สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ข่าวเรื่องไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่2009 ก็ออกข่าวให้เห็นอยู่ทุกวัน ก็เลยทำให้เพื่อนๆหลายคนไม่อยากออกจากบ้าน จริงๆผมก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่ที่เพื่อนจะเอาแต่เก็บตัวอยู่ในบ้าน เพราะนอกจากจะทำให้เราพลาดในหลายๆโอกาสแล้ว ผมยังคิดว่า มันยิ่งทำให้เศรษฐกิจบ้านเราทรุดลงตามไปด้วยนะครับ ยังงัยๆ ก็ช่วยๆกันออกไปจับจ่ายใช้สอยสักหน่อยนะครับ แล้วก็อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆด้วยนะครับ
เพื่อนๆหลายคนที่เคยเขียนโปรแกรมประเภท web programing จำพวกภาษา PHP, Python, Ruby, ASP คงหนีไม่พ้นเลยที่จะต้องรู้จักโปรแกรมประเภทที่ทำ ให้เครื่องเรากลายเป็นเว็บ Web Server เพื่อจำลองการทำงานของโปแกรมเรา เพราะภาษาโปรแกรมที่เราเขียนจะต้องทำงานที่ฝั่ง server ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งรันบนฝั่ง server เพื่อดูผลการทำงาน แล้วถ้าเราต้องการจะลองทำงานกับ server จริงๆหล่ะ เพื่อนๆจะทำยังงัย วันนี้ผมอยากจะพาเพื่อนๆมาแนะนำให้รู้จักกับความหมายของเว็บโฮสติ้ง เพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อนๆที่สนใจจะเป็นเว็บมาสเตอร์จริงๆ สามารถเลือกเว็บโฮสติ้งได้ถูกตามความต้องการ หลังจากเพื่อนๆได้อ่านบทความที่ผมนำมาเสนอแล้ว เพื่อนๆก็ลองเข้าไปดูเงื่อนไขที่แต่ละเว็บโฮสติ้งโฆษณากันดูนะครับ ว่าแต่ละเจ้ามีเงื่อนไขอะไรดีๆมานำเสนอบ้าง ลองเข้าไปทดสอบดูครับว่าผู้ให้บริการเว็บโอสติ้งเจ้าไหน เร็วบ้าง ก็โดยการลองเข้าไปดูตามลิ้งค์ที่ปรากกฏอยู่ ถ้าอันไหนแสดงผลได้เร็ว เราก็พอจะประมาณได้ว่า server ที่ให้บริการนั้น ค่อนข้างที่จะใหม่และมีการวางระบบที่ค่อนข้างทำงานได้เร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้เพื่อนๆสามารถตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง เรามาเริ่มกันเลยครับ
เว็บโฮสติ้งคือ
เว็บโฮสติ้ง คือ การเช่าพื้นที่โฮสติ้ง เพื่อเก็บข้อมูลและเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ เหมือนกับเราเช่าพื้นที่เพื่อฝากข้อมูล เนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรากับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่โฮสติ้งนั่นเอง ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะเหมือนกับการที่เราเช่าโกดังเพื่อเก็บสินค้าของเรานั่นเอง
เมื่อเรารู้จักกับเว็บโฮสติ้งกันแล้วว่าคืออะไร แล้วเพื่อนๆ เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าแล้วโฮสติ้งที่เราเข้าใจและใช้งานกันอยู่ทุกวันเนี่ย มีความเป็นมาอย่างไร แล้วเริ่มต้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ที่คิดค้นหรือค้นพบกันนะ วันนี้เพื่อนๆ จะหายข้องใจแล้วค่ะ เพราะวันนี้เราจะนำเรื่องราวของที่มาที่ไปของเว็บโฮสติ้งมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันค่ะ
สำหรับความเป็นมาของเว็บโฮสติ้งนั้นถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับการใช้งานอินเทอร์เน็ท ส่วนในประเทศไทยกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆ นั้นจะอยู่ในกลุ่มของมหาวิทยาลัย และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงหน่วยงานราชการเป็นส่วนใหญ่ โดยเชื่อมต่อผ่านทางการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ (CAT) ต่อมาเมื่อความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตมีเพิ่มมากขึ้น การให้บริการเว็บโฮสติ้งในรูปแบบเชิงพาณิชย์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยมีผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง ISP ที่กระจายการให้บริการไปยังกลุ่มภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก
และในปัจจุบันด้วยความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนของหนึ่งของชีวิตประจำวันกันไปแล้ว ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทนั่นก็คือ
1. โฮสติ้งแบบให้บริการฟรี
สำหรับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งฟรีนั้น เราสามารถค้นหารายชื่อผู้ให้บริการได้ตามเสิร์ชเอนจิ้นทั่วไปได้ค่ะ ซึ่งก็มีผู้ให้บริการอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าผู้ให้บริการแต่ละเจ้านั้นจะให้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนเท่าไหร่ มากหรือน้อย ส่วนวิธีการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้น คุณสามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ “มือใหม่หัดเลือกโฮสติ้ง”
2. โฮสติ้งแบบเสียค่าบริการ
ในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายหลายเจ้า ให้เลือกได้ตามความต้องการ ความเหมาะสมของผู้ใช้งาน นอกจากจะมีผู้ให้บริการมากมายหลายเจ้าให้เราเลือกใช้บริการแล้ว รูปแบบของใช้บริการเว็บโฮสติ้งก็ยังสามารถแยกออกมาได้ดังนี้อีกด้วยค่ะ
2.1 Dedicated Server การเช่าแบบนี้เป็นการเช่าแบบเหมาทั้งตัวเครื่อง เช่นหากเปรียบเทียบให้เซอร์ฟเวอร์เป็นเครื่องหนึ่งเครื่องก็เท่ากับเราเช่าหมด ยกทั้งเครื่องนั่นเอง สำหรับการเช่าในรูปแบบนี้จะเหมาะกับเว็บไซต์ขององค์กรที่มีขนาดใหญ่
2.2 Colocation เป็นการเช่าแบบพื้นที่ โดยการนำตัวเครื่องเซอร์ฟเวอร์ของเราทั้งเครื่องไปเช่าพื้นที่ในการติดตั้งอีกทีนึง หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายกับการที่เราเช่าผืนที่ดินแล้วไปปลูกบนที่ดินที่เราเช่านั่นเอง สำหรับการเช่าในรูปแบบนี้จะเหมาะกับเว็บไซต์ขององค์การที่มีขนาดใหญ่มากๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว
2.3 Shared Hosting เป็นการเช่าในลักษณะที่เรียกว่าเช่าพื้นที่เพียงบางส่วน คล้ายๆ กับการที่เราเช่าห้องพักในคอนโดหรือหอพักนั่นเองค่ะ ซึ่งการเช่าโฮสติ้งในแบบนี้จะเหมาะกับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าทั้ง 2 รูปแบบข้างบน นอกจากนี้การเช่าในลักษณะนี้ยังมีให้เลือกอีกถึง 3 ชนิด ทังนี้ทางทีมงานได้ทำการอธิบายและเปรียบเทียบการทำงานของทั้ง 3 ชนิดขึ้นมาเพื่อเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นนะคะ
รูปแบบของโฮสติ้งความหมายของแต่ละลักษณะการใช้งาน
Windowsเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุดเนื่องจาก ใช้คำสั่งแบบตัวอักษร เหมาะกับการใช้ใช้งานง่าย เป็นการพัฒนาต่อจาก DOS งานร่วมกับ Software ที่พัฒนาด้วย .asp, .net หากคุณเลือกแบบ Windows จะมีข้อเสียตรงที่การกำหนดสิทธิ์ค่อนข้างมีความยุ่งยาก
Unix, Linuxถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับงานวิจัย สำหรับการใช้งานจะเหมาะกับ Software และภาคธุรกิจ เนื่องจากการมีความที่พัฒนาด้วย .php ค่าใช้จ่ายในการใช้งานสะดวกในการใช้งานมากกว่า จะมีราคาถูกกว่า Windows ราคาถูกกว่า Windows และสามารถทำงานได้หลายงานในเวลาพร้อมๆ กัน
ดังนั้นคุณผู้อ่านท่านใดที่สร้างเว็บไซต์ด้วย CMS ไม่ว่าจะเป็น Joomla, WordPress ก็ควรเลือกโฮสติ้งแบบ Unix, Linux จะดีที่สุดค่ะ ทั้งนี้ก็เนื่องจาก Joomla, WordPress นั้นใช้ภาษา .php นั่นเองค่ะ และสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึงที่เราควรพิจารณานั่นก็คือ การวิเคราะห์ว่าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เราส่วนใหญ่นั้นมาจากในประเทศหรือต่างประเทศด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อความรวดเร็วในการเข้าเว็บไซต์นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าสำหรับมือใหม่ๆ เวลาจะเข้าไปใช้บริการเว็บโฮสติ้งจากที่ไหนสักแห่งอาจจะเกิดอาการงงกับคำศัพท์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับโฮสติ้ง ไม่ว่าจะเป็น DNS, Banwidth etc. ว่าคืออะไร แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ ทางทีมงานได้อธิบายคำศัพท์ไว้ให้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าแต่ละคำศัพท์นั้นมีหมายถึงอะไร เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น
มาเริ่มกันที่คำศัพท์ตัวแรกเลยนะคะ
- DNS คือ Domain name system ระบบที่ใช้เก็บช้อมูลของชื่อโดเมน ระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน แปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขประจำเครื่องที่จดจำยากให้เหลือเพียงแค่ชื่อเว็บไซต์ที่จำง่ายนั่นเอง
- Bandwidth คือ พื้นที่ในการส่งข้อมูล ถ้าหากมีพื้นที่ที่กว้าง ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนกับถนน หากถนนมีความกว้างหรือมีเลนให้รถวิ่งมาก ก็จะเดินทางได้สะดวก และสะดวกมากขึ้นนั่นเอง
- Storage คือ การจัดเก็บข้อมูล การนำข้อมูลที่ผ่านกระบวนการการทำงานทั้งการนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาทำการบันทึกลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล Storage Device เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้เมื่อต้องการค่ะ
- OS คือ operating system ซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป / ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
- ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต ย่อมาจาก Interner Service Provide เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อาทิ KSC, TRUE, TOT เป็นต้น
- DOS คือ Disk Operation System เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง PC โปรแกรม DOS จะถูกโหลดหรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะไปทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานต่างๆ โดยอัตโนมัติ การทำงานเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคำสั่ง
- CMS คือ Content Management System ระบบจัดการเนื้อหา หรือ เว็บสำเร็จรูปนั่นเองค่ะ เช่น Worpresss Joomla Drupal mambo เป็นต้น
- PHP คือ personal home page ภาษาที่นำไปพัฒนาเว็บไซต์ สามารถทำงานร่วมกับภาษา HTML ได้
- Asp คือ Active server page เทคโนโลยีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเว็บเพจ พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ มีจุดเด่นในการพัฒนาและจัดการแอพพลิเคชั่นบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยจะทำงานในลักษณะของโปรแกรมภาษา Interpreter ที่ใช้ในการตีความเว็บเพจที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษา VBScript, JSCript เป็นต้น
- .net คือ โดเมนเนมสากลที่ทุกประเทศสามารถจดได้ แต่จะต้องสำหรับเว็บไซต์ทางด้านเน็ตเวิร์ก หรือ กลุ่มบริหารเครือข่าย (Network Services) เท่านั้น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับความหมายและที่มาที่ไป รวมถึงรูปแบบของเว็บโฮสติ้ง ว่าทั้งหมดมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีการทำงาน และแตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง นี่ก็เป็นเพียงความรู้และข้อมูลคร่าวๆ เท่านั้นนะคะ หากคุณผู้อ่านที่ต้องการจะเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ “มือใหม่หัดเลือกโฮสติ้ง” ได้นะคะ และสำหรับฉบับหน้านั้นทางทีมงานจะนำเรื่องอะไรมานำเสนอให้ได้อ่านกันคงต้องติดตามกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ ^ ^
ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com
เป็นงัยมั่งครับ บทความที่ผมนำมาเสนอ หลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านกันแล้ว ถ้าเพื่อนๆสนใจอยากจะทดสอบความเร็วของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ก็อย่างที่ผมแนะนำไปแหละครับ ลองเข้าไปทดสอบกันดูครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ ต้องไปอ่านหนังสือเตรียมสอบ Math Applied ก่อนครับ สวัสดีครับ
5 ความคิดเห็น:
บทความอ่านง่ายดีครับละเอียดดี ขอบคุณครับ
hosting,hosting reseller,hosting ราคาถูก
by free play game
อ่านเข้าใจง่ายดีจังค่ะ
มีความเข้าใจ hosting มาขึ้นมากเลย
มีความเข้าใจ hosting มาขึ้นมากเลย
Post a Comment