป็น ภาคๆ โดยแต่ละภาคก็จะแบ่งออกเป็นบทๆ ดังนี้

ภาคที่ 1 ทำความเข้าใจต่อสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต

บทที่ 1 อินเทอร์เน็ตคืออะไร
บทที่ 2 เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างไร
บทที่ 3 TCP/IP ทำงานอย่างไร
บทที่ 4 ทำความเข้าใจกับซอฟแวร์โครงส้รางทางอินเตอร์เนต
บทที่ 5 ที่อยู่และโดเมนทางอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร
บทที่ 6 เร้าเตอร์ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

บทที่ 7 คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
บทที่ 8 โมเด็มทำงานอย่างไร
บทที่ 9 การเชื่อต่ออินเตอร์เนต/โทรทัศน์ทำงานได้อย่างไร
บทที่ 10 Digital Subscripber Line (DSL) ทำงานอย่างไร
บทที่ 11 การเชื่อต่ออินเตอร์เนตจากบริการออนไลน์
บทที่ 12 การเชื่อมต่อแบบไร้สายและเครื่องปาล์มทำงานอย่างไร
บทที่ 13 เน็ตเวิร์กในบ้านทำงานอย่างไร

ภาคที่ 3 การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

บทที่ 14 อีเมลทำงานอย่างไร
บทที่ 15 อีเมลสแปมทำงานอย่างไร
บทที่ 16 นิวส์กรุ๊ปทำงานอย่างไร
บทที่ 17 อิเตอร์เนตแชทและอินสแตนซ์แมสเสจทำงานอย่างไร
บทที่ 18 โทรศัพท์ปผ่านอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร

ภาคที่ 4 การใช้เวิลด์ไวด์เว็บ

บทที่ 19 เว็บเพจทำงานอย่างไร
บทที่ 20 เว็บเบราเซอร์ทำงานอย่างไร
บทที่ 21 ภาษามาร์กอัพทำงานอย่างไร
บทที่ 22 ไฮเปอร์เท๊กซ์ทำงานอย่างไร
บทที่ 23 URL ทำงานอย่างไร
บทที่ 24 อิมเมจแม๊ปและแบบฟอร์มที่โต้ตอบได้ทำงานอย่างไร
บทที่ 25 เว็บโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ทำงานอย่างไร
บทที่ 26 เว็บไซต์ทำงานกับฐานข้อมูลได้อย่างไร
บทที่ 27 .NET และเว็บเซอร์วิสทำงานอย่างไร
บทที่ 28 กริดคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 5 การใช้เครื่องมือพื้นฐานในอินเทอร์เน็ต

บทที่ 29 Telnet ทำงานอย่างไร
บทที่ 30 FTP ทำงานอย่างไร
บทที่ 31 การค้นหาทางอินเตอร์เนตทำงานได้อย่างไร
บทที่ 32 เอเยนต์ทำงานได้อย่างไร
บทที่ 33 Java, ActiveX และ JavaScript ทำงานอย่างไร
บทที่ 34 สคริปต์ CGI ทำงานได้อย่างไร

ภาคที่ 6 สนุกสนานกับสิ่งบันเทิงและมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ต
บทที่ 35 เพลงและออดิโอทางอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร
บทที่ 36 การแชร์เพลงและไฟล์ต่าง ๆ ทำงานอย่างไร
บทที่ 37 วีดีโอทางอินเตอร์เนตทำงานอย่างไร
บทที่ 38 Multicast IP และ MBone ทำงานอย่างไร
บทที่ 39 Virtual Reality ทำงานอย่างไร
บทที่ 40 ภาพเคลื่อนไหวบนเว็บทำงานอย่างไร

ภาคที่ 7 การจับจ่ายซื้อของและทำธุรกรรมอินเทอร์เน็ต

บทที่ 41 อินทราเน็ตทำงานอย่างไร
บทที่ 42 การซื้อของทางอินเทอร์เน็ต

ภาคที่ 8 การปกป้องตัวเองเมื่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต

บทที่ 43 ไฟร์วอลล์ทำงานอย่างไร
บทที่ 44 แฮ็กเกอร์โจมตีคอมพิวเตอร์และทำให้อินเทอร์เน็ตล่มได้อย่างไร
บทที่ 45 ไวรัสทำงานอย่างไร
บทที่ 46 ไซต์ทางอินเตอร์เนตและซอฟแวร์ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวคุณได้อย่างไร
บทที่ 47 วิทยาการเข้ารหัสลับ ความเป็นส่วนตัว และใบรับรองทางดิจิตอล
บทที่ 48 FBI และที่ทำงานสอดส่องอย่างไร
บทที่ 49 การกำหนดควบคุมจากผู้ปกครองบนอินเตอร์เนต

 

ซึ่งในแต่ละบทเค้าเขีนได้ครอบคลุมแทบจะทุกเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อหนังสือจริง (เท่าที่เทคโนโลยีจะมีในตอนั้น) เนื้อหาไม่ลงไปลึกในวิชาการมากนั้น แต่สามารถอธิบายได้อย่างเข้าใจง่าย รวมทั้งภาพประกอบเป็นภาพออกแนววาดเขียน โดยเค้าเขียนการไหลของข้อมูล ซึ่งสามารถสื่อความหมายให้เราเข้าใจได้เป็นอย่างดี เหมาะมากๆครับ สำหรับนักศึกษา และบุคคลโดยทั่วไปที่หลงไหลในคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนตเช่นผม

หนังสือพิมพ์สี่สี กระดาษค่อนข้างหนา ราคาปกติ 445.00 บาท ถ้าจะถ่ายเอกสาร ไม่แนะนำอย่างแรงครับ เพราะจะเสียรสชาดในการอ่าน ดีไม่ดีค่าถ่ายเอกสารจะแพงกว่าหนังสืออีกก็ได้นะครับ

อยากจะยกเนื้อหาบางตอนมาให้อ่าน แต่ผมเกรงว่าจะผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ เอาเป็นว่าเดี๋ยวอ่านไป แล้วมาเล่าให้ฟังทีหลังแล้วกัน แต่ยังงัย ก็ยังยืนยันให้เพื่อนๆไปหาซื้อ หรือยืมมาอ่านกันดูนะครับ ภาพสวย อ่านง่าย สบายตา ฟันธง!!!

อ่านเพิ่มเติม...

19.9.09

คุณมี Twitter แล้วหรือยัง

Twitter คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง แล้วมีประโยชน์อย่างไร คงจะเป็นคำถามที่หลายๆ คน น่าจะให้ความน่าสนใจ มาซักพักหนึ่งแล้ว

วันนี้ผมอาจจะต้องขอเวลาท่านผู้อ่านซัก 2-3 นาที ในการอธิบายว่า Twitter คืออะไร เพื่อความเข้าใจในส่วนต่อๆ ไปของบทความนี้นะครับ

Twitter คือเครื่องมือสื่อสารชนิดใหม่จากทางฝั่งอเมริกา ที่ Concept ของมันถูกวางไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม โดยที่คนทั่วไป อาจะจะมองว่าตัวของ Twitter นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับ Social Networking แบบหนี่งซึ่งจะเป็นการเชื่อมเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เข้าหากันผ่านการสื่อสารแบบนี้

แต่ในอีกมุมหนึ่ง Twitter ก็ถูกเรียกว่า Microblogging เพราะลักษณะในการสื่อสารนั้นจะมีขนาดที่สั้นมากก็คือยาวได้สูงสุด แค่ 140 ตัวอักษร[ภาษาอังกฤษ]

Twitter นั้นการใช้งานโดยๆ ทั่วไป ก็จะเป็นการกรอกข้อความที่มีขนาดสั้นๆ ลงไปใน Twitteraccount ของตัวเองเพื่อให้คนอื่นสามารถตามมาหาอ่านได้ (โดยในปัจจุบัน สามารถทำได้มากกว่าการแค่กรอกข้อความลงบนเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นการใช้มือถือ หรือโปรแกรมผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์) โดยสิ่งที่ทาง Twitter อยากให้คนเขียนมาในความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ก็คือสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ในขณะนั้น หรือ “what are you doing?” นั่นเอง

คนทั่วไปสามารถตามอ่าน Account ของ User ที่ตัวเองสนใจได้ผ่านการเข้าไปที่หน้าของ Userที่ตัวเองสนใจและกดปุ่ม Follow, มาถึงขั้นนี้หลายๆคนอาจจะงง ว่าทำไมเราต้องมากด Follow คนเพื่อที่จะได้ติดตามอ่านเนื้อหาของเจ้าของ Blog
เหตุผลก็คือว่า ตัวเราเองนั้นอาจจะสนใจเนื้อหาของคนเขียนหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ตัวเราเองก็แค่กด Follow ไปที่หลายๆ Account โดยเราสามารถจะเรียกดูข้อความ หรือ micro-blog ได้จากหลายๆ User ที่เรา Follow อยู่ได้ผ่านหน้า
ส่วนตัวของเราคือ http://Twitter.com/home

Twitter ของผมครับ

หลังจากอารัมภบทมาได้ซักครู่แล้วทีนี้เรามาวกกลับที่หัวข้อหลักของเราในเนื้อหาวันนี้นะครับว่าหลังจากเจ้าเครื่องมือตัวนี้ออกมาสู่ตลาดได้ซักพักใหญ่ๆ แล้ว และก็ได้สร้างปรากฏการณ์ที่มีผู้ใช้มากมายมหาศาลอย่างรวดเร็วโดยที่สถิติที่ออกมาเมื่อ
เร็วๆ นี้ ในเดือนมีนาคม ตัวเลขผู้เข้าชม websiteTwitter เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเก่าเมื่อปีที่แล้วในเดือนเดียวกันมากถึง 100% โดยเพิ่มจาก 9.8 ไปเป็น 19.1 ล้าน Visitor โดยที่ตัวเลขนี้ ยังไม่ได้นับรวมถึงตัวเลขในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการใช้ Twitter ผ่านโปรแกรมทาง Desktop และมือถือซึ่งก็ยังมีอีกมากมายเหมือนกันจากการเติบโตอย่างมากมายของ Software ตัวนี้บริษัทมากมายก็เลยได้เริ่มตั้งคำถามว่า จาก Traffic

ขนาดนี้ ที่ทาง Twitter สามารถทำได้คนทั่วไปก็น่าจะสามารถทำการตลาดโดยผ่านเครื่องมือนี้ได้เช่นกัน

ตัวอย่างของการทำการตลาดที่เป็น Successful Case Study ที่เพิ่งผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าเป็นของท่านประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐที่ใช้ Twitter เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ Campaign ของตัวเอง และ ก็ได้ใช้เครื่องมือตัวนี้ ,Twitter, เพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อกับคนทั่วไป โดยที่ท่านประธานาธิบดีก็ไม่ได้ตอบเอง หรือเป็นคนที่ Tweet เองตลอดเวลานะครับ เป็นทางทีมงานของท่านที่เป็นคนทำครับ

แต่ตัวเลขที่เป็นที่น่าตกใจ ก็คือว่ามีคนตามอ่านเรื่องของท่าน ถึง 1,195,275 (ตัวเลขเมื่อวันที่ 19 พ.ค.52) ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว ด้วยตัวเลข ขนาดนี้การประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยากให้คนรู้มากๆย่อมสามารถทำได้โดยง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินในการซื้อสื่อแม้แต่นิดเดียว นอกจากตัวอย่างของนาย Obama แล้ว, ทางดาราดังอย่าง Britney Spears ก็มี Twitter account เช่นกัน โดยทาง Britney ก็ได้ใช้ช่องทางนี้ในการ แพร่กระจายข่าวสาร และใช่ในการสื่อสารกับแฟนเพลงของเธอโดยที่ตัวเลขล่าสุดก็มีคน Follow เพื่อรับข่าวของเธอ ผ่านทาง Twitter อยู่จำนวนทั้งสิ้น 1,496,594 คนนอกจากเหล่าดาราดังแล้วคนทั่วไป หรือเว็บไชต์

Britney Spears Twitter

ทั่วไปก็เริ่มขยับขยายช่องทางเข้ามาใน Twitter กันมากขึ้น เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ข่าวต่างๆ จากบล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ของตัวเอง จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีคนติดตามอ่านข้อความหรือ Micro-blog ของเรามากเท่าไร ข้อความของเราก็จะสามารถส่งออกไปถึงคนอ่านที่อยู่ และในกรณีนี้ ก็แต่ตัวเลขที่เป็นที่น่าตกใจ ก็คือว่ามีคนตามอ่านเรื่องของท่าน ถึง 1,195,275 (ตัวเลขเมื่อวันที่ 19 พ.ค.52) ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว ด้วยตัวเลขขนาดนี้การประชาสัมพันธ์เรื่องที่อยากให้คนรู้มากๆย่อมสามารถทำได้โดยง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินในการซื้อสื่อแม้แต่นิดเดียว นอกจาก ตัวอย่างของนาย Obama แล้ว, ทางดาราดังอย่าง Britney Spears ก็มี Twitter account เช่นกัน โดยทาง Britney ก็ได้ใช้ช่องทางนี้ในการ แพร่กระจายข่าวสาร และใช่ในการสื่อสารกับแฟนเพลงของเธอโดยที่ตัวเลขล่าสุดก็มีคน Follow เพื่อรับข่าวของเธอผ่านทาง Twitter อยู่จำนวนทั้งสิ้น 1,496,594 คน นอกจากเหล่าดาราดังแล้วคนทั่วไป หรือเว็บไชต์ทั่วไปก็เริ่มขยับขยายช่องทางเข้ามาใน Twitter กันมากขึ้น เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ ข่าวต่างๆ จากบล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ของตัวเอง

จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีคนติดตามอ่านข้อความหรือ Micro-blog ของเรามากเท่าไร ข้อความของเราก็จะสามารถส่งออกไปถึงคนอ่านที่อยู่ และในกรณีนี้ ก็รวมถึงการประชาสัมพันธ์ตัวของเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็จะทำได้ง่ายขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะมีคนตาม
อ่าน Tweet ของเราแล้ว คนอื่นที่เห็นว่า Tweetของเราดีก็จะสามารถทำการ Forward Tweet นี้ให้คนอื่นอ่านได้ด้วยเช่นกัน โดยวิธีที่คนใน Twitter Forward Tweet ให้กันอ่าน เราจะเรียกว่าการRetweet หรือการ RT ซึ่งคนทั่วไปมักจะทำกันเพื่อเป็นการส่งต่อ Tweet ดีๆ ที่ตัวเองอ่าน และก็อยากให้คนอื่นได้อ่านด้วย

และยิ่งถ้าเป็นข้อความที่เป็นประโยชน์มากๆ ด้วยแล้ว คนก็มักจะ RT ให้กัน จนเกิดเป็นกระแสในสังคมของ Twitter โดยที่ข้อความจะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ ในลักษณะของ Viral Marketing หรือ Marketingแบบที่เป็นการส่งต่อกันโดย User เพื่อ User โดยที่ความน่าสนใจคือ เจ้าของ Tweet ไม่ได้จ่ายเงินใน การทำให้เกิดปรากฏการณ์แม้แต่บาทเดียว แต่ข้อความก็สามารถกระจายไปหาคนหมู่มากได้ เอาเป็นว่า ถ้าคราวหน้าผมมีโอกาสผมจะมาเล่าต่อละกันนะครับ ว่า Twitter ยังสามารถไปทำอะไร อย่างอื่นได้อีกบ้าง วันนี้ขอตัวลาไปก่อนนะครับ

 ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...

9.9.09

Pidgin : online เดียวเอาอยู่ทุกค่าย

    ผมเป็นคนหนึ่งแหละใช้ e-mail มากกว่า 1 account ถามว่าทำไมหน่ะเหรอ เพราะบางครั้งเราต้องใช้ email นี้เพื่อทำธุรกิจ email นี้เพื่อสนทนาทั่วไป หรือบางครั้งผมต้องสมัคร email ของค่ายนี้ เพื่อใช้งานบาง feature ของเค้า อย่างเช่น blogger ของ google หรือ yahoo answer ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องสมัคร email เพื่อขอใช้งาน และอะไรหลายๆอย่าง ที่ต้องมีมากกว่า 1 account

    ปัญหาที่ตามมาอีกอย่างนึงก็คือ แล้วเวลามีเมล์เข้ามาหล่ะ เราจะรู้ได้งัย ถ้าเพื่อนๆเคยสังเกต ถ้าเราใช้ msn เวลาที่มีเมล์เข้ามาที่ hotmail มันจะมี pop up ขึ้นมาเตือนว่ามีเมล์เข้ามานะ และถ้าเราใช้ google talk ก็จะมี pop up ขึ้นมาเตือนเวลามีเมล์เข้ามาที่ gmail เช่นกันเมื่อมีเมล์เข้ามาที่ yahoo ก็คล้ายๆกัน

    แต่เราจะออนไลน์โปรแกรม google talk , MSN , Yahoo ทั้ง 3 ตัว ด้วย 3 account เหรอ ดูเหมือนจะบ้าไปหรือเปล่าบางคนอาจจะบอกอย่างงั้น

   วันนี้ ผมมีเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เราทำ 3 อย่างพร้อมกันได้ ด้วยโปรแกรมที่ Pidgin  เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้คุณสามารถ log on ด้วย account ที่แตกต่างกันในเวลาเดียวกันได้ โดยผ่านตัวโปรแกรมตัวนี้ ในเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่า เพื่อนๆสามารถสนทนากับเพื่อนๆ คนไหนก็ได้ ด้วยaccount ต่างๆกัน ในเวลาเดียวกัน

   Pidgin เป็นโปรแกรมสนทนาออนไลน์(ฟรี) ที่ไม่มีโฆษณามากวนใจ ตามจุดประสงค์ของ GNU (เพื่อนๆสามารถโหลดโค๊ดไปพัฒนาต่อได้) ซึ่งตัวโปรแกรม pidgin นี้รองรับ account ได้หลายค่ายมากจนเกือบจะครบเลยก็ว่า ที่สำคัญเค้า support ภาษาไทยด้วยนะ

pidgin

รองรับเครือข่ายสนทนาออนไลน์ :

  • AIM 
  • Bonjour
  • Gadu-Gadu
  • Google Talk
  • Groupwise
  • ICQ
  • IRC
  • MSN
  • MySpaceIM
  • QQ
  • SILC
  • SIMPLE
  • Sametime
  • XMPP
  • Yahoo!
  • Zephyr

รองรับภาษาต่อไปนี้ :

  • Afrikaans
  • Albanian
  • American English
  • Arabic
  • Australian English
  • Belarusian Latin
  • Bengali
  • Bokmal Norwegian
  • Bosnian
  • British English
  • Bulgarian
  • Canadian English
  • Catalan
  • Chinese
  • Czech
  • Danish
  • Dutch, Flemish
  • Dzongkha
  • English
  • Esperanto
  • Estonian
  • Euskera(Basque)
  • Finnish
  • French
  • Galician
  • Georgian
  • German
  • Greek
  • Gujarati
  • Hebrew
  • Hindi
  • Hong Kong Chinese
  • Hungarian
  • Indonesian
  • Irish
  • Italian
  • Japanese
  • Kannada
  • Khmer
  • Korean
  • Kurdish
  • Lao
  • Lithuanian
  • Macedonian
  • Mongolian
  • Nepali
  • Norwegian Nynorsk
  • Occitan
  • Pashto
  • Persian
  • Polish
  • Portuguese
  • Portuguese-Brazil
  • Punjabi
  • Romanian
  • Russian
  • Serbian
  • Simplified Chinese
  • Sinhala
  • Slovak
  • Slovenian
  • Spanish
  • Swedish
  • Tamil
  • Telugu
  • Thai
  • Traditional Chinese
  • Turkish
  • Urdu
  • Vietnamese

 

     การติดตั้ง คงไม่ต้องกล่าวไรกันมาก เพียงแค่เข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บ pidgin  ไฟล์ประมาณ 13.79 MB รอนานสักหน่อยแต่คุ้มครับ ซึ่งในส่วนขั้นตอนการติดตั้งไม่อยากอธิบายมาก เพื่อนๆคงคุ้นๆกันอยู่แล้ว (ผมขี้เกียจพิมพ์ด้วย..อิอิ) next อย่างเดียว ถ้าเพื่อนขี้เกียจอ่าน (แต่อ่านหน่อยก็ดี เพราะจะมีขั้นตอนหนึ่งที่ถามว่าเราต้องการติดตั้งตัวคอยเช็คการพิมพ์ ถูก-ผิด ไหม )

pidgin installation

หลังจากเราติดตั้งเสร็จแล้ว ในครั้งแรกเราต้องทำการ add account ทั้งหมดของเราเข้าไปที่โปรแกรม 

pigin add account 

นี่เป็นตัวอย่างที่ผมได้ทำการ add account ของ hotmail เข้าไป

pidgin with my hotmail

การตั้งค่าของ Hotmail account กับ pidgin

Server: messenger.hotmail.com

Port: 1863

Proxy type: Use Global Proxy Settings

 

การตั้งค่าของ Yahoo account กับ pidgin

Pager Server: 76.13.15.36 หรือ ไอพีอื่นๆ

Pager Port: 5050

Proxy type: Use Global Proxy Settings

pidgin with yahoo

การตั้งค่าของ Gmail account กับ pidgin

Require SSL/TLS  -> checked

Forced old (port 5223) SSL –> checked

Connect port: 443

Connect server: talk.google.com

File transfer proxies: proxy.eu.jabber.org

pidgin with gmail

หลังจากเพื่อนได้ทำการ add account เข้าไปแล้ว account ทั้งหมดจะไปปรากฏในรายชื่อ account  อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะเสริมก็คือ หาก account ไหนสามารถ log on ได้ จะมีเครื่องหมายถูก อยู่หน้าชื่อ account นั้นๆ และหลังจาก add account ด้วยโปรแกรมนี้แล้ว ก้ไม่จำเป็นต้อง on โปรแกรม MSN, Google talk หรือ Yahoo messenger นะครับ เพราะโปรแกรมมันจะแย่ง connection เปล่าๆครับ

pidgin account

นอกจากนี้ pidgin เองยังมี plugin อีกมากมาย ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้ pidgin น่าสนใจอีก pidgin plugin

หวังว่าคงมีประโยชน์มากมายนะครับ สำหรับคนที่มีหลายๆ  account นอกจากโปรแกรมจะให้โหลดมาใช้ฟรีแล้ว ยังไม่มีโฆษณามากวนใจอีกด้วย ( msn ไม่ปลื้มแน่ๆ ) วันนี้ผมก็ของฝาก tip เล็กๆน้อยๆ เดี๋ยววันหลังจะหา tip เด็ดๆมาฝากอีกครับ หากเพื่อนๆ อยากติดตามข่าวสารและบทความจากบล๊อก โปรแกรมเมอร์จำเป็น ก็อย่าลืมสมัครรับข่าวสารในช่องที่ให้กรอกอีเมล์เลยครับ จะได้ไม่พลาดข่าวสารและบทความจากบล๊อกโปรแกรมเมอร์จำเป็นครับ วันนี้ก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

ปล. หลังจากได้ทดลองใช้แล้ว มีอย่างหนึ่งที่อยากจะบอก คือเวลาที่เพื่อนๆสนทนากับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ถ้าอ่านภาษาไทยไม่ออก นันเป็นเพราะว่า เค้าใช้ font ที่ไม่ใช่ภาษาไทย ลองให้เค้าเปลี่ยนดูนะครับ ไม่งั้นเราจะอ่านไม่ออกว่าเค้าพิมพ์อะไรมา

ตัวอย่าง เพื่อนผมเค้าใช้ font-family: Wide Latin ปรากฏว่าผมอ่านแล้ว เป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ พอให้เค้าเปลี่ยนเป็น font-family: Angsana New; ก็กลับมาอ่านได้ตามปกติ

Update: ให้เพื่อนๆ ไปที่เมนู tool –> preference เลือก Conversations แล้วให้ unchecked  ที่ช่อง Show formatting on incoming messages  ครับ เพราะไม่งั้น font มันจะไม่ตรงกันแล้วจะอ่านตัวหนังสือไม่ออก

อ่านเพิ่มเติม...

สร้างเว็บในช่วงข้ามคืนด้วย CMS ( Content Management System)

“CMS” หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อเว็บสำเร็จรูป กำลังถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆอาจจะมาจากมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรูปแบบการบริการข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์มีความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริโภคข่าวสารได้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา มีผู้ใช้งานมากมายต้องการนำเสนอข้อมูลองค์กร/ข้อมูลส่วนตัว ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ทางเลือกทางหนึ่งคือการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่การสร้างเว็บไซต์มิได้ง่ายอย่างที่คิด ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เรียนรู้วิธีในการสร้างเว็บทั้งการเขียนโปรแกรม การอกแบบหน้าตาเว็บเป็นแรมเดือนจึงจะสร้างขึ้นมาได้ ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงมีผู้คิดค้นระบบเว็บสำเร็จรูปหรือ CMS ขึ้นมาเพื่อช่วยลดทอนเวลาในการสร้าง กล่าวคือระบบ CMS จะช่วยให้ท่านสามารถเนรมิตเว็บของท่านภายในช่วงข้ามคืนโดยที่ท่านไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บ บทความตอนนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมจากงานเขียนของผู้เขียนเองและจากเว็บไซต์ CMSThailand.com ซึ่งเป็นเว็บต้นขั้วเว็บแรกๆในไทยที่ให้ข้อมูล ความรู้ด้านนี้ มาให้ท่าผู้อ่านได้อ่านกัน

 

?????? ท่านทราบหรือไม่ว่าเว็บดังๆ ในปัจจุบันอาทิ Hi5.com, Mutiply.com,Kapook.com, Tarad.com, Mrpalm.com, Thaisharp.net, Manager.co.th,Beartai.com, Adslthailand.com, Pocketpcthai.com, Webmaster.or.th ฯลฯ เขาใช้ระบบ CMS ตัวใดทำกัน

 

 

รู้จักระบบ CMS

CMS ย่อมาจาก Content ManagementSystem เป็นระบบที่ใช้บริหารและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากนักก็สามารถสร้างเว็บไซต์ใช้งานได้ หากจะพูดไปแล้วระบบ CMSคล้ายๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั่นเอง ภายในระบบ CMS มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ

ระบบจัดการสมาชิก(Member)
ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Article)
ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) ระบบกระจายข่าว (RSS)
ระบบกระดานข่าว (Forum)
ระบบจัดการแบบสอบถาม (Poll) เป็นต้น
รวมทั้งมีโปรแกรมเสริมความสามารถระบบ (Modules)
และฉากหลังเว็บ (Themes) ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้
มากมายหลายรูปแบบ

แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site

กระแสลือบอกว่านักพัฒนาเว็บจะตกงานส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่านจากบอร์ดหลายๆ เว็บไซต์ที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างการสร้างเว็บไซต์ธรรมดากับการสร้างเว็บไซต์ที่ทำด้วยระบบ CMS บอกว่าหากใช้ระบบซีเอ็มเอสพวกเหล่าบรรดานักพัฒนาเว็บw: (Web Programmer) ก็จะตกงานในที่สุดเพราะทุกอย่างสำเร็จรูปไปทั้งหมด
ในทัศนะผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะเป็นตามแนวคิดนั้นผู้ใช้งานที่เป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ก็สามารถใช้ระบบCMS ในการอิมพลีเมนต์งานต่อยอดจากระบบเดิมได้จะเห็นได้จากเว็บไซต์ใหญ่หลายๆ เว็บไซต์ในปัจจุบันเขาก็ใช้ระบบซีเอ็มเอสกันแต่เป็นระบบซีเอ็มเอสที่ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากระบบเดิม จริงๆ แล้วโปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำการพัฒนาโปรแกรมเสริมความสามารถซีเอ็มเอส(Module) เพื่อจำหน่ายได้เช่นกัน หรือแม้กระทั้งให้นักออกแบบเว็บทำการออกแบบฉากหลัง (Themes)
มาฝากวางขายตามเว็บต่างประเทศที่ทำเทมเพลตเว็บขายซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่วไป อีกทั้งโปรแกรมเมอร์สามารถใช้ระบบซีเอ็มเอสเพื่อเป็นบันได (ทางลัด)ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อนำมาสร้างระบบ CMS ขึ้นใช้งานเองในองค์กรได้เช่นกัน

แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์จะมีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

1. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ Text Editor เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บจะต้องรู้ไวยากรณ์ของภาษาที่จะนำมาพัฒนา ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • ระบบ Windows -> Notepad, Notepad ++,EditPlus, NetObject ScriptBuilder, CuteHTML,HotDog, HomeSite
  • ระบบ Unix, Linux -> Pico, Vi , Emace, ee

2. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเว็บแบบสำเร็จรูป (Web Builder) เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บไม่จำเป็นต้องรู้แท็ก HTMLก็สามารถพัฒนาเว็บเพจ เป็นของตัวเองได้ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • Macromedia Dreamweaver (นิยมมากสุด ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Adobe)
  • Microsoft FrontPage
  • Adobe Golive
  • NetObject Fution
  • Namo Web Editor

3. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ระบบ CMS(Content Management System)ช่วยในการสร้างเว็บ ตัวอย่างระบบ CMS เช่น PHP-Nuke, Mambo, oomla!, Drupal, XOOPS,MODX, Plone, WordPress, Typo3, dotNetNuke,OpenCMS ฯลฯ

 

สามารถนำระบบ CMS ใช้งานด้านใดบ้าง

ระบบ CMS สามารถนำมาสร้างเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย พอสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กร หรือเว็บไซต์ท่า (Corporate websites or portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ (Online commerce)
  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก (Small business websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ชมรม สมาคม หรือองค์กร ไม่แสวงหากำไรอื่นๆ (Non-profit and organizational websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล (Government applications)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ระบบอินทราเน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต (Corporate intranets and extranets)
  • ใช้ทำเว็บไซต์สถาบันการศึกษา (School and church websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บครอบครัว (Personal or family homepages)
  • ใช้ทำเว็บไซต์คอมมูนิตี้ (Community-based portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์นิตยสาร หนังหรือพิมพ์ เพื่อรายงานข่าวสารต่างๆ (Magazines and newspapers)

 

ทำไมต้องใช้ระบบ CMS ?

- ประหยัดงบประมาณองค์กร
- สามารถพัฒนาต่อยอดได้
- สามารถทำงานเป็นทีมได้
- ลดระยะเวลาในการพัฒนา
- ใช้งานง่าย สะดวก + ง่าย + ฟรี = CMS

 

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS สามารถแบ่ง ได้สองประเภทใหญ่ ๆ คือ ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า (Commercial CMS) ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสฟรี (Open Source CMS) ที่พัฒนาตามแนวทางโอเพ่นซ๊อสมีลิขสิทธิ์แบบ GPL(General Public License) ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้ง ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์

ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า
(Commercial CMS Products)
- IBM Enterprise Content Management (ECM)
- Microsoft Office SharePoint
- RedDot
- Tridion
- Huland OnBase
- ReadPlanet
- NineNIC
- ฯลฯ

สามารถดูรายละเอียด CMS ตัวที่ได้รับความนิยมได้ที่เว็บ www.packtpub.com ซึ่งเป็นเว็บที่มีการประกวดระบบ CMS จากค่ายต่างๆ ทั่วโลก Open Source CMS Award

 

จะใช้ระบบ CMS ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องมองที่เป้าหมายหลักก่อนว่าจะใช้ระบบ CMS บริการในลักษณะอินทราเน็ตหรือใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงเลือกภาษาที่ใช้พัฒนาซีเอ็มเอส โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้งาน

 

คำศัพท์ที่เกี่วข้อง

- CMS (Content Management System) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
- LMS (Learning Management System) ระบบจัดการการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- LCMS (Learning Management System) ระบบจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- KMS (Knowledge Management System) ระบบจัดการองค์ความรู้บนเว็บไซต์
- DMS (Document Management System) ระบบจัดการเอกสารผ่านเว็บไซต์
- CMF (Content Management Framework) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบอิสระเพิ่มความสามารถหลายส่วนเข้ามา อาทิ Workflow, Web Services
- ECM (Enterprise Content Management) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ขั้นสูงสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย

 

บทสรุประบบ CMS

ในปัจจุบันระบบ CMS หรือระบบจัดการบริหารเนื้อหาบนเว็บไซต์มีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วย ในการพิจารณาว่าจะเลือกใช้ซีเอ็มตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ
1) ภาษาที่ใช้พัฒนา อาทิ PHP, ASP.NET, JAVA,PERL, PYTHON
2) ฐานข้อมูลที่ใช้ อาทิ MySQL, PostgreSQL,MS Access, MS SQL Sever, Oracle
3) เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการนำระบบไปติดตั้ง อาทิ Windows Server, Linux Server, BSD
Server, Solaris
หลังจากพิจารณาเลือกได้ทั้งสามอย่างแล้วจึงเลือกระบบซีเอ็มเอสไปใช้งาน โดยที่ระบบซีเอ็มเอสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาด้วยภาษาPHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL โปรแกรมจะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ตัวอย่างซีเอ็ม
ที่มีผู้ใช้งานในไทยใช้กันมาก อาทิ เช่น Drupal, Joomla!,Mambo, XOOPS, PHP-Nuke ซึ่งการที่ผู้อ่านจะเลือกใช้ระบบซีเอ็มเอสตัวใดนั้นผู้เขียนแนะนำให้ทดลองติดตั้งใช้งานดูที่เครื่องตนเองก่อน ว่าความสามารถเพียงพอต่อความต้องการของหน่วยงานหรือไม่

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

อ่านเพิ่มเติม...
 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger