9.9.09

สร้างเว็บในช่วงข้ามคืนด้วย CMS ( Content Management System)

“CMS” หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อเว็บสำเร็จรูป กำลังถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆอาจจะมาจากมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรูปแบบการบริการข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์มีความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริโภคข่าวสารได้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา มีผู้ใช้งานมากมายต้องการนำเสนอข้อมูลองค์กร/ข้อมูลส่วนตัว ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ทางเลือกทางหนึ่งคือการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่การสร้างเว็บไซต์มิได้ง่ายอย่างที่คิด ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เรียนรู้วิธีในการสร้างเว็บทั้งการเขียนโปรแกรม การอกแบบหน้าตาเว็บเป็นแรมเดือนจึงจะสร้างขึ้นมาได้ ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงมีผู้คิดค้นระบบเว็บสำเร็จรูปหรือ CMS ขึ้นมาเพื่อช่วยลดทอนเวลาในการสร้าง กล่าวคือระบบ CMS จะช่วยให้ท่านสามารถเนรมิตเว็บของท่านภายในช่วงข้ามคืนโดยที่ท่านไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บ บทความตอนนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมจากงานเขียนของผู้เขียนเองและจากเว็บไซต์ CMSThailand.com ซึ่งเป็นเว็บต้นขั้วเว็บแรกๆในไทยที่ให้ข้อมูล ความรู้ด้านนี้ มาให้ท่าผู้อ่านได้อ่านกัน

 

?????? ท่านทราบหรือไม่ว่าเว็บดังๆ ในปัจจุบันอาทิ Hi5.com, Mutiply.com,Kapook.com, Tarad.com, Mrpalm.com, Thaisharp.net, Manager.co.th,Beartai.com, Adslthailand.com, Pocketpcthai.com, Webmaster.or.th ฯลฯ เขาใช้ระบบ CMS ตัวใดทำกัน

 

 

รู้จักระบบ CMS

CMS ย่อมาจาก Content ManagementSystem เป็นระบบที่ใช้บริหารและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากนักก็สามารถสร้างเว็บไซต์ใช้งานได้ หากจะพูดไปแล้วระบบ CMSคล้ายๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั่นเอง ภายในระบบ CMS มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ

ระบบจัดการสมาชิก(Member)
ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Article)
ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) ระบบกระจายข่าว (RSS)
ระบบกระดานข่าว (Forum)
ระบบจัดการแบบสอบถาม (Poll) เป็นต้น
รวมทั้งมีโปรแกรมเสริมความสามารถระบบ (Modules)
และฉากหลังเว็บ (Themes) ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้
มากมายหลายรูปแบบ

แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site

กระแสลือบอกว่านักพัฒนาเว็บจะตกงานส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่านจากบอร์ดหลายๆ เว็บไซต์ที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างการสร้างเว็บไซต์ธรรมดากับการสร้างเว็บไซต์ที่ทำด้วยระบบ CMS บอกว่าหากใช้ระบบซีเอ็มเอสพวกเหล่าบรรดานักพัฒนาเว็บw: (Web Programmer) ก็จะตกงานในที่สุดเพราะทุกอย่างสำเร็จรูปไปทั้งหมด
ในทัศนะผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะเป็นตามแนวคิดนั้นผู้ใช้งานที่เป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ก็สามารถใช้ระบบCMS ในการอิมพลีเมนต์งานต่อยอดจากระบบเดิมได้จะเห็นได้จากเว็บไซต์ใหญ่หลายๆ เว็บไซต์ในปัจจุบันเขาก็ใช้ระบบซีเอ็มเอสกันแต่เป็นระบบซีเอ็มเอสที่ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากระบบเดิม จริงๆ แล้วโปรแกรมเมอร์ก็สามารถทำการพัฒนาโปรแกรมเสริมความสามารถซีเอ็มเอส(Module) เพื่อจำหน่ายได้เช่นกัน หรือแม้กระทั้งให้นักออกแบบเว็บทำการออกแบบฉากหลัง (Themes)
มาฝากวางขายตามเว็บต่างประเทศที่ทำเทมเพลตเว็บขายซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่วไป อีกทั้งโปรแกรมเมอร์สามารถใช้ระบบซีเอ็มเอสเพื่อเป็นบันได (ทางลัด)ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อนำมาสร้างระบบ CMS ขึ้นใช้งานเองในองค์กรได้เช่นกัน

แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์จะมีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

1. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ Text Editor เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บจะต้องรู้ไวยากรณ์ของภาษาที่จะนำมาพัฒนา ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • ระบบ Windows -> Notepad, Notepad ++,EditPlus, NetObject ScriptBuilder, CuteHTML,HotDog, HomeSite
  • ระบบ Unix, Linux -> Pico, Vi , Emace, ee

2. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเว็บแบบสำเร็จรูป (Web Builder) เครื่องมือประเภทนี้ผู้สร้างเว็บไม่จำเป็นต้องรู้แท็ก HTMLก็สามารถพัฒนาเว็บเพจ เป็นของตัวเองได้ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น

  • Macromedia Dreamweaver (นิยมมากสุด ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Adobe)
  • Microsoft FrontPage
  • Adobe Golive
  • NetObject Fution
  • Namo Web Editor

3. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ระบบ CMS(Content Management System)ช่วยในการสร้างเว็บ ตัวอย่างระบบ CMS เช่น PHP-Nuke, Mambo, oomla!, Drupal, XOOPS,MODX, Plone, WordPress, Typo3, dotNetNuke,OpenCMS ฯลฯ

 

สามารถนำระบบ CMS ใช้งานด้านใดบ้าง

ระบบ CMS สามารถนำมาสร้างเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย พอสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กร หรือเว็บไซต์ท่า (Corporate websites or portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ (Online commerce)
  • ใช้ทำเว็บไซต์องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก (Small business websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ชมรม สมาคม หรือองค์กร ไม่แสวงหากำไรอื่นๆ (Non-profit and organizational websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล (Government applications)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ระบบอินทราเน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต (Corporate intranets and extranets)
  • ใช้ทำเว็บไซต์สถาบันการศึกษา (School and church websites)
  • ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บครอบครัว (Personal or family homepages)
  • ใช้ทำเว็บไซต์คอมมูนิตี้ (Community-based portals)
  • ใช้ทำเว็บไซต์นิตยสาร หนังหรือพิมพ์ เพื่อรายงานข่าวสารต่างๆ (Magazines and newspapers)

 

ทำไมต้องใช้ระบบ CMS ?

- ประหยัดงบประมาณองค์กร
- สามารถพัฒนาต่อยอดได้
- สามารถทำงานเป็นทีมได้
- ลดระยะเวลาในการพัฒนา
- ใช้งานง่าย สะดวก + ง่าย + ฟรี = CMS

 

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS

ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS สามารถแบ่ง ได้สองประเภทใหญ่ ๆ คือ ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า (Commercial CMS) ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสฟรี (Open Source CMS) ที่พัฒนาตามแนวทางโอเพ่นซ๊อสมีลิขสิทธิ์แบบ GPL(General Public License) ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้ง ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์

ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า
(Commercial CMS Products)
- IBM Enterprise Content Management (ECM)
- Microsoft Office SharePoint
- RedDot
- Tridion
- Huland OnBase
- ReadPlanet
- NineNIC
- ฯลฯ

สามารถดูรายละเอียด CMS ตัวที่ได้รับความนิยมได้ที่เว็บ www.packtpub.com ซึ่งเป็นเว็บที่มีการประกวดระบบ CMS จากค่ายต่างๆ ทั่วโลก Open Source CMS Award

 

จะใช้ระบบ CMS ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องมองที่เป้าหมายหลักก่อนว่าจะใช้ระบบ CMS บริการในลักษณะอินทราเน็ตหรือใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงเลือกภาษาที่ใช้พัฒนาซีเอ็มเอส โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้งาน

 

คำศัพท์ที่เกี่วข้อง

- CMS (Content Management System) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
- LMS (Learning Management System) ระบบจัดการการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- LCMS (Learning Management System) ระบบจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- KMS (Knowledge Management System) ระบบจัดการองค์ความรู้บนเว็บไซต์
- DMS (Document Management System) ระบบจัดการเอกสารผ่านเว็บไซต์
- CMF (Content Management Framework) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบอิสระเพิ่มความสามารถหลายส่วนเข้ามา อาทิ Workflow, Web Services
- ECM (Enterprise Content Management) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ขั้นสูงสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย

 

บทสรุประบบ CMS

ในปัจจุบันระบบ CMS หรือระบบจัดการบริหารเนื้อหาบนเว็บไซต์มีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วย ในการพิจารณาว่าจะเลือกใช้ซีเอ็มตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ
1) ภาษาที่ใช้พัฒนา อาทิ PHP, ASP.NET, JAVA,PERL, PYTHON
2) ฐานข้อมูลที่ใช้ อาทิ MySQL, PostgreSQL,MS Access, MS SQL Sever, Oracle
3) เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการนำระบบไปติดตั้ง อาทิ Windows Server, Linux Server, BSD
Server, Solaris
หลังจากพิจารณาเลือกได้ทั้งสามอย่างแล้วจึงเลือกระบบซีเอ็มเอสไปใช้งาน โดยที่ระบบซีเอ็มเอสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาด้วยภาษาPHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL โปรแกรมจะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ตัวอย่างซีเอ็ม
ที่มีผู้ใช้งานในไทยใช้กันมาก อาทิ เช่น Drupal, Joomla!,Mambo, XOOPS, PHP-Nuke ซึ่งการที่ผู้อ่านจะเลือกใช้ระบบซีเอ็มเอสตัวใดนั้นผู้เขียนแนะนำให้ทดลองติดตั้งใช้งานดูที่เครื่องตนเองก่อน ว่าความสามารถเพียงพอต่อความต้องการของหน่วยงานหรือไม่

ที่มา iBusiness Magazine http://www.trawutspace.com

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

เกี่ยวกับฉัน(ไหมเนี้ย)

รายการบล๊อกอื่นๆ

  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Blog อื่นๆ ที่น่าติดตาม

เหล่าบรรดา Blogger