25.2.10

Python Classroom Project แอบซุ่มทำอยู่




Python Classroom project     ห่างหายไปนานสำหรับบทความนี้จากบล๊อกโปรแกรมเมอร์(จำเป็น) ไปซะนาน  ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ตอนนี้ไปซุ่มทำโปรเจคใหม่อยู่ ถือเป็นการทดลองไปด้วย อยากลองเปลี่ยนไปเขียน content กับ Google site ดูหน่ะครับ

      ก็เลยตั้งใจว่า เนื้อหาที่เกี่ยวกับทั้งหมด จะยกไปไว้ที่ Python Classroom เพื่อนๆที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับไพธอน ก็ตามไปที่นั่นได้ ในส่วนของ Blog โปรแกรมเมอร์(จำเป็น) ก็ยังจำเป็นอยู่ ยังต้องอัพเดทกันต่อไป ส่วนจะเน้นไปทางแนวไหน ก็ยังบอกไม่ได้เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับความจำเป็นจริงๆ

      ใน Python Classroom ผมได้วางคอนเซ็ปต์ไว้ว่า จะมีเนื้อหาเป็นบทเรียน ยกตัวอย่างโมดูลที่น่าสนใจ แล้วก็จะมีตัวอย่างโค๊ดไพธอนให้เพื่อนๆไปศึกษากัน โดยเนื้อหาทั้งหมดผมก็ค้นคว้ามาจาก text book บ้าง จากเว็บไซต์อื่นๆ บ้าง และก็จากประสบการณ์ในที่ทำงานบ้าง บางครั้งหากเจอมุขเด็ดๆของไพธอนที่เค้าเอามาใช้งานจริง ผมก็จะพยายามนำมาอัพเดทลงใน Python Classroom

      คงต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในตัวภาษาไพธอนมากเท่าไหร่เลย แต่ผมถือคติว่า

“The first step is always the hardest การเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งที่ยากที่สุดก็คือตอนเริ่มต้นทำ”

      เพระฉะนั้น จะเป็นการดีมาก ที่ทำ Python Classroom project นี้ขึ้นมา เพราะนอกจากจะเป็นการบังคับให้เราเอาชนะในการเข้าใจในภาษาไพธอนแล้ว ยังมีโอกาสได้นำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้น้องๆ รุ่นต่อๆมา ให้หันมาศึกษาภาษาไพธอนกันให้มากๆ ขึ้นอีกด้วย และจะได้มีแหล่งความรู้ในการศึกษาไปพร้อมๆกัน

      ผมคิดว่าอนาคตของภาษาไพธอนยังไปอีกได้ไกลแน่ๆ ด้วยความที่มีคนพัฒนาโมดูลต่างๆออกมาให้ใช้กันอย่างมากมาย และความยืดหยุ่นของตัวภาษา จึงทำให้ภาษาไพธอนถูกนำไปใช้ในหลายๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็น นาซ่า หรือแม้แต่ Google ของเรา เพราะฉะนั้น จึงอยากให้เมืองไทยได้มีแหล่งเรียนรู้ภาษาไพธอน เพื่อวันหนึ่งเราอาจจะเห็นคนไทย สร้างสรรค์ผลงานที่เขียนด้วยภาษาไพธอน ออกสู่สายตาชาวโลกสักครั้ง (ไม่รู้ฝันไปหรือเปล่า)

      หลายคงอาจจะรู้สึกว่าทำไมผมจึงเชียร์จังเลยกับตัวภาษาไพธอน ภาษานี้มันทำอะไรได้มั่ง ตอนนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจในตัวภาษาไพอนทั้งหมดหรอกครับ แต่เท่าที่เห็น เจ้าตัวภาษาไพธอนสามารถเขียนให้ติดต่อกับ hardware บางตัวได้ ยันไปจนถึงเขียนเว็บ application ได้ ฉะนั้นจะดีกว่าไหม หากเพื่อนๆ มาเขียนภาษานี้ แล้วสามารถทำงานได้ครอบคลุม ตั้งแต่ hardware ไปจนถึงโปรแกรมมิ่งเน็ตเวิร์ค โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาอื่น เพื่อเชื่อมต่อทั้งหมดเข้าด้วยกัน  งั้นอย่ารอช้าเลย มาศึกษาพร้อมกันเถอะครับ Let’s Go !!!

python hardware network

2 ความคิดเห็น:

Anonymous said...

ขอบคุณค่ะ
ตอนนี้เพิ่งจะศึกษา บล็อกของคุณน่าสนใจ เป็นประโยชน์มาก

ขอแอบนำโปรแกรมฟรีไปใช้บ้างนะคะ

AgelWeCare AgelTh said...

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆมากมายครับ
ขอแอบนำเอาข้อมูลดีๆเหล่านี้ไปใช้ด้วยนะครับ

http://www.agelwecare.com,
http://www.agelth.net

Post a Comment

 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger