ต้องบอกว่างานเข้าจริงๆ เพราะว่าต้องหันมาจับ Python จริงๆซะแล้ว ด้วยสถานการณ์บังคับ หลังจากที่จดๆจ้องๆ กันมานาน เห็นเค้าคุยกันหนักคุยกันหนา ถึงความสามารถของเจ้า Python ไม่ว่าจะเป็น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ใช้ Pyhon เป็นตัวหลักในการค้นหาข้อมูล หรือจะเป็นองค์กร NASA ใช้ในการจัดการ Model,Integration และระบบ Transformation ในงาน CAD/PDM/CAE
โดยเจ้าตัวไพธอนนี้ ถูกนำไปใช้ในงานหลากหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้าน Web และ Internet Development, Database Access, Desktop GUI, Scientific และNumeric computation, Network programming, Game และ 3D Graphics Rendering ยกตัวอย่างมาเพียงแค่นี้ ก็พอที่จะทำให้เราอดใจไว้ไม่ไหวแล้ว ที่จะต้องศึกษาตัวนี้ให้ได้ และประการสำคัญเลย ที่บริษัทใช้ python เป็นภาษาหลักในการทดสอบฮาร์ดดิสค์ไดร์ฟ (ใครจะเข้ามาทำงานที่นี่ รู้แล้วใช่ไหม ต้องเก่งอะไรถึงจะได้งานบริษัทนี้ รู้แล้วใช่ไหม );
เมื่อพูดถึงหนังสือภาษาไทยที่เขียนเรื่องไพธอน ก็เห็นจะมีอยู่เล่มเดียวที่วางขายบนแผงหนังสือ ซึ่งจริงๆผมซื้อหนังสือมาไว้แล้วหล่ะ ชื่อหนังสือ “การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนด้วยตนเอง” ซึ่งมีเนื้อหาย่อๆ ประมาณนี้
“… ภาษาไพธอนเป็นภาษาที่พัฒนาในกลุ่ม Open Source มีข้อเด่น คือ สนับสนุนแนวคิดแบบออปเจกต์โอเรียนเทดและประกอบด้วยมอดูลสำหรับงานด้านต่าง ๆ เช่น Regular Expression, Multi-Threading, Network, XML, การสื่อสารระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านอนุกรมและพอร์ตขนาน อื่น ๆ เว็บไซด์ Google ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาไพธอน, บริษัท ILM (Image Light and Magic) ใช้ภาษาไพธอนสร้างเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับภาพยนตร์แอนนิเมชัน, ระบบปฏิบัติการ Redhat ใช้ภาษาไพธอนเป็นInstaller (ตัวติดตั้งระบบปฏิบัติการ), นาซา (NASA) ใช้ภาษาไพธอนสำหรับโครงการสำรวจอวกาศ, Zope ใช้ไพธอนสร้าง CMS (Content Management System), Bit Torrent เกิดขึ้นจากภาษาไพธอน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเล่มแรกของชาวไทย (ฉบับภาษาไทย) เนื้อหาภายในได้วางรากฐานที่เป็นประโยชน์ซึ่งทำให้เข้าใจองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน ซึ่งอธิบายด้วยภาพประกอบการยกตัวอย่างคำอธิบายมากกว่า 400 ตัวอย่าง …”
หนังสือเล่มนี้ยังดูไม่จบครับ ที่ดูไม่จบก็เพราะมันต้อดูไปด้วย แล้วทำไปด้วย ไม่ค่อยได้จับจริงๆจังๆ ก็เลยดูไม่จบสักที คราวนี้คงได้ดูจนจบแน่ๆครับ นอกจากนี้ยังมีไฟล์ e-book ที่เป็นไฟล์ pdf ที่อีกไฟล์หนึ่งที่น่าสนใจ “ภาษาโปรแกรมมิ่งไพธอน” (คลิกอ่านที่นี่) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร ครับก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งไว้ให้เพื่อนศึกษากันครับ
ยังมีอีกเล่มนึงที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆ ได้อ่านคร่าวๆแล้ว เค้าเขียนอธิบายไม่ยาก ถึงแม้จะเป็น text book ก็ตาม นั่นก็คือ “Beginning Python: From Novice to Professional” ผมชอบเล่มนี้ตรงที่เค้าเขียนด้วยภาษาที่ค่อนข้างทำความเข้าใจได้ไม่ยาก สมกับชื่อแล้วมันเหมาะกับมือใหม่จริงๆ เพื่อนๆน่าจะหามาเก็บไว้นะ พอดีผมเห็นว่า google book เค้าทำ review เล่มนี้เอาไว้พอดี เพื่อนๆสามารถอ่านดูบางบท เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อเล่มนี้ก่อน
เอาเป็นว่าช่วงนี้ ผมคงจะพยายามเขียนเรื่องไพธอนให้มากขึ้น พูดถึงให้บ่อยขึ้น เพื่อที่ตัวเองจะได้สนใจมากขึ้น เพื่อที่จะได้สำเร็จตามที่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2 ความคิดเห็น:
ขอบคุณที่เข้าไปอ่านบทความนะครับ
สวดยอดเลยครับ สั่งซื้อหนังสือเรียบร้อยเลี้ยว ^^
Post a Comment