7.12.12

Getting started Yii Framework เอากับเขาบ้าง

     ช่วงนี้ ศึกษาหลายศาสตร์เหลือเกิน web programming , linux programming , Embedded System ก็เอา ปนเป กันไปหมด ตามประสา คนชอบศึกษา แต่ไม่ได้เอาทำมาหากินเป็นเรื่องเป็นราวเท่าไหร่

     จริงๆ ผมก็เขียน PHP มาหลายปีแหละ ตอนที่เขียนแรกๆ ผมก็ยังวนลูปไม่เป็นเลย จะปริ้นท์ตาราง table ทีหนึ่ง ก็ hard code เลย ทำที่ละ row ที่ละ column ต้องสารภาพ ว่าทำแบบนั้นจริงๆ พอเริ่มเขียนมาเรื่อยๆ ก็ไม่ไหวแหละ ก็ต้องมาวนลูปเอา เพราะความที่มันทำแบบวิธีเก่าๆ ไม่ไหว มาถึงตอนนี้ ผมก็ว่าการเขียนโค๊ดที่ต้องคอย Include เอา Header.php , footer.php , menu.php เข้ามา ผมว่ามันก็น่าเบื่อไม่ใช่น้อย และก็อีกเช่นเคย ความอดทนของผมก็เริ่มหมดไป ในที่สุดต้องหาวิธีที่มันง่ายกว่านี้หน่อย

    ผมเคยพยายามที่จะลองใช้ tool ที่ gen template ให้ แต่ก็ไม่ไหว ไม่ถนัดเอาเสียเลย จนมาเร็วๆ นี้ ได้ยินชื่อของ Framework ตัวหนึ่งที่เค้าว่ากันว่า ช่วยให้งานของเรามีระบบมากขึ้น และสามารถขจัดปัญหาเรื่องการต้องมา maintenance โค๊ดในอนาคตได้ดีเลย เพราะมันเป็นการแยกส่วนของการ coding และการ design ออกจากกัน ซึ่งนั่นแหละเป็นสิ่งที่ผมตามหามานาน (หลังจากที่พยายามทำเองมาหลายครั้ง แต่ก็เละทุกครั้ง T_T )

Yii Framework

    Yii Framework เป็น PHP Framework ตัวหนึ่งในหลายๆ Framework ที่ช่วยให้นักพัฒนาโปรแกรม PHP สามารถทำงานได้อย่างสะดวก ภายใต้รูปแบบการพัฒนาโปรแกรมตามแบบฉบับของ Yii Framework ซึ่งออกแบบให้ Framework ทำงานแบบ MVC โดยแยกส่วนของการออกแบบ Design และ การ Coding ออกจากกัน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ที่มาพัฒนาต่อนั้น ไม่เกิดความสับสนกับสไตล์ของแต่ละคน เพราะว่า ผู้ที่ใช้ Yii Framework จะต้องทำตามรูปแบบ Framework ตัวนี้ วางเอาไว้ ซึ่งทำให้เกิดทิศทางในการพัฒนาระบบใหญ่ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน

Yii Framework MVC model

    Yii Framework เป็น Framework ที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น Framework อันดับหนึ่ง หลายปีซ้อน นั่นแหละทำให้ผม สนใจที่จะศึกษา Framework ตัวนี้ และหาหนทางที่จะนำมันมาใช้กับงานปัจจุบันของผมให้จงได้ เพราะผมทนไม่ได้กับการเขียนโค๊ดแบบเดิมๆ ของผมอีกต่อไปแล้ว :P

Yii Framework Performance

มาเริ่มกันเลยดีกว่า

- ก็เริ่มจากดาวน์โหลดโค๊ด จาก http://www.yiiframework.com/download/ เลือกเวอร์ชั่นที่ stable แล้ว
- แตกไฟล์ออก ใน webroot folder ของเรา (ซึ่งของผมเก็บไว้ที่ C:\AppServ\www ) จะเปลี่ยนชื่อโฟล์เดอร์หรือเปล่า ก็ตามแต่ใจ
- ทดลองเรียก http://localhost/yiiRoot/requirements/ เพื่อเช็คความพร้อมของระบบของเรา ซึ่งน่าจะไม่มี Failed สีแดงเกิดขึ้น
- สร้างเว็บโปรเจคของเราด้วย command line ครับ ผมเรียกคำสั่ง C:\AppServ\www>php yiiRoot\framework\yiic webapp myweb
- ผมได้โปรเจค myweb เก็บไว้ที่ webroot
- ทดสอบเรียกโปรเจคของเรา http://localhost/myweb/

สำเร็จแหละ ต่อไปก็เริ่มลุยกับโปรเจคได้เลย อ่าน manual , tutorial , แล้วก็ศึกษาเรื่อง OOP และ Array ของ PHP ให้ชำชอง

แล้วพบกันใหม่ครับ

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger